fbpx

กยศ. หนอชีวิต ลิขิตให้ต้องตามเงินคืนไป ไม่มีวันทำงานไม่ได้

เป็นกระแสดราม่าถกเถียงกันบนโลกออนไลน์กันไปอีกประเด็น และเหมือนจะเป็นประเด็นที่สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนมาทุกปี ทุกรอบ ทุกไตรมาส เมื่อมีการทวงถามตามหนี้ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาหรือที่เรียกย่อๆกันว่า กยศ. ที่กลายเป็นว่าในรอบหลายปีที่ผ่านมา การชำระคืนหนี้เพื่อการศึกษาของกลุ่มประชากรไทยที่เคยกู้ยืมเรียนไปนั้น กลับเรียกได้กลับมาเป็นตัวเลขที่น้อยนิดเสียเหลือเกิน

และด้วยกระแสการตั้งคำถามต่อระบบโครงสร้าง ความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เพิ่มมาขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ หลังจากกระแสการเรียกร้องประชาธิปไตยมันอู้ฟู่ขึ้นมา การกู้ยืมเพื่อการศึกษาและลากโยงไปถึงสวัสดิการของรัฐที่กำหนดไว้ว่าการศึกษาของเด็กไทยนั้นฟรี แต่ว่ามันฟรีมากน้อยแค่ไหนกัน มันมาถึงจุดที่คนกู้ยืมเรียนแล้วไม่มีคืนได้ยังไงกันแล้วซิ

ฉะนั้นการตีกันเรื่อง กยศ. กอยอใจ คงต้องลงไปศึกษาดูรายละเอียดกันเสียหน่อย

การศึกษาไทย ว่ากันว่าฟรี

การศึกษาไทยขั้นพื้นฐาน จริงๆแล้วควรฟรี ย้ำว่า “จริงๆแล้ว” แต่ฟรีจริงไหมเป็นอีกเรื่อง แต่คำว่าฟรีอย่างเดียวนั้น คงจะพูดเอาง่ายๆอย่างเดียวไม่พอ ตามนโยบาย “เรียนฟรี 15 ปี” ของกระทรวงศึกษาธิการนั้น เทียบเท่ากับว่าเยาวชนไทย จะมีเงินจากรัฐเข้ามาช่วยสนับสนุนให้ได้เรียนฟรีนับตั้งแต่อนุบาล ไปจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 นั่นเอง 

เฉพาะข้อกำหนดของนโยบาย ในความเป็นจริง ก็ยากที่จะเป็นไปได้แล้ว เพราะนโยบายดังกล่าว มีการจัดสรรงบประมาณส่งต่อไปให้โรงเรียนเป็นรายหัว ฉะนั้นหากโรงเรียนใดใดไม่มีนักเรียนตามจำนวนที่จะสามารถส่งเบิกได้ ก็จะไม่สามารถเรียนฟรีได้ตามนโยบาย และส่งผลให้นโยบายรียนฟรี 15 ปี ไม่มีอยู่จริงและเด็ก 2.4 ล้านส่อหลุดนอกระบบนี้ไป

เฉพาะการศึกษาภาคบังคับที่นับได้ว่า “ต้องเรียน” ก็มีปัญหาเสียแล้ว แต่สมมติว่าตัดปัญหานี้ออกไป ถ้าฟรีได้จริงๆ คำว่าฟรีที่ว่าคือฟรีถึงชั้นไหน หากเรียนจบแค่การศึกษาภาคบังคับและขั้นพื้นฐานที่กำหนดใน รธน. และสอดรับกับนโยบายแล้ว ถ้าเด็กคนนั้นไม่ไม่เรียนต่อ จะสามารถออกไปทำงานได้เลย และสามารถครองชีพได้แบบพออยู่พอใช้ได้จริงหรือไม่

การศึกษาขั้นต่ำ แต่รายได้ขั้นสูง

หากคำตอบในโลกแห่งความเป็นจริงคือ “ไม่ได้” ก็หมายความว่าการเรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเดียวนั้น มีทางเลือกให้กับเยาวชนอายุ 15 ปีไม่มากนัก ถ้าหากไม่กลับไปช่วยธุรกิจเล็กๆที่บ้าน ก็จะต้องเผชิญกับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งต้องเอามาสมการกับค่าครองชีพไทย

ดังนั้นทางเลือกของการเรียนต่อ เพื่อไปให้ถึง วุฒิการศึกษาที่เป็น “ขั้นพื้นฐานจริงๆของสังคม” ถูกแยกออกเป็นสองทางเลือก บางคนต่อสายอาชีพ ซึ่งก็ต้องไปเผชิญกับค่านิยมทางสังคม การถูกปัดให้มีความสำคัญรองลงมา โดนเหยียดว่าเป็นเด็กช่างต่อยตี ซึ่งก็เผชิญกับปัญหาแรงงานช่างฝีมือขาดตลาดไป ในขณะที่บางคนเลือกที่จะต่อสายสามัญ และต่ออุดมศึกษาตามลำดับ 

