fbpx

นั่งรถไฟนำเที่ยวไปหลงกาญจน์ที่กาญจนบุรี กิน ฟิน เล่นน้ำตก ดูประวัติศาสตร์แบบครบๆ

ไปนั่งรถไฟนำเที่ยวกันไหม?

รถไฟนำเที่ยว เป็นรถไฟขบวนพิเศษที่นอกเหนือจากการวิ่งประจำวันตามปกติ มันจะเดินทางพาคนจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดใกล้เคียงที่มีที่ท่องเที่ยวและสามารถไปกลับในวันเดียวกันได้ ซึ่งจะออกเช้า ถึงสาย บ่ายกลับ ค่ำถึง ซึ่งการรถไฟฯ ในฐานะ Operator รถไฟระหว่างเมืองเจ้าเดียวของประเทศ ก็มีรถไฟนำเที่ยวให้บริการหลักๆ อยู่ 2 แบบ คือ รถไฟนำเที่ยวประจำสัปดาห์ วิ่งทุกวีค มี 2 เส้นทางคือ กรุงเทพ – สวนสนประดิพัทธ์ (หัวหิน) และ กรุงเทพ – น้ำตกไทรโยคน้อย (กาญจนบุรี) ส่วนที่เหลือจะเป็นขบวนตามฤดูกาล เช่น รถจักรไอน้ำ รถไฟลอยน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แบบนี้เป็นต้น

วันนี้เราพาทุกคนมานั่งรถไฟนำเที่ยวสายน้ำตกไทรโยคน้อยเพื่อเป็นการอุ่นเครื่องกันก่อน ทำไมถึงเลือกมา? เพราะเส้นนี้เป็นรวมมิตรรักแฟนเพลงของสายเที่ยวมากที่สุด ทั้งสายธรรมชาติ สายประวัติศาสตร์ สายกิน แล้วอีกอย่างนึงคือกาญจนบุรีก็เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่สร้างความหลงใหลให้คนที่มาเยือนไม่น้อยเลย 

พร้อมจะตีตั๋วรถไฟไปหลงกาญจน์กันรึยัง

A picture containing outdoor, door, subway

Description automatically generated

ก่อนจองตั๋ว

รถไฟนำเที่ยวน้ำตกไทรโยคน้อย เป็นรถไฟประเภท Reserved Seat คือต้องจองตั๋วก่อน ไม่จองแล้วโอกาสปิ๋วสูงมาก ถามว่ามาซื้อวันเดินทางได้ไหม ก็ได้แหละแต่ต้องมีโชคประมาณนึงนะเพราะส่วนใหญ่แล้วมักจะเต็มก่อนวันเดินทางเสมอ ด้วยคนที่ไปทริปนี้ส่วนใหญ่จะมากันเป็นกลุ่มมากกว่ามาแค่คนสองคน

การจองตั๋วก็ง่ายๆ จองได้ 4 วิธี จะจองผ่านสถานีรถไฟทั่วประเทศด้วยวิธีคลาสสิกดั้งเดิม จองผ่านโทรศัพท์ที่หมายเลข 1690 หรือจะจองผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ www.railway.co.th หรือ Application D-Ticket ก็ย่อมได้ โดยทุกช่องทางสามารถจองล่วงหน้าได้ 30 วัน (ปกติ 90 วัน แต่ว่าช่วงที่มีโควิดระบาดการจองตั๋วล่วงหน้าถูกปรับลดลงเหลือ 30 วัน)

ส่วนของที่นั่งนั้นมีด้วยกัน 2 แบบ คือ รถพัดลม เป็นแบบนั่งหันหน้าชนกันที่เราคุ้นเคย หลังตรงฝึกมารยาทกันไปตลอดทาง ด้วยราคาสุดประหยัด 120 บาทต่อคน และเป็นราคาไปกลับซะด้วย ส่วนถ้าใครไม่อยากนั่งรับลมก็เลือกจองเป็นนั่งปรับอากาศได้ เป็นชั้น 2 แอร์เบาะปรับเอนได้ในราคา 240 บาทต่อคน และเป็นราคาไปกลับเหมือนเดิม

