fbpx

รู้จัก “พังก์” แฟชั่นสะท้อนความเหลื่อมล้ำและทลายกรอบสังคมของอังกฤษ

หากจะกล่าวถึงความเป็นผู้นำด้านศิลปวิทยาการ อังกฤษถือเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มาพร้อมกับคุณสมบัตินี้ โดยเฉพาะโดยเฉพาะยุคหลังปฎิวัติอุตสาหกรรม ที่เป็นยุคที่อังกฤษมีสภาพเศรษฐกิจเฟื่องฟูมากที่สุดยุคหนึ่ง ทว่าหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศอาณานิคมของอังกฤษอย่างอินเดียกับปากีสถานได้แยกตัวออกจากกัน รวมทั้งการประกาศเอกราชของปาเลสไตน์ ที่แยกตนเป็นอิสระจากอิสราเอล ก็ส่งผลให้ประเทศอังกฤษอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องนานกว่า 10 ปี 

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การบริหารงานของพรรคอนุรักษ์นิยม โดยมีพรรคแรงงานเป็นฝ่ายค้าน ส่งผลให้มีการต่อสู้ระหว่างนายทุนและชนชั้นแรงงานอยู่บ่อยครั้ง การแปรรูปธุรกิจรัฐอย่างไฟฟ้าและประปาเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ แม้จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตมาก แต่ขณะเดียวกันครอบครัวชาวอังกฤษจำนวนมากล่มสลาย เพราะคนระดับล่างตกงานและไม่ได้รับการศึกษา จึงทำให้เกิดการประท้วงอยู่เป็นจำนวนมาก  

ช่วงปลายยุค 60s ที่มีวัฒนธรรมฮิปปี้เข้ามา ผู้คนเริ่มตั้งคำถามกับชนชั้นสูงรวมไปถึงการที่รัฐบาลอังกฤษมองข้ามชนชั้นล่าง นำไปสู่แนวคิดปฎิวัติเพื่อต่อต้านความเชื่อ การเมือง รวมไปถึงจริยธรรมต่างๆ ผ่านทั้งดนตรีและการแต่งกายที่ไม่แคร์โลก จนกลายเป็น Sub-culture ที่มีแนวคล้ายคลึงกับการาจ ร็อค (Garage Rock) วัฒนธรรมย่อยนี้พัฒนาต่อมาในยุค 70s และกลายเป็นวัฒนธรรมพังก์ในที่สุด

“พังก์” (Punk) มีความหมายตรงตัวว่า เน่า ผุพัง และไร้ค่า ส่วนวัฒนธรรมพังก์นั้นเป็นการแสดงออกถึงความรุนแรง ขบถ  และอิสระเหนือกฎเกณฑ์ โดยมีจุดเริ่มต้นของการเรียกร้องของชนชั้นล่างในอังกฤษ ดังนั้นหัวใจหลักของพังก์ จึงเป็นการสื่อสารเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง เสียดสีสังคม ต่อต้านทุนนิยม และการตั้งคำถามกับเรื่องที่ไม่กล้าถามและประเด็นที่ละเอียดอ่อน โดยแสดงออกผ่านการแต่งกายที่หลุดกรอบของสังคม อย่างแจ็กเก็ตหนัง โซ่เงิน รองเท้าบู๊ต ทรงผมสีฉูดฉาด และดนตรีที่เกรี้ยวกราด ที่มีเนื้อหาแสดงถึงความขบถและท้าทายศีลธรรม

 สำหรับวงการแฟชั่น วัฒนธรรมพังก์ได้ให้กำเนิดไอคอนด้านแฟชั่นชื่อดังหลายคน ได้แก่

Vivienne Westwood นักออกแบบชาวอังกฤษ ที่เกิดและเติบโตในครอบครัวฐานะปานกลางและชนชั้นแรงงาน เธอมีชื่อเสียงจากการออกแบบชุดที่มีไอเดียนอกกรอบ ไร้กฎเกณฑ์ ล้างภาพจำเดิมๆ แม้แต่แพทเทิร์นชุดก็สามารถสร้างฟอร์มใหม่ๆ อย่างปกเสื้อสูทที่ไม่เท่ากัน เสื้อคอร์เซ็ทที่ถูกปรับเปลี่ยนให้ใส่ง่ายแต่ยังคงความหรูหราไว้ หรือกระดุมศิวลึงค์ที่ท้าทายศีลธรรม จนเกิดการเคลื่อนไหวในด้านของชนชั้นแรงงานที่ขบถต่อชนชั้นผู้ดี เพราะเพียงแค่อยากออกจากกรอบเดิมๆ 

Malcolm McLaren เป็นศิลปินและนักร้องนำวง Sex Pistols  เจ้าของผลงานเพลงในตำนานอย่าง  God Save the Queen ที่มีสไตล์เพลงเป็นเอกลักษณ์และเนื้อหาตรงไปตรงมา โดยในปี 1977 ที่เพลงนี้เปิดตัวเป็นครั้งแรก ก็เกิดเหตุจลาจลขึ้น เนื่องจากเพลงนี้มีเนื้อหาที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์อย่างรุนแรง  นอกจากนี้ McLaren ยังก่อตั้งร้าน SEX ร้านเสื้อผ้าสไตล์เฟติช รวมทั้งยังได้ Vivienne Westwood มาเป็นสไตล์ลิสต์ของวง  Sex Pistols จึงมีสไตล์การแต่งตัวที่แหวกแนว อย่างเสื้อยืดขาดๆ หรือเสื้อยืดสกรีนลายสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบทที่ 2 

