fbpx

สภาวะปลอดภัย Safe Zone สร้างอย่างไรให้ปลอดภัยจริงๆ 

Partnership with Thailand Talks 2022


เพียงแค่เราคิดว่า ใครสักคนอาจจะไม่เป็น ไม่ทำ อย่างที่เราคิด แค่นี้จิตใจมันก็สั่นคลอน กลายเป็นความรู้สึกเสียใจ ผิดหวัง ทำอะไรไม่ได้ ไม่อยากทำอะไร จนกว่าเราจะมั่นใจได้ว่าใครคนนั้นจะเป็น จะทำอย่างที่เราต้องการให้เป็น 

เพียงแค่เราคิดว่า ตั้งใจเรียนมาตลอดทั้งปี เร็วๆนี้จะต้องสอบวัดผล ความรู้สึกไม่มั่นคง ไม่มั่นใจก็เกิดขึ้น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ไปจับหนังสือมาอ่านอีกหลายรอบ ก็เข้าใจนะ แต่กลัวสอบไม่ผ่าน เพราะยังไม่ได้สอบ

เพียงแค่เราคิดว่า ทำไมเราถึงไม่เหมือนคนอื่น ทำไมคนอื่นมีแบบนั้น ทำไมคนอื่นได้แบบนี้ ในขณะที่ฉันมีแต่สิ่งที่แตกต่างไปจากคนอื่น คิดจนหัวจะระเบิดก็ไม่เกิดความเข้าใจ 

ทั้งหมดที่หล่าวมาข้างต้นนี้ นี่ก็คือความไม่ปลอดภัย ที่ต้องการความปลอดภัย

รู้จักพื้นที่ปลอดภัย Safe Zone 

หากจะถามว่าพื้นที่ปลอดภัย คืออะไร หลายๆคนอาจจะนึกถึงพื้นที่ทางกายภาพ สถานที่ อาคาร บ้านเรือน ฯลฯ สำหรับผู้เขียนให้นิยามความหมายกับ พื้นที่ในการใช้ชีวิตได้อย่างเป็นสุข สามารถแสดงออกซึ่งความคิด ความเชื่อ พฤติกรรม โดยไม่ถูกทำร้ายไม่ว่าจะเป็นร่างกายหรือจิตใจ ไม่เกิดความรู้สึกอับอายขายหน้า ไม่ถูกตัดสิน ไม่ถูกเปรียบเทียบหรือลดคุณค่า นี่คือความปลอดภัย หรือ Safe Zone 

เพราะฉนั้น พื้นที่ปลอดภัย หรือ Safe Zone ไม่ใช่สถานที่ แต่เป็นสภาวะที่คุ้นเคย เกิดความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย จากการถูกตัดสิน ปลอดภัยจากการกล่าวโทษตัวเอง 

ความรู้สึกปลอดภัยจะเกิดได้จากความเข้าใจว่าตนเอง เข้าใจผู้อื่น เข้าใจในการเป็นคนธรรมดา ที่ท้อได้ โกรธได้ ล้มเหลวได้ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบท เช่น  บุคคล สภาพแวดล้อม 

จะเห็นได้ว่า Basic ของ Safe Zone มักมีทั้งปัจจัยภายในและภายนอกตนเอง เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ เปรียบดังเช่นการเดินทางไปยังที่ใดสักที่ ก่อนการไปถึงสถานที่นั้นๆเราไม่รู้ได้เลยว่า ความจริงที่เกิดขึ้นจะปลอดภัยต่อเรามากน้อยแค่ไหน จนเมื่อไปถึงแล้วเราจึงจะได้รู้ว่าปลอดภัย อบอุ่น เป็นสุข

อะไรบ้างที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย 

จะเกิดอะไรขึ้นหากในสังคมที่เราใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ต้องดำเนินชีวิตที่เป็นไปด้วยความหวาดกลัว ต้องระแวง คอยระวัง ว่าจะถูกทำร้าย ถูกตัดสิน ถูกประเมินค่า แน่นอนว่านั่นคือความรู้สึกไม่ปลอดภัย