A picture containing indoor

Description automatically generated
รถนั่งชั้น 3
A picture containing chair

Description automatically generated
รถนั่งชั้น 2 ปรับอากาศ

รถไฟขบวนนี้ออกจากสถานีกรุงเทพ (หรือที่พวกเธอรู้จักกันในนามหัวลำโพงนั่นแหละ) ในเวลา 6:30 น. และจอดระหว่างทางที่สถานีสามเสน บางซื่อ (ที่ไม่ใช่สถานีกลาง) บางซ่อน บางบำหรุ ศาลายา ใครอยู่ใกล้ที่ไหนก็ไปขึ้นสถานีที่รถจอดได้เลย 

ออกเดินทาง

รถไฟขบวน 909 ปลายทางน้ำตกไทรโยคน้อยจอดอยู่ที่ชานชาลาที่ 11 มันเป็นรถไฟ 2 ขบวนวิ่งไปด้วยกัน มีทั้งขบวนของทริปน้ำตกไทรโยคน้อยและสวนสนประดิพัทธ์ ซึ่งทั้งสองขบวนจูงมือกันไปแบบนี้จนถึงสถานีหนองปลาดุกแล้วจึงแยกออกจากกัน 

หกโมงครึ่งเป็นเวลาล้อหมุน สิ้นเสียงระฆังก็ออกเดินทางกันเลย ช่วงเช้าจากสถานีกรุงเทพคนยังไม่มากเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะขึ้นกันระหว่างทางทั้งสามเสน บางซื่อ และบางบำหรุ ช่วงเช้าๆ อากาศค่อนข้างดี สิ่งนึงที่น่าจะเป็นการกระตุ้นความสดชื่นในการเดินทางมากที่สุดคงไม่พ้นถนนเลียบทางรถไฟตั้งแต่ยมราชจนถึงสามเสนที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ริมทางหนาครึ้ม (จนรู้สึกสงสัยว่ามันน่าจะเป็นกลุ่มต้นไม้ใหญ่ริมทางที่เหลือที่สุดท้ายในกรุงเทพหรือเปล่า) 

A train on the railway tracks

Description automatically generated with medium confidence

แว้บเดียวก็มาถึงสถานีสามเสน และสถานีชุมทางบางซื่อ ที่ตัวอาคารสถานีกลางบางซื่อตั้งเด่นหราอยู่ด้านขวาของขบวนรถไฟพร้อมกับแสงแดดยามเช้าและวิตามินดีที่โบกมือทักทาย ที่นี่จะมีคนขึ้นค่อนข้างเยอะเพราะรถไฟนำเที่ยวนั้นไม่ได้วิ่งผ่านโซนบางเขน หลักสี่ ดอนเมือง รังสิต คนที่พักอาศัยทางทิศเหนือของกรุงเทพฯ มาขึ้นที่สถานีบางซื่อจะใกล้ที่สุด และเมื่อรถเคลื่อนออกจากบางซื่อแล้วก็จะเลี้ยวซ้ายไปทางแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อมุ่งหน้าลงใต้เพื่อพร้อมที่จะไปถึงจุดแวะแรกนั่นคือ “นครปฐม”

นครปฐม เป็นเมืองที่อยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพฯ เท่าไหร่ ถ้าพูดถึงนครปฐมเราก็จะต้องนึกถึงพระปฐมเจดีย์ และแน่นอนว่าองค์พระปฐมเจดีย์ที่สูงใหญ่เท่านกเขาเหินสีเหลืองอร่ามนั้นก็ต้องรับเราตั้งแต่ยังไม่เข้าสถานี ด้วยความใหญ่โตขององค์พระจึงโดดเด่นมาก ชนิดที่ว่าหากวันไหนฟ้าเปิดจัดๆ และเราอยู่บนตึกสูงในกรุงเทพฯ และส่องกล้องทางไกลไปทางทิศตะวันตกจะเห็นองค์พระปฐมเจดีย์อยู่ในสายตาได้ไม่ยากเลย

