fbpx

ตรวจพบสัญญาณวิทยุจากดาวนอกระบบสุริยะ ลุ้นว่าดาวดวงนั้นอาจมีชั้นบรรยากาศและสิ่งมีชีวิต

บรรดานักดาราศาสตร์ตรวจจับสัญญาณวิทยุได้ซ้ำๆ จากดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ และดวงดาวที่อยู่ในวงโคจร ดาวทั้งสองดวงต่างอยู่ห่างจากโลกไป 12 ปีแสง สัญญาณที่ตรวจจับได้ ก็แสดงให้เห็นว่า ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงนี้ ซึ่งมีขนาดเท่าโลกของเรา อาจมีสนามแม่เหล็ก และอาจถึงขั้นมีชั้นบรรยากาศอีกด้วย ฟังดูน่าตื่นเต้น !!!

ตามปกติ สนามแม่เหล็กบนโลกจะเป็นตัวช่วยป้องกันชั้นบรรยากาศ ไม่ให้จางหายไปตามกาลเวลา ส่วนสิ่งมีชีวิตจะอยู่รอดได้ ก็ด้วยการให้ชั้นบรรยากาศเป็นตัวเบี่ยงเบนอนุภาคพลังงาน และพลาสมาที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์

การตรวจพบว่า ดวงดวงใดมีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่ และอยู่นอกระบบสุริยะอีกด้วย อาจบ่งชี้ให้เห็นว่า ดาวดวงนั้นอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ก็ได้

นักวิทยาศาสตร์ตรวจพบคลื่นวิทยุค่อนข้างแรง มาจากดาวดวงนี้ ที่มีชื่อว่า YZ Ceti และดาวที่โคจรรอบตัวมัน ซึ่งมีชื่อว่า YZ Ceti b ระหว่างสังเกตการณ์โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ Karl G. Jansky Very Large Array ในรัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐ พวกเขาเชื่อว่า สัญญาณวิทยุที่ตรวจจับได้ เกิดจากการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์และดาวที่โคจรรอบๆ

ผลการศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature Astronomy ระบุว่า ตามปกติ คลื่นวิทยุที่โลกตรวจจับได้จากดาวดวงใดก็ตาม แสดงว่า ต้องเป็นสัญญาณคลื่นที่แรงมาก และดาวดวงนั้นจะอยู่รอดได้ด้วยชั้นบรรยากาศหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า ดาวดวงนั้นมีสนามแม่เหล็กแรงเพียงพอหรือเปล่า

ก่อนหน้านี้ นักวิจัยเคยตรวจจับสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพฤหัสมาแล้ว ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล แต่การตรวจหาสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์เล็กกว่า ที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลก มันจะทำได้ยากมากขึ้น เพราะสนามแม่เหล็กเป็นอะไรที่พวกเรามองไม่เห็น

ส่วนในเคสของดาว YZ Ceti b นั้น ต้องใช้เวลาสองวันบนโลก จึงจะโคจรรอบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ YZ Ceti ได้ครบรอบ ซึ่งระหว่างการโคจร พลาสมาที่ปล่อยออกมาจาก YZ Ceti b จะไปชนเข้ากับสนามแม่เหล็กของ YZ Ceti ก่อให้เกิดการปล่อยคลื่นวิทยุอย่างแรงออกมา จนโลกของเราสามารถตรวจจับได้ และยังอาจทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือขึ้นด้วย

ในระบบสุริยะจักรวาล การระเบิดของพลังงานบนดวงอาทิตย์ ก็อาจจะกระทบกับดาวเทียม และระบบโทรคมนาคมบนโลก ก่อให้เกิดเป็นแสงสีสันสดใสแปลกตาใกล้ขั้วโลก ที่เรารู้จักกันในชื่อว่า แสงเหนือ และถ้าดาวดวงใดมีแสงเหนือ ก็แสดงว่า ดาวดวงนั้น มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่

ที่มา : CNN

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า