ความรู้สึกไม่ปลอดภัย จริงๆแล้วก็คือหนึ่งในความปกติที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกคน สิ่งที่ทำให้คนเรารู้สึกไม่ปลอดภัยก็คือ สภาวะจมดิ่ง ไม่มั่นคงทางความรู้สึก ยิ่งหากไปพบเจอเรื่องราวของการตัดสินประเมินคุณค่า การเปรียบเทียบคุณงามความดี รูปร่างหน้าตา ฐานะ การศึกษา ยิ่งทำให้เสียความมั่นใจในการดำเนินชีวิตเข้าไปอีก 

เมื่อความรู้สึกเกิดไม่ปลอดภัย ขึ้นได้จากตัวเราเอง คงจะเป็นเรื่องยากหากจะต้องถามกับผู้คนที่มีความหลากหลาย ว่าใครไม่ปลอดภัยกับอะไร แต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือ เปลี่ยนจากการถามคนอื่นกลับมาเป็นการถามตัวเองว่า อะไรบ้างที่ทำให้เราเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย สำหรับผู้เขียนแล้วสิ่งที่ไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นได้จากตัวเราเองก่อนเป็นอันดับแรก 

เพราะฉนั้นการทำความรู้จักและเข้าใจตนเองว่ามีความเปราะบาง อ่อนไหว ไม่มั่นคงกับสิ่งใด เป็นสิ่งที่จะต้องเท่าทันก่อน การนึกถึงคนอื่นเป็นสิ่งที่เราพอจะคาดเดาเอาได้ว่าเราจะทำให้คนอื่นๆในสังคมได้รับความรู้สึกปลอดภัยได้อย่างไร 

พื้นที่ปลอดภัยใครเป็นคนสร้าง

ทั้งตัวเราเองและสมาชิกทุกคนที่อยู่ในสังคมเดียวกันนั่นแหละครับ ที่จะเป็นผู้สร้างพื้นที่ปลอดภัย แบ่งออกเป็นความรับผิดชอบได้สองส่วน คือ รับผิดชอบต่อตนเอง และ รับผิดชอบต่อสังคม

สมาชิกในสังคมโดยรับรู้ร่วมซึ่งกันและกันว่าในสังคมมีใครอยู่บ้าง ใครในที่นี้หมายถึง ใครเพศอะไร วัยไหน ประกอบอาชีพอะไร มีความคิดความเชื่อค่านิยมในเรื่องของอะไร มีความเปราะบาง จุดอ่อน จุดแข็งในด้านใด และทั้งหมดทั้งมวลมีธรรมชาติของความหลากหลายที่จะต้องยอมรับตนเอง ยอมรับความหลากหลายซึ่งกันและกัน

เพราะเมื่อเราต่างรู้และเข้าใจซึ่งกันและกัน มันจะนำไปสู่การปกป้องคุ้มครองดูแลซึ่งกันและกันให้เกียรติซึ่งกันและกัน คอยระวังภัยให้กันและกันให้ความสำคัญกับสมาชิกทุกคน เพราะในสังคมมนุษย์เป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันเป็นสังคม

แต่ก็มีข้อควรระวังจากพื้นที่ปลอดภัย หรือ Safe Zone เพราะเมื่อเรามีความคุ้นเคยกับพื้นที่ปลอดภัย ก็อาจจะเกิดความไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่กล้าจะเผชิญกับปัญหา ที่เกิดจากการอยู่ในสังคมได้เช่นกัน

