fbpx

พัฒนาการของตัวตนของคนรักเพศเดียวกันในยุโรปหลังจากช่วงการขึ้นสู่อำนาจของศาสนาคริสต์

อาณาจักรโรมันในช่วงปลายศตวรรษที่ 3 ถึงต้นศตวรรษที่ 4 มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญทางด้านสังคมและวัฒนธรรม กล่าวคือ “ความเชื่อ” ของชาวโรมันเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงกล่าวคือได้รับอิทธิพลจากศาสนาของชาวต่างชาติซึ่งเน้นในเรื่องของคาถาอาคมและเรื่องลึกลับ อันได้รับอิทธิพลจากกรีกและอียิบต์ โดยความเชื่อจะเน้นในเรื่องโลกของวิญญาณมากกกว่าสิ่งที่มองเห็นได้นอกจากนี้ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คืออำนาจของรัฐบาลกลางที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 4 ประชาชนชาวโรมันไม่มีสิทธิในการเลือกศาสนา อาชีพ สถานที่พักอาศัย หรือแม้กระทั่งนักกรีฑาที่ชื่นชอบโดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาล

ในราวศตวรรษที่ 3 ได้เริ่มเกิดคำศัพท์คำว่า Stuprum ซึ่งหมายรวมถึงพฤติกรรมของคนรักเพศเดียวกันอันหลากหลาย ซึ่งทำให้พฤติกรรมดังกล่าวต่อไปนี้ ไม่ถูกคุ้มครองจากกฎหมายดังเช่น การข่มขืน และการล่วงประเวณี ดังนั้นจากการตัดสินของผู้พิพากษา Paulas กล่าวว่าชายใดก็ตามที่ผิดกฏหมาย Stuprum (เน้นการเป็นผู้ถูกกระทำ) จะต้องสูญเสียสมบัติครึ่งหนึ่งของเขา

คำสอนของศาสนาคริสต์มีท่าทีต่อต้านความสัมพันธ์ของคนรักเพศเดียวกันอย่างโจ่งแจ้ง วัฒนธรรมคริสเตียนเป็นวัฒนธรรมที่มีรากฐานจากวัฒนธรรมของชาวยิว โดยชาวคริสเตียนในระยะแรกต้องต่อสู้เพื่อให้ความคิดตัวเองอยู่รอดท่ามกลางความคิดที่หลากหลาย ศาสนาใหม่นี้ต้องสร้างอัตลักษณ์ของตนเองท่ามกลางคู่แข่งขันอื่นโดยเฉพาะ ศาสนามานีเคียน ศาสนาของชาวโรมัน และศาสนายิว โดยศาสนาคริสต์เริ่มก่อตั้งเป็นศาสนาของอาณาจักรโรมัน ในสมัยพระเจ้าคอนสแตนตินมหาราช (Constantine the Great) เนื่องจากจักรพรรดิคอนสแตนตินต้องการที่จะรวมอาณาจักโรมันอันกวางใหญ่ไพศาลเข้าไว้ด้วยกัน จึงได้ประกาศกฤษฎีกาแห่งเมืองมิลาน (Edict of Milan) ที่ให้เสรีภาพแก่ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ในปี ค.ศ. 313 และต่อมาได้ทำให้ศาสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาประจำชาติในที่สุด ในช่วงปลายศตวรรษที่ 4

คำสอนของศาสนาคริสต์ที่มีลักษณะต่อต้านความสัมพันธ์ของคนรักเพศเดียวกัน เริ่มเห็นได้จาก คำสอนของ คำสอนของจอห์น แห่ง ครีคอสทอม (John of Chrysostom) ซึ่งเคยเขียนข้อความต่อต้าน ความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างชายกับชาย

อายุทางกฎหมายที่เด็กชายจะกลายเป็นหนุ่มคือ สิบสี่ปี แต่ในช่วงศตวรรษที่สี่ในเอเชีย ไมเนอร์และแคว้นซีเรียของโรมันผู้ชายจะเริ่มมีประสบการณ์ทางเพศโดยเฉพาะกับเพศเดียวกัน เมื่อมีอายุได้ สิบปี หรือบางครั้งก่อนหน้านั้น อันเป็นอายุซึ่งจอห์นแห่ง ครีคอสทอมกล่าวว่าควรจะอยู่ในความดูแลของทางโบสถ์และเล่าเรียนจนกว่าจะมีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์ แต่กลุ่มเด็กหนุ่มเหล่านี้จะปลอดภัยจริงหรือ

