fbpx

3 เคล็ดลับสำหรับ Gen Z ที่ชอบเปลี่ยนงานบ่อย 

Gen Z ได้ชื่อว่า เป็นกลุ่มที่มีอัตราการเปลี่ยนงานบ่อยกว่าคนรุ่นอื่นๆ ซึ่งอาจมีปัจจัยมาจากวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่าตนเองต้องการอะไรจากงานที่ทำ และความคาดหวังที่มีต่อนายจ้าง รวมทั้งความพยายามดิ้นรนเพื่อให้สามารถทำงานในฝันของตัวเอง

กลุ่มคน Gen Z คือกลุ่มคนที่เกิดตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา มีลักษณะทั่วไปคือ เป็นกลุ่มคนที่ต้องการตามหาความหมายของชีวิตมากกว่าเจนอื่นๆ และด้วยความที่อายุยังน้อย การเปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ เพื่อให้เจองานที่ถูกใจอาจจะดูเป็นเรื่องธรรมดา เช่นเดียวกับ Gen Y ที่ก็ใช้เวลาเปลี่ยนงานอยู่นานเช่นกันกว่าจะลงตัว

ข้อมูลจากบริษัทที่ปรึกษา Oliver Wyman พบว่า Gen Z มีแนวโน้มมากกว่าเจนอื่นถึง 75% ที่จะต้องการงานที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับคุณค่าของตัวเอง

แม้ว่าการได้ทำงานในองค์กรที่มองเห็นคุณค่าของคนหรือมีคุณค่าตรงกับคนทำงานจะเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงาน แต่การที่จะได้มาซึ่งงานในฝันนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และนี่คือ 3 เคล็ดลับสำหรับ Gen Z ที่จะช่วยให้คนกลุ่มนี้ได้ทำงานตรงตามที่ฝัน

1. ต้องรู้จักตัวเองก่อน  

การรู้จักตัวเองฟังเหมือนง่าย แต่เอาเข้าจริงมันคือสิ่งที่ยากที่สุดเลย เพราะคนเรามักเปลี่ยนแปลงความคิดของตัวเองอยู่ตลอดเวลาและทุกช่วงชีวิต  ดังนั้น ถ้าเรากำลังหางานในฝันอยู่ล่ะก็  ให้สละเวลาสักนิด ลองคิดใคร่ครวญ แล้วเขียนลงไปว่า เราคือใคร มีคุณค่าอย่างไรบ้าง  

2. บอกให้โลกรู้ว่าเราคือใคร

วิธีการสื่อสารให้ชาวโลกรู้ว่า เราคือใคร มีคุณค่าอย่างไร ก็คือการเขียนโพรไฟล์ของตัวเองลงใน LinkedIn เป็นการโฆษณาตัวเอง เหมือนเราเขียนสรรพคุณตัวเองลงในเว็บหาคู่นั่นแหละ แต่ควรใช้ภาษาให้เหมาะสมกับโลกของการทำงาน เขียนประวัติตัวเอง เพื่อช่วยให้คนที่เข้ามาดูเข้าใจว่า คุณคือใคร และอะไรที่คุณคิดว่าสำคัญในชีวิต ใส่ลงไปด้วยว่ามีความสนใจในเรื่องอะไร ประสบการณ์การเป็นอาสาสมัคร และระบุเรื่องราวที่คิดว่าสำคัญต่อตัวเอง 

และหากคุณกำลังไล่ล่าหางานอยู่ ก็ให้เขียนคุณค่าของตัวเองใส่ลงไปในเรซูเม่ หรือจดหมายแนะนำตัวด้วย

การเขียนโฆษณาสรรพคุณ หรือ คุณค่าของตัวเองอาจจะฟังดูงี่เง่า แต่มันคือเรื่องจำเป็น เพราะการเขียนประวัติลงใน LinkedIn แล้วอ้างถึงประสบการณ์ที่เคยเป็นอาสาสมัคร หรือคุณค่าที่คุณยึดถือ ก็จะสร้างความแตกต่าง และทำให้เราโดดเด่นยิ่งขึ้น

และเมื่อได้เข้าสัมภาษณ์งานแล้ว ก็หยิบเอาประเด็นเรื่องคุณค่าและประสบการณ์นี้ไปเป็นหัวข้อในการพูดคุย สิ่งสำคัญก็คือ เรื่องราวทุกอย่างที่เขียนต้องเปิดเผยและเป็นความจริง ยิ่งเราเปิดเผยเรื่องราวของตัวเองมากเท่าไร ก็มีแนวโน้มที่เราจะเจอเจ้านายที่เข้ากันได้กับเรามากเท่านั้น

3. ถามคำถามที่ถูกต้อง

ขั้นตอนสุดท้ายก็คือ เราต้องรู้จักบริษัทที่เรากำลังจะเข้าไปทำงานด้วย ซึ่งบางทีก็ต้องอาศัยการสืบเสาะเล็กน้อย อาจหาข้อมูลจากในเว็บไซต์ ถามเพื่อนที่ทำงานอยู่ในบริษัทนั้นว่า เป็นอย่างไรบ้าง ถ้าไม่มีเพื่อนอยู่บริษัทนั้นเลย ก็ให้ใช้วิธีหาข้อมูลจาก LinkedIn หรือหาเพื่อนที่เคยเรียนจบจากที่เดียวกัน แล้วถามเขาว่า ทำงานที่บริษัทนี้แล้วเป็นอย่างไร 

ระหว่างขั้นตอนการสัมภาษณ์  ให้ถามคำถามที่จะช่วยให้คุณดูเหมือนว่า ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นแล้ว หรือเป็นคำถามเพื่อช่วยให้เราเก็บเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา เช่น

  • วัฒนธรรมองค์กรตรงส่วนนี้มาจากที่ไหน ? 
  • วัฒนธรรมองค์กรมีอิทธิพลต่อกระบวนการจ้างงานอย่างไร? 
  • หลักการขององค์กรคืออะไร? 
  • นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์ที่ทำอยู่แล้ว  มีปัจจัยอะไรอีกที่ทำให้องค์กรยังคงอยู่ได้ ? 
  • องค์กรมีวิธีฝึกพนักงานใหม่อย่างไร ? 
  • องค์กรมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง เมื่อเทียบกับห้าปีที่แล้ว ? 

การที่คุณอยากได้งานหรือนายจ้างที่ตรงกับคุณค่าของตัวเอง อาจไม่ได้เกิดจากปาฏิหาริย์ แต่ประสบการณ์ชีวิตจะเป็นตัวบอกว่า งานที่ทำอยู่ดีต่อใจหรือไม่  และจะช่วยกลั่นกรองให้เราหางานที่ทำแล้วมีความสุขในระยะยาวได้เร็วขึ้นด้วย

ที่มา : inc

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า