ซึ่งสังคมล่าปริญญาของทั้งสองสาย มุ่งหมายเข้าสู่ตลาดแรงงานจริง ที่เงินเดือน 15,00 บาท ซึ่งสังคมที่ว่าก็ขีดเส้นกันไว้ที่จุดนี้

กยศ. กับบทบาทในโลกความเป็นจริง

เมื่อมาถึงจุดนี้ของเนื้อเรื่อง กยศ. ได้เข้าฉากมาในซีนนี้ เพื่อให้เยาวชนคนไทยที่จะทะเยอทะยานไปหาปริญญาตรีได้มีโอกาสกู้เรียน เพื่อไปหาค่าแรงที่อยู่ได้จริงๆ ไม่ใช่อยู่แบบสมมติตามที่กฎหมายกำหนด โดยตกลงกับข้อกำหนดต่างๆที่รัฐเป็นผู้กำหนดอยู่ก่อนแล้ว

ซึ่ง กยศ. เป็นกองทุนที่หลายประเทศก็มี ในลักษณะคล้ายๆกันหรือแตกต่างกันเล็กน้อย เพื่อเป็นทรัพยากรในการต่อยอดโอกาส เช่น ประเมิณแล้วว่า ถ้าเยาวชน ก. กู้ยืมไปเรียนในสายงาน A หากอนาคตทำเงิน และประสบความสำเร็จได้แน่นอน รัฐจะได้ประโยชน์คืนในภายหลัง งั้นให้เครดิตเยาวชน ก. ยืมไปเรียนก่อน พอจบได้ตามสายงานที่ว่า ค่อยหักมาใช้คืน

อาชีพที่เน้นกู้ยืมเรียน กยศ มักจะเป็นอาชีพที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นตัวเลขชัดเจน เช่น ไอที หมอ หรือพบโดยทั่วไปในซีรีส์ต่างประเทศแนวกฎหมาย ตัวเอกมักจะกู้ กยศ. เพื่อเรียนรัฐศาสตร์ เพราะการเรียนกฎหมายสอบไปจนถึงอัยการ มักมีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่เมื่อจบมาเป็นทนาย รักษากฎหมายคืนให้สังคม 

คนที่ไม่ต้องกู้ ก็คือคนที่ไม่ต้องทะเยอทะยาน และไม่มีความจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อรัฐ เช่น บ้านรวยอยู่แล้ว หรืออยู่ได้ด้วยรัฐสวัสดิการปกติ เด็กที่ไม่ต้องพยายามเรียนต่อ พอจบไฮสคูล กลับไปทำไร่ข้าวโพดกับครอบครัว ซ่อมรถที่อู่ในเมืองเล็กๆ ทำงานมา อยู่ได้ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ทำงานดับเพลิงถือแก้วสตาร์บั๊ค วันหยุดเก็บเงินบินมาเที่ยวสถานบันเทิงเมืองไทย ค่าแรงเมื่อสมการกับค่าครองชีพพอดีกัน มีสวัสดิการอื่นๆจากรัฐตามสมควร อาจจะทำให้มีเงินเก็บได้ และยังมีเงินเกษียณจากรัฐเมื่อยามชราภาพ

กยศ. จากทางเลือก สู่ทางรอด

เมื่อบริบทของสังคมไทย ไม่ใช่ประเทศอื่นๆ เมื่อเยาวชนไทย ตัดสินใจกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา โดยเดิมพันว่าจะไปถึงวุฒิที่คาดว่าจะมีรายได้พอสำหรับอยู่ได้เพียงเท่านั้น ไม่ได้มีการผนวกตัวเองเข้ากับการพัฒนาคืนประเทศใดใด เพราะในบริบทความเป็นจริง ค่าครองชีพและความเหลื่อมล้ำ ไม่อาจทำให้เงินเดือน 15,000 บาทอยู่ได้ ซึ่งค่าครองชีพดังกว่าง ยังต้องรวมถึงยังมีค่าอื่นๆ ต้องใช้จ่ายเพิ่มเติม เพื่อเข้าสู่สังคมสมัยใหม่ที่รันด้วยระบบ Digital และความเป็นสากล เช่น ค่า Smartphone ค่า Subcribed บริการเพื่อเชื่อมต่ออื่นๆอีก

สรุปคือ ยืมกองทุนเพื่อมาถึงเส้นชัย อ้าว ไม่พอ 

และหากคำนวณไปว่า การศึกษาจริงๆแล้วก็เคยกำหนดว่าควรฟรี เพราะงั้นยกเลิกไปเลยไม่ได้หรือ เพราะจริงๆแล้วมันก็ควรเป็นสวัสดิการจากรัฐอยู่แล้ว?