โดยเฉพาะเด็กผู้ชายเหล่านี้จะต้องออกจากการคุ้มครองของบิดา และเข้าไปอยู่ในถ้ำของพวกนักบวช และอาจจะต้องเจอกับนักบวชที่มีความหิวกระหายทางเพศ จอห์น แห่งครีคอสทอมได้ตักเตือนว่าไม่ควรให้เด็กชายไว้ผมยาวแบบผู้หญิง เพราะจะทำให้เด็กชายมีลักษณะคล้ายกับเด็กหญิง และจะทำให้เป็นที่สนใจของชายอายุมากกกว่า  แต่จากคำกล่าวของจอห์นได้แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันได้เป็นที่ยอมรับกันอย่างทั่วไป

โดยในปี ค.ศ. 390 ภายหลังจากที่มหาอาณาจักรโรมันได้กลายเป็นอาณาจักรสำหรับชาวคริสต์โดยสมบูรณ์ในสมัยจักรพรรดิ ธิโอโอเสียส (Theodosius)  ทางรัฐบาลกลางก็ได้เริ่มออกกฎหมายจำกัดคนรักเพศเดียวกัน ดังเช่น การห้ามขายผู้ชายไปเป็นโสเภณี รวมถึงกฎหมายห้ามบูชาเทพเจ้าแพเกิน (Pagan) นอกจากนี้ในช่วงนี้ความสัมพันธ์ของคนรักเพศเดียวกันก็ยังถูกปรับเปลี่ยนจากความชื่นชอบส่วนตัวกลายเป็นเรื่องศีลธรรม และมันยังถูกจัดประเภทเป็น “ความปรารถนา” ไม่ไช่ “ความรัก”

สถานภาพทางกฎหมายของบุคคลที่มีความรักในเพศเดียวกันไม่ได้ถูกต่อต้านอย่างเป็นทางการจนถึงศตวรรษที่ 6 แต่ก็เริ่มปรากฏเค้าลางของวิธีคิดแบบนี้ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 4 แต่ในระดับประชาชนทั่วไปความคิดนี้ก็ยังไม่ได้ก่อรูปขึ้นตามที่ผู้นำทางศาสนาเริ่มหวาดกลัวคนที่เป็นคนรักเพศเดียวกัน ปัญหาของชาวคริสเตียนในระยะเริ่มต้นคือการยอมรับปัญหาทางคุณธรรมว่าด้วยการยอมรับการแต่งตั้งชาวคริสต์จากรัฐบาลเป็น “พวกมรณะสักขี” (martyrdom) หรือการรับบุตรบุญธรรมจากพวกแพเกิน  แต่อย่างไรก็ตามกระแสการต่อต้านคนรักเพศเดียวกันของศาสนาคริสต์มีต้นกำเนิดมาจากความคิดในแบบ “สโตอิค” (Stoicism) แนวความคิดของสโตอิคจะเชื่อในเรื่องของ  “ธรรมชาติ” โดยเฉพาะธรรมชาติของเพศก็คือการสืบพันธุ์ 

นักเขียนคริสเตียนท่านอื่นดังเช่น ลัคตินัส (Lactanius) ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์แบบperderastic ( คือความสัมพันธ์แบบเพศเดียวกันแต่ต่างอายุ) ว่าเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง ส่วนลิบาเนียส (Libanius) กล่าวว่าพบความสัมพันธ์แบบเพศpederastyอย่างดาษดื่นในแอนติออค (Antioch) และเขาได้กล่าวว่าความสัมพันธ์ในแบบเพศเดียวกันได้ทำให้เขาตกเป็นทาสรัก เด็กหนุ่มได้ทำให้เขามีบาดแผลจากความรักซึ่งไม่สามารถที่จะทำให้เติมเต็มได้