A picture containing building, outdoor, bastion

Description automatically generated

รถไฟนำเที่ยวหยุดที่สถานีนครปฐมประมาณ 40 นาที จุดประสงค์หลักของรถไฟนำเที่ยวคือการให้นักท่องเที่ยวได้ลงไปนมัสการพระปฐมเจดีย์คู่บ้านคู่เมือง ถนนด้านหลังสถานีตัดตรงไปถึงองค์พระด้านทิศเหนือ แต่ถ้าเราไม่อยากจะเดินไปถึงที่นั่นก็ยืนไหว้แห้งหลังสถานีก็ไม่เสียหายอะไร แล้วเริ่มปฏิบัติการที่สำคัญนั่นคือการหาของกินอร่อยๆ ที่ตลาดเช้าองค์พระและด้านหลังสถานีรถไฟ

ร้านอาหารแบบรถเข็นตั้งอยู่สองข้างถนนจากสถานีไปจนถึงคูเมือง มีอาหารมากมายให้เราเลือกสรรได้ตามความสามารถในการจับจ่ายและความสามารถในการเอาทุกสิ่งเข้าปากสู่กระเพาะเพื่อสร้างพลังงานในการท่องเที่ยว ข้าวเหนียวหมู ข้าวเหนียวเนื้อ ข้าวหลามบ๊ะจ่าง ผลไม้ตามฤดูกาลเย็นฉ่ำ กาแฟเย็น นมเย็น ชาเย็น ข้าวต้มปลากะพง โจ๊กหมูใส่ไข่…

หยุด!!! เธอจะกินทั้งหมดไม่ได้!!!! 

40 นาทีผ่านไป หมดเวลาของนครปฐม บรรดานักท่องเที่ยวต้องกลับขึ้นรถไฟเพื่อเดินทางต่อ ช่วงเวลาจากนครปฐมไปสะพานข้ามแม่น้ำแควจุดถัดไปนั้นใช้เวลาประมาณชั่วโมงเศษๆ นานพอที่เราจะกินทุกอย่างที่ซื้อมาเมื่อกี้ และนอนหลับพักผ่อนเพื่อย่อยอาหารก่อนที่จะไปดูสถานที่ท่องเที่ยวถัดไป

A person cooking food on a grill

Description automatically generated with low confidence
A picture containing indoor, dish, food, fresh

Description automatically generated

ทางรถไฟสายมรณะ

ถึงสถานีชุมทางหนองปลาดุก สถานีที่ไม่มีปลาดุกขาย

สถานีแห่งนี้คือจุดแยกระหว่างทางรถไฟสายใต้ กับทางรถไฟสายกาญจนบุรีหรือที่เรารู้จักกันว่าทางรถไฟสายมรณะ

ทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นเพื่อการสงครามโดยเฉพาะ มันเริ่มต้นสร้างขึ้นโดยแรงงานไทย แรงงานเชลย ควบคุมการก่อสร้างโดยฝ่ายญี่ปุ่นเพื่อกรีฑาทัพพร้อมขนส่งอาวุธพร้อมเสบียงผ่านไทย เข้าพม่า ไปอินเดีย โดยเส้นทางรถไฟนั้นเริ่มต้นจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก ไปทางทิศตะวันตกผ่านตัวเมืองกาญจนบุรี ข้ามแม่น้ำแควใหญ่ เลาะไปตามแม่น้ำแควน้อย เมื่อถึงตำบลท่าเสาทางรถไฟก็เริ่มขึ้นเขาไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ จนถึงชายแดนไทย-พม่า และเข้าสู่ทางรถไฟของพม่าที่สถานีตันบูซายัต

เอาจริงๆ ทางรถไฟสายนี้มันไม่ได้ถูกสร้างกันอย่างแน่นหนามั่นคง การสร้างโดยเร่งรีบนั้นส่งผลให้คุณภาพของทางรถไฟรวมถึงสะพานต่ำกว่าที่ควรจะเป็น มีรถไฟตกรางระหว่างการขนส่งบ่อยครั้งตั้งแต่ตกรางเล็กน้อยจนไปถึงกลิ้งหลุนๆ ลงไปอยู่ตีนเขา ภารกิจของมันจึงไม่ได้ต่างอะไรกับทางรถไฟชั่วคราวในการเคลื่อนย้ายกำลังพลเท่านั้น