แต่ทว่าจริงๆแล้ว กยศ. มีสภาพไม่ต่างจากรถมอเตอร์ไซค์ของคนต่างจังหวัด การซื้อมอเตอร์ไซค์และรถยนต์จึงเป็นสิ่งจำเป็นแบบไม่มีไม่ได้ เพราะ จะเดินทางออกจากบ้านไม่ได้ ดังนั้น วิธีแก้ปัญหาจึงไม่ใช่การบอกให้เลิกใช้มอเตอร์ไซค์และรถยนต์ แต่คือการพัฒนาระบบขนส่งให้ทั่วถึงทุกพื้นที่และราคาถูกนั่นเอง

การตอบสนองจากภาครัฐ

ศาลฎีกาได้สรุปประเด็น กยศ. ไปแล้วเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2665 ว่า “หนี้ กยศ. ยังไงก็ต้องคืน การยกเลิกหนี้ ไม่ใช่การแก้ปัญหา” ซึ่งเป็นคำตัดสินที่ชัดเจน และไม่ต้องตั้งข้อกังขาอันอีก

แต่ความเ กยศ. เอง กลับไม่เคยออกแถลงการณ์ แสดงจุดยืนว่า บทบทและหน้าที่ของกกองทุน ไม่ใช่การอุ้มคนฐานรากที่ไม่มีโอกาสเรียน กองทุนนี้ไม่ได้ถูกตั้งมาเพื่อสิ่งนี้ หากแต่เป็นเป็นกองทุนเพื่อต่อยอดโอกาสสำหรับคนที่ผ่านการพิจารณาเท่านั้น

ฝ่ายผู้มีอำนาจ ก็เพิกเฉยที่จะรื้อระบบสวัสดิการการศึกษาใหม่ ทำให้นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ไม่เป็นแค่เสือกระดาษ แต่ทำให้ระบบเห็นแก่ทรัพยากรมนุษย์ว่าจะพัฒนาไปทำเงินให้ประเทศต่อแล้วคืนมาเป็นกำไรประเทศได้อย่างไร แต่กลับพยายามเบี่ยงเบนประเด็นว่าว่า 15,000 ยังไงก็อยู่ได้ คำนวณมาให้เลยออกสื่อ รวมถึงเอาไปสมการกับประเทศอื่น ว่าเด็กจบใหม่เงินเดือนเท่ากัน เขายังอยู่ได้เลย

พอรัฐไม่เห็นปัญหาที่แท้จริง กองทุนกลายเป็นเหยื่อ ทีนี้ก็คือตาของการมานั่งตีกันเองของกลุ่มคนกู้ ที่มีทั้งเหนื่อยจะใช้คืน กับคนที่มีวินัยในการออมเงินจริงๆ ส่งตรงเวลาไม่เคยขาด ซึ่งก็เกิดคำถามโต้กลับว่า แล้วทำไมพวกเขาต้องลดมาตรฐานไปหาค่ามีน คุณลำบากเลยไม่จ่าย แล้วฉันไม่ลำบากเหรอ ที่ต้องทำงานแทบตายเพื่อหามาจ่ายคืน

แต่ทั้งนี้ซึ่งปัญหานี้ ไม่สามารถแก้ได้ด้วยการบอกว่าใครมีวินัยหรือไม่มี

หากแต่เราจะต้องมานั่งทบทวนกันดีดีว่า รัฐที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถมีรายได้เข้ารัฐได้มากพอในการจ่ายสวัสดิการเรียนฟรีให้ทุกคนจริงหรือไม่ หรือจะสามารถตัดลบงบประมาณรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้หรือเปล่าในแผนงบประมาณประจำปี

การจะหนุนให้เด็กซักกลุ่มนึงได้เรียนในองค์ความรู้ที่จะมาคืนกำไรให้ประเทศ มันไม่สิ้นเปลืองเลย ลงทุนให้มันเรียนจบไปในสายงานที่อนาคต อาจจะสามารถเซ็ตระบบให้ประเทศกลายเป็น Hub ขององค์ความรู้บางอย่างศูนย์กลางของโลกได้ซักสายงานหนึ่ง ลงทุนแค่ไหนก็คุ้มค่า

เว้นเสียแต่ว่า วิสัยทัศน์ของผู้บริหารประเทศ จะไม่เคยมองผ่านแว่นของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เลย

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า