ในบรรดาท่ามกลางศาสนาใหม่ๆ ทั้งหมายที่แพร่หลายในช่วงไล่เลี่ยกับการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ศาสนาที่มีความคิดรบกวนศาสนจักรมากที่สุดก็คือศาสนามานีเคียน (Manichacism) โดยเชื่อกันว่าเชนต์ออกัสตีน (St. Augustine) เคยนับถือศาสนานี้เป็นเวลาสิบปี และพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับทางเพศของลัทธิมานีเคียนจะถูกจัดโดย “ผู้เลือก”  ทุกการกำเนิดจาก “ผู้เลือก” ถือเป็นความศักดิ์สิทธิ์ แต่สาระหลักของความศักดิ์สิทธิ์คือน้ำอสุจิ ศาสนามานีเคียนเชื่อในความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย แต่พวกเขาเชื่อว่าการให้กำเนิดลูกหลานของเป็นสิ่งเลว เพราะสิ่งใดๆในโลกล้วนแต่เลวร้าย มีแต่จิตวิญญาณที่มองเห็นได้เท่านั้นที่ดี การร่วมประเวณี ไม่ควรที่จะก่อให้เกิดลูกหลาน ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ความเชื่อนี้ถือเป็นการสนับสนุนความสัมพันธ์แบบคนรักเพศเดียวกัน หากแต่ความเชื่อแบบนี้กลับไม่ได้รับการแพร่หลายในเวลาต่อมา แต่กลับเต็มไปด้วยเรื่องราวความเกลียดชังและรังเกียจคน รักเพศเดียวกันของคริสเตียนในเวลาต่อมา

ผู้ก่อตั้งสำนักสงฆ์ เซนต์บาซิล แห่งนิซซา (St. Basil of  Nyssa) เขียนบันทึกขึ้นในปี 375 ว่าถ้าผู้ชายถูกค้นพบว่ามีความสัมพันธ์ทางเพศกับเด็กผู้ชายจะไม่ได้รับการยอมรับเข้าสู่พิธีศักดิ์สิทธิ์ของชาวคริสต์แม้กระทั่งตายไปแล้ว โทษแบบเดียวกันได้ถูกใช้กับ โสเภณีหญิง และผู้หญิงที่ผิดประเวณี โดยเซนต์บาซิลได้สร้างข้อควรระวัง ดังเช่นบาทหลวงหนุ่มๆ ไม่ควรจะอยู่ใกล้ชิดกันมากเกินไป เมื่อพูดคุยกันก็ควรจะหลบสายตา ไม่ควรจะสัมผัสร่างกายซึ่งกันและกัน เด็กเมื่อแตกเนื้อหนุ่มแล้ว ไม่ควรจะนอนข้างๆ กันถ้ามีชายหนุ่มมากกว่าหนึ่งคนนอนบนเตียง ให้มีชายสูงอายุอีกคนมานอนตรงกลาง

หากแต่ก็มีเรื่องที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เซนต์บาซิลกล่าว นั่นคือนักกวีออสโทรนัส (Ausonius) มีความสัมพันธ์ในเชิงชู้สาวกับเซนต์พอลีนัส (St. Pualinus) บิชอบแห่งโนลา (Nola) พวกเขาได้เขียนจดหมายภายในเนื้อความประกอบไปด้วยถ้อยคำที่แสดงความรักอันอ่อนหวาน ซึ่งเป็นแบบอย่างของวรรณกรรมในโลกยุคกลาง ทั้งคู่คิดว่าความรักของเขาเป็นนิรันดร   และในช่วงชีวิตหน้าก็จะอยู่ในอ้อมกอดซึ่งกันและกันซึ่งความสัมพันธ์ของทั้งคู่นี้ก็เป็นที่ยอมรับกันในหมู่สาธารณชน ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ขัดกับกฎของจักรพรรดิจัสติเนียน และความเป็นพรหมจรรย์ของนักพรต  เมื่อเร็วๆ นี้มีการค้นพบหลักฐานใหม่ซึ่งเป็นการค้นพบพิธีกรรมการครองคู่กันระหว่างชายรักชายในประเพณีคริสเตียน โดยในพิธีจะเป็นการจุดเทียนไข  จับมือขวาซึ่งกันและกัน และมีการจุมพิตกัน ซึ่งประเพณีดังกล่าวได้ใช้มากกกว่าพันปี และสิ้นสุดในศตวรรษที่16 พวกคริสเตียนยอมรับประเพณีนี้แต่ไหนยังไม่ปรากฏชัด แต่ว่ามีคนจำนวนน้อยที่ต่อต้านการแสดงออกของคนรักเพศเดียวกัน