Train tracks in a field

Description automatically generated with low confidence

เส้นทางรถไฟสายนี้ถูกเรียกว่า “ทางรถไฟสายไทย-พม่า” แต่ที่เรียกว่าทางรถไฟสายมรณะนั้นเกิดขึ้นหลังช่วงสิ้นสุดสงคราม ที่มีคนกล่าวไว้ว่าผู้เสียชีวิตจากการสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้นั้นมีหลายชีวิตมากทั้งแรงงานทั่วไปและแรงงานเชลยศึก อัตราการเสียชีวิตนั้นมากจนสามารถเปรียบได้ว่า 1 ไม้หมอน มีค่าเท่ากับ 1 ชีวิต (แม้ในความเป็นจริงมันคือบุคลาทิษฐานก็ตาม) ตามข้อมูลกล่าวไว้ว่าแรงงานที่มีมากที่สุดคือชาวเอเชียซึ่งเสียชีวิตไปมากกว่า 60,000 คน รองลงมาคือชาวอังกฤษ ตัวเลขนับได้ 6,540 คน ตามมาด้วยชาวฮอลันดา ออสเตรเลีย อเมริกัน และมีชาวญี่ปุ่นกับเกาหลีอีกนิดหน่อย ซึ่งจุดที่สูญเสียแรงงานมากที่สุดคือบริเวณช่องไฟนรก (Hell fire pass) ซึ่งเส้นทางสายนี้ใช้เวลาสร้างเพียง 17 เดือน และรวมเวลาใช้งานเพียง 21 เดือน 

A small building next to a train track with trees and mountains in the background

Description automatically generated with low confidence

สะพานข้ามแม่น้ำแคว

เมื่อเข้ามาถึงตัวเมืองกาญจนบุรี สิ่งที่ไม่แวะไม่ได้คงไม่พ้นสะพานข้ามแม่น้ำแคว หนึ่งในสะพานรถไฟที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศ ไม่สิต้องบอกว่ามีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในโลก สะพานเหล็กสีดำสนิทที่ประกอบร่างขึ้นเพื่อข้ามแม่น้ำแควใหญ่ที่ตำบลท่ามะขามด้วยแรงงานซึ่งทำงานกันทั้งวันทั้งคืน 

มันมีโครงสะพาน 2 รูปร่าง โครงรูปครึ่งวงกลมกินอาณาเขตส่วนใหญ่ของสะพาน ส่วนตรงกลางแม่น้ำเป็นโครงเหล็กรูปสี่เหลี่ยมคางหมูดูเป็นส่วนที่แปลกแยกจากทั้งสะพาน มันไม่ใช่การจงใจแต่เป็นส่วนที่เคยถูกระเบิดทำลายเสียหายมาก่อน แต่เดิมนั้นสะพานข้ามแม่น้ำแควเป็นโครงเหล็กรูปครึ่งวงกลมทั้งสะพาน เมื่อวันที่เครื่องบินทิ้งระเบิดทำลายสะพานนั้น ส่วนตรงกลางของมันได้ขาดลงจำนวน 3 ช่วงตอม่อ พอถึงคราวที่ต้องบูรณะสะพานก็ได้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งตอม่อใหม่ให้มีช่วงกว้างขึ้นและเปลี่ยนโครงสะพานให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูเพื่อรับน้ำหนักได้ดีขึ้น จึงกลายเป็นสะพานที่เป็นเอกลักษณ์มาจนถึงเดี๋ยวนี้

A bridge over a river

Description automatically generated with medium confidence
A group of people on a bridge

Description automatically generated with low confidence

รถไฟนำเที่ยวจอดให้เราลงมาดูสะพานกันอย่างเต็มตา 20 นาที ช่วงเวลานี้สามารถเดินไปถึงตรงกลางสะพานได้สบายๆ แต่ไม่ควรเดินไปไกลเพราะโดยส่วนใหญ่แล้ววันหยุดมักมีคนคลาคล่ำเสมอ แต่อย่างไรแล้วนั้นก่อนที่รถไฟจะออกเขาไม่ปล่อยให้เราต้องโดดเดี่ยวอ้างว้างหรือเดาไปเองว่ารถไฟจะออกตอนไหน เสียงหวีดรถไฟจะดังขึ้นเป็นสัญญาณ ครั้งแรกคือเตือนเหมือนเชฟป้อมบอกว่าเหลือเวลาอีก 5 นาที ครั้งที่สองบอกว่าคุณต้องรีบกลับมาที่รถได้แล้ว และครั้งที่สามบอกเลยว่าคุณไม่ทันแล้วรถไฟออกแล้ว 

