fbpx

ผลสำรวจชี้ “การเลื่อนตำแหน่ง” ไม่ช่วยแก้ปัญหาพนักงานลาออก

ผลสำรวจของ LinkedIn แพลตฟอร์มจ้างงานชื่อดังพบว่า แม้เทรนด์โยกย้ายตำแหน่ง หรือ เลื่อนตำแหน่ง ภายในองค์กรจะมีมากขึ้นในบางอุตสาหกรรม เพื่อดึงพนักงานให้อยู่กับองค์กรต่อไป แต่พนักงานส่วนใหญ่กลับมองว่า วิธีนี้ใช้กับพวกเขาไม่ได้ผล  

ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของพนักงานใน 12 ประเทศ พบว่า พนักงานมองว่า การโยกย้ายตำแหน่งภายในองค์กรไม่ใช่ทางเลือกในการแก้ปัญหาหน้าที่การงานของพวกเขา  

การสำรวจนี้จัดทำขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2022 ถึง มีนาคม 2023 เป็นการสำรวจความเห็นของพนักงานกว่า 56,000 คน ซึ่งเป็นสมาชิกของแพลตฟอร์ม Linkedln และเป็นพนักงานที่มาจาก 12 ประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลก ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี บราซิล ญี่ปุ่น  สเปน เยอรมนี เนเธอร์แลนด์  อังกฤษ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา แคนาดา และอินเดีย  

คำถามต่อมาก็คือ แล้วใครกันล่ะที่มักได้รับโอกาสย้ายตำแหน่งภายในองค์กรมากที่สุด คำตอบก็คือ นายจ้างระดับหัวหน้างานและพนักงานเจน X    

แพลตฟอร์ม Linkedln ได้สำรวจความคิดเห็นของสมาชิกที่ถูกย้ายไปอยู่ตำแหน่งใหม่ในบริษัทเดิม ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า นายจ้างในระดับหัวหน้างานมีแนวโน้มมากกว่าถึงสองเท่าที่จะได้รับโอกาสย้ายไปรับตำแหน่งใหม่ในองค์กร  ส่วนเจน X มีแนวโน้มจะได้รับการย้ายตำแหน่งมากที่สุด ตามมาด้วยเจน Y และเจน Z  ขณะที่พนักงานในรุ่นเบบี้บูมเมอร์ มีแนวโน้มที่จะถูกย้ายตำแหน่งน้อยที่สุด

ผู้เชี่ยวชาญมองว่า การที่พนักงานเลือกที่จะทำงานในบริษัทเดิมต่อไป แต่ย้ายไปอยู่ตำแหน่งใหม่ หรือ ลาออกหางานใหม่ไปเลยนั้น ขึ้นอยู่กับสองปัจจัยด้วยกัน คือ งานที่พวกเขาอยากได้นั้น หาง่ายหรือไม่ และพวกเขาจะได้ขึ้นเงินเดือนมากน้อยแค่ไหน ถ้ารับตำแหน่งใหม่ในบริษัทเดิม  

และถึงแม้พนักงานเลือกที่จะรับตำแหน่งใหม่ในบริษัทเดิม แต่พวกเขาก็อาจท้อใจไปก่อนกับกระบวนการจัดจ้างภายใน ที่บ่อยครั้งมักล่าช้า  และทำให้พวกเขายากที่จะแสดงทักษะพิเศษที่จำเป็นต่องานออกมาได้  นอกเหนือจากนั้น แม้จะถูกย้ายไปรับตำแหน่งใหม่ แต่บริษัทก็มักจะไม่เพิ่มค่าจ้างให้อยู่ในระดับเดียวกับการจัดจ้างคนนอกมารับตำแหน่งในแบบเดียวกัน  

นอกจากนี้ ตลาดแรงงานทั่วไปยังมักให้ความสำคัญกับประสบการณ์ในการทำงาน มากกว่าทักษะความสามารถที่แท้จริง ดังนั้น กลุ่มคนที่มักจะได้รับโอกาสในการโยกย้ายตำแหน่ง หรือเลื่อนตำแหน่งภายในองค์กร จึงมักเป็นบุคคลระดับหัวหน้างาน และกลุ่มเจน X ซึ่งล้วนแต่เป็นกลุ่มที่ทำงานมายาวนาน ทั้งที่ในความเป็นจริง เราควรให้ความสำคัญกับทักษะความสามารถมากกว่าจำนวนปีที่ทำงาน    

เราจำเป็นต้องให้พนักงานพิสูจน์ความสามารถของตนเอง และให้ค่าจ้างตามทักษะความสามารถที่แท้จริง ถ้าปรับได้ตามนี้ การโยกย้ายตำแหน่งภายในองค์กร ก็จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยสร้างเสริมศักยภาพขององค์กรได้

ที่มา : linkedin

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า