เราจะสร้างพื้นที่ปลอดภัย Safe Zone ได้อย่างไร 

  1. เรียนรู้และทำความเข้าใจกับธรรมชาติของมนุษย์ ความรู้สึกของตนเอง พึ่งพาตนเองให้ได้ มากกว่าที่จะนึกถึงการได้รับการคาดหวัง/ช่วยหลือจากคนอื่น ทั้งนี้การรอความหวังจากคนอื่นไม่ใช่เรื่องแย่ แต่ต้องเข้าใจไว้ว่านี่เป็นเพียงความคาดหวังจากปัจจัยภายนอก ที่ตัวเราไม่อาจควบคุมได้ 
  2. ทำให้ร่างกายและจิตใจที่มีสภาวะปกติ กินอื่ม นอนหลับ ไม่ใช้สารกระตุ้นที่ทำให้เกิดความไม่ปกติ เพราะเมื่อร่างกายและจิตใจประสานสัมพันธ์กัน ความรู้สึกก็จะมั่นคงได้เช่นกัน 
  3. ระวังการจมดิ่งของอารมณ์ ระวังความเชื่อที่ติดลบกับตัวเอง กับคนอื่น กับสังคม เพราะความจริง ความคิด อารมณ์ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อไรที่รู้สึกว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แสดงว่าเกิดความไม่ปกติ ไม่ควรเชื่อตนเอง
  4. หาผู้ช่วย ที่จะทำห้เรารู้จักและเข้าใจตนเอง เข้าใจโลก  เรียนรู้ความปกติในแบบของผู้คนอื่นๆ 
  5. สร้างค่านิยมที่เคารพความแตกต่าง และทำให้สังคมเห็นว่าค่านิยมนั้นมันทำให้สังคมรู้สึกถึงความปลอดภัย 
  6. ฝึกที่จะยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบที่เกิดขึ้นกับตนเอง และกับคนอื่นๆ เมื่อเรายอมรับความไม่สมบูรณ์แบบให้เป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆก็ต้องพบเจอ จะไม่รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ ในทางกลับกัน ก็เป็นที่มาของการเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้อื่นๆได้เช่นกัน

หลายครั้งในชีวิตที่ผู้เขียนเผชิญกับปัญหาความไม่มั่นคงทางความรู้สึก รู้สึกไม่ปลดภัย รู้สึกสิ้นหวังชีวิตเป็นอะไรที่มาถึงทางตัน สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนมักจะทำคือ มองย้อยกลับไปเห็นเรื่องราวในอดีต มันมีเรื่องราวที่เราคิดว่าเป็นที่สุดแห่งชีวิต เช่น ไม่ได้อ่านหนังสือ กลัวสอบตก อ้าวแต่พอสอบจริงๆเราก็สอบผ่าน เคยโกหกพ่อแม่กลัวเขารู้ว่าเรามีแฟน อ้าว แต่พอเข้ารู้เขาก็ไม่ได้ตีด่าทอหรือฆ่าเรานี่นา เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับชีวิตบางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรหรอก แค่เราไม่เคยพบ ไม่เคยเจอ เราก็ได้แต่คาดเดา หรือเอาเรื่องราวความรู้สึกที่คนอื่นเคยเล่าให้เราฟังมาเป็นเรื่องราวของตนเองแล้วคิดว่าจะเหมือนกับเขาแค่นั้นเอง 

อย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้นครับว่า พื้นที่ปลอดภัย เหมือนสถานที่ที่เราจะไปให้ถึง เมื่อยังไม่ออกเดินทาง ยังไปไม่ถึง ยังอยู่ในความคิดความกังวล สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ความจริง ความจริงคือการไปถึง 

ท้ายที่สุดหากเรายังจะคาดหวังถึงพื้นที่ปลอดภัย ที่มีความปลอดภัยจริงๆ นอกจากตัวเราสร้างเพื่อตนเองแล้วหวัว่าคนอื่นจะสร้างให้กับเรา อันนี้คงเป็นไปได้ยาก เพราะแม้แต่ตัวเราเองก็อาจจะมีบางจังหวะชีวิตที่เผลอสร้างพื้นที่ไม่ปลอดภัยสำหรับตนเอง ยิ่งในสภาวะที่ร่างกายจิตใจเหนื่อยล้า ปัญหาบางอย่างที่เคยผ่านมาได้หลายสิบครั้งก็เกิดใหญ่โตมโหฬารจนตัดสินใจปลิดชีพตนเอง แต่หลายคน หลายครั้งเราจะเห็นว่าสามารถผ่านมันไปได้ เริ่มต้นใหม่ได้เสมอ  

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า