ส่วนในด้านวัฒนธรรมของชาวเคลติก(Celtic) ชาวเคลติกก็เป็นอีกวัฒนธรรมหนึ่งที่มีคุณูปการต่อออารยธรรมของยุโรป โดยอารยธรรมของชาวเคลท์ ได้ครอบคลุมบริเวณยุโรปตะวันตกและเกาะอังกฤษ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ไม่ค่อยมีหลักฐานของชาวเคลติกที่เป็นลายลักษณ์อักษร อาจเนื่องจากว่า ถูกอารยธรรมคริสเตียนปกคลุมในภายหลังและมีกฎของพวกนักบวชเคลติกหรือพวก “ดรูอิสท์”(Druids) ห้ามเขียนความรู้ต่างๆ เราจึงทราบเรื่องราวของชาวเคลท์จากงานเขียนของชาวกรีกและโรมัน

เทพเจ้าของชาวเคลท์ที่ถูกสักการะอยู่ในวิหารมีลักษณะเป็นจิตวิญญาณที่อยู่ในป่า โดยเทพของชาวเคลท์ไม่มีรูปร่างลักษณะเหมือนมนุษย์จึงมีเรื่องเล่าว่าเมื่อผู้นำชาวเคลท์ที่ชื่อเบลนนนัส (Brennus) สามารถเอาชนะเมืองเดลฟี (Delphi) ได้ในปี 279 ก่อนคริสตกาล เขาได้ทำลายรูปปั้นเทพเจ้าต่างๆ ของกรีกพร้อมด้วยเสียงหัวเราะ  แต่ปรากฏว่าในภายหลังพวกเคลท์ก็ได้หยิบยืมเอาลักษณะของเทพเจ้าโรมันมาไว้เป็นของตน ดังเช่นจงอยปากของนก หรือปีกของม้า

ชาวกรีกและชาวโรมันคิดว่าชาวเคลท์มีความแปลกประหลาดทางด้านความสูง ความแข็งแกร่ง มีความเป็นชายสูงและมีผิวสีอ่อน แต่จริงๆ แล้วมันเป็นการตัดสินเฉพาะชาวเคลท์ที่ต่อสู้กับชาวโรมันในสมรภูมิ โดยในสังคมนักรบชั้นสูงของชาวเคลท์ได้มีผู้ชายอยู่เป็นคู่ๆ อย่างกว้างขวาง โดยอริสโตเติ้ลได้กล่าวถึงใน “Politics” ว่าชาวเคลท์ยกย่องความรักระหว่างชายกับชาย 

ในการแสดงกิริยาของผู้ชายที่โตแล้ว ไดโอโดรัสได้พบความจริงที่แปลกประหลาดว่า กลุ่มนักรบยอมให้ตนเองเล่นบทของผู้หญิงในการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนโรมันยากที่จะทำความเข้าใจ

โพลิเบียส (Polybius, 200-118 B.C.) นักประวัติศาสตร์กรีก ผู้ซึ่งเขียนประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับความรุ่งเรืองของชาวโรมันไว้มากมาย ได้อธิบายถึงการศึกระหว่างชาวเคลท์และชาวโรมัน ในปี 225ก่อนคริสตกาล ชาวเคลท์ออกเดินทัพไปยังโรมแต่ถูกขัดขวางด้วยกองทัพโรมัน 2 กองทัพ โดยมีกลุ่ม     กาเซ็ตเต้ (Gaesatae) ซึ่งเป็นกองทัพผู้เชียวชาญของชาวเคลท์ พวกเขาจะต่อสู้โดยร่างกายเปลือยเปล่า ด้วยเหตุผลทางอภิปรัชญา โดยพวกเขาเชื่อว่าร่างกายของเขาจะแทรกซึมเข้าสู่พลังของธรรมชาติ โดยโพลืเบียสเขียนว่า