Alexander McQueen นักออกแบบแฟชั่นที่มีความคิดสร้างสรรค์ไร้กรอบและขีดจำกัด สะท้อนความแสบซน ไม่เหมือนใคร  เขาเคยให้สัมภาษณ์ว่าเคยเย็บซับในสูทให้แก่สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 และมีกางเกง Bumper ที่โชว์แก้มก้น หรือ เสื้อผ้าฉีกขาด และสีแดงให้ดูเหมือนเลือด รวมทั้งผ้าพันคอลายกะโหลก ที่คนไทยนิยมใส่กันช่วงหนึ่ง 

ศิลปินทั้งสามคนนี้แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่อยู่ใต้พรมที่ชนชั้นสูงมองข้ามชนชั้นล่างมาโดยตลอด โดยเฉพาะทัศนคติการทำงานที่ยอมจำนนของผู้คนยุคก่อนหน้านี้ จนกระทั่งแรงกดดันในสังคมกับเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัวขึ้นมาในช่วง 70sส่งผลให้ชาวอังกฤษกล้าที่จะตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัว และกล้าที่จะแตกต่างบนธรรมเนียมที่แสนเคร่งครัดในเวลาเดียวกัน

หลังจากที่วัฒนธรรมพังก์ก้าวเข้าสู่ตลาดโลกมากขึ้นจากคอลเลคชั่นเสื้อผ้า Fall /Winter ปี 1981 Vivienne และ Malcolm ได้ออกแบบคอลเลคชั่น Pirate ที่ตีความให้ชุดโจรสลัดมีความสดใส ไม่น่าเบื่อ และนำลายสไตล์ร็อกโคโคมาผสมกับพังก์ซึ่งทำให้ผู้คนชื่นชอบเพราะ สามารถนำไปแมตช์ลุคได้หลากหลายแบบ และคงความหรูหราไว้ด้วย หรือ การทำชุดเจ้าสาวหลายเลเยอร์ให้แก่นักแสดงหลัก Carrie Bradshaw จากซีรีย์ Sex and the City 

ส่วนชุดสไตล์ชุดแบบ Alexander McQueen นั้นจะมีความคิดสร้างสรรค์และนอกคอก ในปี 1996 เครือ LVMH ได้จ้างให้ Alexander ทำคอลเลคชั่นให้แก่ Givenchy เนื่องจากเขาได้วิพากษ์คอลเลคชั่นกูรตูร์ว่า ‘ห่วยแตก’ แต่เป็นปีแรกที่เขาชนะรางวัลดีไซเนอร์ยอดเยี่ยมของเวที British Fashion Awards และทุกชุดที่นำมาประกวดจะมีการผสมผสานเทคโนโลยีลงไปด้วย อย่างผลงานที่ชื่อว่า Widows of Culloden ใน คอลเลคชั่น Fall/winter ปี 2006 ที่นำโฮโลแกรมฉายภาพของนางแบบ Kate Moss

จะเห็นได้ว่าแฟชั่นพังค์กลายเป็น Super Power และนำไปผสมกับแนวเพลงหรือสไตล์ชุดแบบต่างๆมากมาย เช่นศิลปินอย่าง AvrilLavigne ที่ปรับลุคเข้มขึ้นแต่เลือกสีชมพูมาตัดกับลุคแสบซนในแบบของเธอเอง หรือ Hayley williams  นักร้องนำวง Paramore  ก็ใช้สีผมจัดจ้านมาตัดกับสีดำ หรือ การแต่งตัวแบบ Unisex เข้ามาผสมด้วย 

หลังจากที่พังก์กลายเป็นกระแสหลัก หลายๆ คนอาจคิดว่าต้องมีลักษณะรุนแรง ดิบเถื่อนเพียงอย่างเดียว แต่พังก์นั้นกลับเป็นวัฒนธรรมและแฟชั่นเหนือกาลเวลา ทว่าสิ่งที่ไม่เปลี่ยนไปจากวัฒนธรรมนี้เลยก็คือ การเรียกร้องและแหกกฎ อย่างกรณีที่ Vivienne Westwood  ใช้ชื่อเสียงของเธอในการเรียกร้องเรื่องแฟชั่นที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Fashion ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ไม่ใช่เพื่อใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นโลกใบนี้

ทุกวันนี้คำว่าพังก์ ไม่ใช่แค่การแสดงตัวตนหรือแหกกฎแบบปัจเจกเท่านั้น แต่เป็นการเรียกร้องสิทธิให้แก่สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และเปิดโลกให้แก่ผู้คนมากขึ้น โดยเริ่มจากตู้เสื้อผ้าของตนเอง

อ้างอิง : themomentum / gqthailand / bbc / parliament / prachatai

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า