A picture containing sky, outdoor, bridge, building

Description automatically generated

รถไฟพาเราเดินทางต่อ เมื่อข้ามแม่น้ำแควใหญ่มาแล้วแนวเส้นทางรถไฟจะเริ่มอิงแอบไปกับแม่น้ำแควน้อยเป็นระยะๆ ผ่านพื้นที่ทุ่งกว้างสลับเนินของกาญจนบุรี ที่มองไปนอกหน้าต่างแล้วจะเห็นถนน ไร่อ้อย ต้นไม้ และภูเขาสลับสับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ว่าแล้วก็คิดถึงสมัยสงครามเหมือนกันว่าแรงงานทั้งหมดนั้นต้องสร้างทางรถไฟผ่านพื้นที่ทุรกันดารขนาดนี้เลยหรอ โดยเฉพาะหน้าร้อนอย่างเดือนเมษาที่แค่นั่งอยู่บนรถไฟก็รู้สึกได้แล้วว่าอากาศข้างนอกนั้นมันเรียกได้ว่านรกชัดๆ 

A field of red flowers with mountains in the background

Description automatically generated with medium confidence

สะพานถ้ำกระแซ

จากสะพานข้ามแม่น้ำแคว ราวๆ 40 นาทีรถไฟก็พาเรามาถึงอีกจุดหนึ่งที่โด่งดังไม่แพ้กัน หลายคนมักเรียกที่นี่ว่า “สะพานมรณะ” แต่สำหรับชื่อทางการที่ถูกต้องตามสำมะโนครัวแล้วที่นี่ชื่อว่า “สะพานถ้ำกระแซ”

ถ้ำกระแซ คือถ้ำหินปูนที่อยู่บนหน้าผาซึ่งติดอยู่ริมแม่น้ำแควน้อย ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่ซ้ายก็เป็นแม่น้ำ ขวาก็เป็นหน้าผาทำให้การสร้างทางรถไฟนั้นดูเหมือนจะเจอจุดวิกฤติเข้าซะแล้ว ไม่มีทางผ่านตรงนี้ไปได้เลยนอกจากการสร้างสะพานเลียบเลาะไปตามแนวของหน้าผานั้น 

A picture containing tree, outdoor, traveling, river

Description automatically generated
A river with boats on it

Description automatically generated with low confidence

ตอม่อไม้หน้าตึ้บวางตัวถี่ยิบเพื่อรองรับน้ำหนักของสะพานรถไฟและตัวรถไฟที่ค่อยๆ ทอดเลื้อยเหมือนงูผ่านยอดไม้เตี้ยๆ ไปตามหลืบหน้าผา ดูแล้วก็แปลกพิลึกเหมือนกันที่ต้องทำสะพานที่ดูชั่วคราวมากกว่าถาวรเพื่อผ่านตรงนี้ไปได้ ระยะทาง 300 กว่าเมตรที่รถไฟคลานด้วยความเร็ว 10 กม./ชม. ผ่านไปด้วยความตื่นเต้น ลุ้นระทึก เสียงล้อเบียดรางเอี๊ยดอ๊าด สายตาหลายคนมองลงไปด้านล่าง แต่จะมองให้หวาดเสียวทำไม มองออกไปด้านข้างและด้านหน้าจะเจอภาพที่สวยยิ่งกว่า คุ้งแม่น้ำแควน้อยที่แซมด้วยรีสอร์ทที่ตั้งริมน้ำที่ไหลเชี่ยว รถไฟที่ค่อยๆ เลื้อยไป และมีคนมากมายจับจ้องมาบนรถไฟราวกับว่าเราที่นั่งบนรถไฟเป็นดาราดังท่านหนึ่ง (อ้อจริงๆ เขาดูรถไฟ ไม่ได้ดูแก อย่าสำคัญผิด) มันเป็นความรู้สึกที่พิเศษและสับสนดีว่าจะรู้สึกอะไรมากกว่ากันระหว่างหวาดเสียวกับสะพานไม้และตื่นเต้นกับวิวพร้อมบรรยากาศ