พวกเขาอยู่แนวหน้าในกองทัพเปลือยกาย ไม่สวมใส่อะไรนอกจากอาวุธ ความเคลื่อนไหวในแนวหน้าของนักรบที่เปลือยกายเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสะพรึงกลัว โดยพวกเขาทั้งหมดมีร่างกายกำยำ และผู้นำกองทัพก็มักจะใส่สร้อยและสร้อยข้อมือทอง สายตาที่จ้องมองมาของพวกเขาก็เพียงพอแล้วที่จะกระตุ้นให้เกิดความกลัวในหมู่ชาวโรมัน”

พิจารณาว่าชาวโรมันมีความไม่พอใจต่อการเปลือยกาย ซึ่งตรงข้ามกับวัฒนธรรมกรีกที่หลงรักในเรือนร่างของผู้ชาย มีผู้คาดการณ์คนหนึ่งกล่าวว่า แม้ว่าพวกเขาจะไม่ชอบ การเปลือยกาย เพราะการเปลือยกายในวัฒนธรรมของชาวโรมันเท่ากับคนป่าเถื่อน ในทางจิตวิทยา ความกลัวและในทางกามารมณ์ ซึ่งได้ผสมผสานกลายเป็นความรัก ความกลัวและความปรารถนา ซึ่งเป็นที่ประหลาดใจอย่างมาก ที่ในโลกโบราณจะมีตัวอย่างจำนวนมากของนักรบ ที่ผูกพันกันด้วยความรักระหว่างชาย

เมื่อชาวเคลท์ได้เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเกาะอังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล และมาตั้งอาณานิคมราวปี 250 ก่อนคริสตกาล โดยในขณะนั้นได้มีเรื่องเล่าพื้นบ้านและเนื้อเพลงของชาวไอร์แลนด์เกี่ยวกับความรักระหว่างนักรบซึ่งมีอำนาจในการผูกพันอารมณ์เข้าไว้ด้วยกัน  ซึ่งเราไม่ควรจะลืมว่า มีเรื่องเล่าเรื่องแรกเกี่ยวกับพระเจ้าอาเธอร์ (Arthur) และบรรดาอัศวินของเขาเกิดขึ้นมาจากเทพปกรณัมของเคลติก และถูกนำมาเพิ่มเติมในช่วงของยุคกลาง บางทีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างกษัตริย์อาเธอร์และบรรดาอัศวิน อาจจะมีลักษณะเป็นอุดมคติ ซึ่งเป็นลักษณะของความเป็นเพื่อนที่ดำรงอยู่ในสังคมเคลติก

สังคมของชาวเคลติก ได้แบ่งออกเป็นพวกนักบวช คือพวก ดรูอิส (Druids) ซึ่งถูกเลือกตั้งมาจากชนชั้นสูง ผู้ซึ่งเป็นชนชั้นนักรบ และภายใต้พวกเขาก็ยังมี ชาวนาและลูกจ้างในไร่ ซึ่งเป็นสังคมชายเป็นใหญ่ ผู้หญิงเป็นสมบัติของผู้ชาย เป็นของพ่อก่อนแต่งงานเป็นของสามีหลังแต่งงาน และเป็นของลูกชายหลังจากที่เป็นแม่หม้าย ในสังคมเวลส์ ผู้ปกป้องผู้หญิง จะได้รับการชำระเงินเป็นเครื่องหมายว่า เขาได้เป็นผู้ปกป้องการแต่งงานของเธอ ในกฎหมายไอริช ได้แบ่งประเภทผู้หญิงออกเป็น ทาส ชาวต่างชาติ ผู้โง่ทึบ ผู้ซึ่งไม่สามารถจะซื้อหรือขายได้ การแต่งงานเป็นสิ่งที่ถูกจัดหาระหว่างครอบครัว โดยเป็นพันธมิตรระหว่างกันเพื่อที่จะควบคุมทรัพย์สิน พรหมจารีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หญิงที่จะแต่งงาน และเธอถูกคาดหวังให้ซื่อสัตย์ต่อคนรัก

บรรณานุกรม
Boswell, John (1986) Christianity, Social Tolerance and  Homosexuality, (Chicago: University of Chicago Press). P. 120.
Spenser, Collin (1996) Homosexuality : a History, London: Fourth, p. 86.

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า