A train going by a river

Description automatically generated with medium confidence

สะพานถ้ำกระแซถือได้ว่าเป็นอีกจุดหมายหนึ่งของนักท่องเที่ยว ด้วยความเป็นเอกลักษณ์ของสะพาน ความหวาดเสียวตอนรถไฟวิ่งผ่าน ซึ่งการรถไฟเขาดูแลสะพานได้ดีมาก แข็งแรงปลอดภัยแน่นอน บวกกับถ้าเราอยู่ด้านล่างรถไฟและถ่ายรูปรถไฟที่กำลังเลื้อยมาตามสะพานก็จะได้ภาพที่สวยงามน่าประทับใจในอีกมุมมองนึง จริงๆ เราจะลงที่นี่เพื่อดูสะพานให้เต็มตา ถ่ายรูปให้เม็มเต็มก่อนแล้วค่อยนั่งรถไฟธรรมดา 257 ธนบุรี – น้ำตก ที่วิ่งตามมาไปน้ำตกไทรโยคน้อยเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งก็ได้ 

จริงๆ จากสะพานถ้ำกระแซไปอย่าเพิ่งละสายตา พอเลยสถานีวังโพไปนิดนึงจะเป็นอีกช่วงที่ทางรถไฟเลาะไปกับแม่น้ำแควน้อยอีกครั้ง มีสะพานเล็กๆ คล้ายๆ กับสะพานถ้ำกระแซ แต่ต่างกันตรงที่จุดนี้ทางรถไฟปีนเขาขึ้นไปสูงมาก และมีช่วงที่ทางหักโค้งมากจนต้องลดความเร็วลง และเป็นจุดที่เราจะเห็นคุ้งแม่น้ำแควน้อยตวัดท่ามกลางป่าไผ่รกทึบด้านล่างและมีฉากหลังเป็นภูเขาสูงตระหง่านขึ้นไปด้วย สวยอย่าบอกใคร และถ้าไม่มารถไฟก็จะไม่มีทางได้เห็นมุมแบบนี้แน่นอน

Train tracks going through a forest

Description automatically generated with low confidence
A river running through a forest

Description automatically generated with low confidence

น้ำตกไทรโยคน้อย

30 นาทีจากสะพานถ้ำกระแซ เราเดินทางมาถึงปลายทางแล้วนั่นคือน้ำตกไทรโยคน้อย แต่เดิมเลยนักท่องเที่ยวต้องลงที่สถานีรถไฟน้ำตก และนั่งรถสองแถวมา แต่ตอนหลังสบายขึ้นเยอะมากเพราะการรถไฟเขาทำทางรถไฟต่อจากสถานีน้ำตกขึ้นไปถึง (เกือบ) หน้าน้ำตกไทรโยคน้อยเลย 

ต้องบอกก่อนว่าสมัยสงครามนั้นทางรถไฟสายนี้ไม่ได้สุดแค่สถานีน้ำตก มันเป็นทางรถไฟยาวข้ามเขาไปจนถึงด่านเจดีย์สามองค์เข้าไปในพม่าโน่น แต่พอสิ้นสุดสงครามทางรถไฟก็โดนอังกฤษยึดและรัฐบาลไทยได้ไถ่เส้นทางกลับมาเพื่อให้เส้นทางนี้เป็นโครงข่ายทางรถไฟในประเทศ (ก็มันสร้างมาแล้วนี่เนอะ) แต่อย่างที่บอกไปว่าทางรถไฟสายนี้มันสร้างแบบลวกๆ ทำให้เส้นทางหลายจุดนั้นมีความสุ่มเสี่ยงว่าถ้าเปิดเดินรถไฟก็คงต้องตกรางกันรายวันแน่นอน และยิ่งสำรวจเส้นทางก็พบว่าสภาพทางที่สมบูรณ์จริงๆ นั้นมีเพียงแค่ช่วงสถานีชุมทางหนองปลาดุกจนถึงสถานีท่าเสาเท่านั้น ส่วนทางรถไฟที่เลยจากนั้นไปอันตรายสิ้นดี ทั้งไต่ไปบนเขาสูงที่ทางประชิดไหล่เขา สะพานที่ดูไม่แข็งแรงเท่าที่ควร และถ้าจะทำให้ทางทั้งหมดนั้นอยู่ในสภาพพร้อมให้บริการก็ต้องใช้เงินเยอะมาก จึงตัดสินใจสิ้นสุดทางรถไฟสายนี้เพียงแค่สถานีท่าเสา และเปลี่ยนชื่อสถานีท่าเสาเป็นสถานีน้ำตก 

A train going by a sign

Description automatically generated with low confidence

ถ้าเราเดินจากจุดลงรถไฟไปจนถึงหน้าน้ำตก ผ่านรถจักรไอน้ำเก่าที่ตั้งเป็นอนุสรณ์ จะพบได้ว่าทางที่เดินนั้นดูราบเรียบและมีความกว้างมากพอ แถมดูเป็นเส้นตรงพอสมควรด้วย ใช่ครับมันคือแนวทางรถไฟเก่า สังเกตได้จากซากทางรถไฟที่ยังคงเหลือไว้ให้เห็นเป็นต่างหน้า และพอจะเดาได้ไม่ยากว่าถ้าทางรถไฟเส้นนี้ยังยาวต่อไปจนถึงพม่า ตรงจุดนี้คือสะพานรถไฟที่ทอดตัวอยู่ด้านหน้าน้ำตก ไม่อยากนึกภาพเลยว่ามันจะสวยขนาดไหน แม้ว่าตอนนี้จะไม่เหลือสภาพอะไรใดๆ แล้วก็ตาม

A train on the railway tracks

Description automatically generated with medium confidence
A picture containing tree, outdoor, plant, way

Description automatically generated

น้ำตกไทรโยคน้อย เดิมชื่อว่าน้ำตกเขาพัง เป็นน้ำตกที่ไม่ได้ใหญ่โตอะไร มันมีต้นกำเนิดมาจากลำธารเล็กๆ ด้านบนเขาแล้วไหลมาถึงหน้าผาก่อนจะเทตัวลงมาเป็นน้ำตก 2 ชั้น แล้วไหลลอดใต้ถนนแสง-ชูโตออกไปลงแม่น้ำแควน้อยที่อยู่ห่างไปไม่ไกลมาก 

A waterfall in a forest

Description automatically generated with medium confidence
A picture containing tree, outdoor, nature, plant

Description automatically generated

บรรยากาศของน้ำตกไทรโยคน้อยก็ไม่ได้ต่างอะไรกับน้ำตกที่ได้รับความนิยม เข้าถึงง่าย ผู้คนจำนวนมากมายมาเล่นน้ำคลายร้อนกันจนทำให้พื้นที่หลายจุดเต็มไปด้วยเสื่อ สาด ข้าวเหนียว ส้มตำ น้ำตก ไก่ย่าง ราวกับเป็นอาหารสูตรสำเร็จในการผ่อนคลายอิริยาบทในวันหยุดสุดสัปดาห์ ถ้าเรายังเป็นเด็กก็คงกระโดดลงไปเล่นน้ำแล้ว แต่ด้วยวัยสามสิบกว่าแล้วคงไม่ไหวที่จะลงไปแช่น้ำอย่างเด็กๆ แน่ เลยเลือกที่จะถลกขากางเกงไปสำรวจตามมุมต่างๆ แล้วถ่ายรูปน้ำตกไว้ดีกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ากิจกรรมจะหมดแค่เท่านี้ จากตรงหัวรถจักรไอน้ำเก่ามีบันไดขึ้นไปที่ตาน้ำตกได้ ระยะทางประมาณกิโลเมตรกว่าๆ น่าจะไม่ไกลมากสำหรับไปที่แหล่งกำเนิดน้ำตก แต่ทว่าโควิด 19 ทำให้อุทยานปิด…ช่างน่าเศร้า

ไม่เป็นไร เรายังพอมีร้านกาแฟ “โยคน้อย”บรรยากาศดี เป็นบ้านไม้เก่าสวยๆ แวดล้อมใต้ต้นไม้ร่มรื่น แถมมีที่นั่งใต้ต้นจามจุรีแผ่ร่มเงาเย็นสบายไว้นั่งผ่อนคลายอารมณ์ได้ หวังว่าอุทยานจะเปิดไวๆ จะได้เข้าไปดูตาน้ำตกได้ เคยเข้าไปหนนึงแล้วสงบและน้ำเย็นมากๆ เลย

A picture containing tree, outdoor, grass, park

Description automatically generated

กลับบ้าน

และแล้วก็ถึงเวลาต้องกลับ รถไฟนัดเวลาบ่ายสองครึ่งเพื่อตีรถเข้ากรุงเทพฯ หลายคนที่เหนื่อยจากการเล่นน้ำขึ้นรถมาก็ได้นอนยาว พอถึงช่วงเย็นรถไฟก็จอดแวะที่สถานีกาญจนบุรี 1 ชั่วโมง เพื่อให้คนไปเที่ยวที่สุสานทหารพันธมิตร แต่โดยส่วนใหญ่แล้วก็ไปไม่ถึงสุสานกันหรอกเพราะโดนตลาดนัดหลังสถานีดักไว้ก่อนทั้งนั้น เรื่องของกินต้องมาก่อน 

ตอนขามารถไฟขบวนนี้ได้มีการพรีออร์เดอร์อาหารขึ้นและของฝากของกาญจนบุรีไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นลูกชิ้นนึ่ง ทอดมันปลา เป็ดย่าง รวมไปถึงก๋วยเตี๋ยวราชบุรี น้ำตาลโตนดเพชรบุรี ของหวานเพชรบุรีจากรถไฟสายสวนสนประดิพัทธ์ เราผู้ซึ่งสั่งลูกชิ้นปลาไว้ก็ต้องอดทนรอไว้ก่อนเพราะลูกชิ้นนี้อร่อยจริงอร่อยจังมาก 

A train pulling into a station

Description automatically generated with medium confidence

หลังจากรถไฟออกจากกาญจนบุรีมาได้ไม่นาน สินค้าที่เราสั่งไว้ก็มาถึง ลูกชิ้นปลาลูกใหญ่มากราคา กก.ละ 170 บาท มันถูกนึ่งจนร้อนแล้วราดด้วยน้ำจิ้มที่รสชาติคล้ายกับน้ำจิ้มข้าวมันไก่ออกเผ็ด กินไปกินมาเพลินมากพร้อมชมวิวยามเย็นของสายกาญจนบุรีผ่านหน้าต่างรถไฟไปเรื่อยๆ จนตะวันคล้อยต่ำลง แสงธรรมชาติเริ่มหายไปและแทนที่ด้วยแสงไฟของถนน จนทุ่มนึงรถไฟก็เดินทางมาถึงสถานีชุมทางบางซื่อซึ่งเป็นปลายทางของเราวันนี้ 

โปรแกรมนำเที่ยวรถไฟแบบไปเช้าเย็นกลับถือว่าเป็นตัวเลือกนึงสำหรับคนที่อยากลองนั่งรถไฟ ไม่เคยนั่งรถไฟแล้วอยากลองไปไหนซักที่ที่ไม่ต้องวางแผนอะไรมาก ด้วยราคาที่ถูกแสนถูกสบายกระเป๋าที่สุดทำให้น่าจะเป็น Starter สำหรับมือใหม่หัดนั่งรถไฟ ถ้าสนใจก็ลองสักครั้ง แล้วครั้งต่อๆ ไปก็จะตามมา ไม่แน่นะคุณอาจจะได้กลายเป็นนักนั่งรถไฟเที่ยวอีกคนนึงเหมือนกับเราแอนด์เดอะแก๊งก็ได้

A train track surrounded by trees

Description automatically generated with low confidence
A picture containing sky, outdoor, track, sunset

Description automatically generated

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า