fbpx

“อยุธยา” สมัย “พระนารายณ์” เมืองหลากหลายสไตล์ รุ่งเรืองการค้า มากกว่าสงครามและชาตินิยม

ภาพความทรงจำของอยุธยาล้วนถูกนำมาสร้างต่อผลิตซ้ำอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่พยายามสร้างเมืองแบบฉบับอยุธยา เช่น การสร้างแม่น้ำล้อมรอบ มีปราสาทราชวังตามคติกษัตริย์อยุธยา หรือการมีชื่อสร้อยด้วยคำว่า “มหินทรา อยุธยามหาดิลก” จนกระทั่งยุคปัจจุบันการผลิตซ้ำละคร เช่นเรื่องบุพเพสันนิวาส พรหมลิขิต หรืองานนิทรรศการอย่างงานรำลึกถึงการค้าช้างของอยุธยาที่จัดขึ้นที่มิวเซียมสยาม และมักเล่าถึงยุคพระนารายณ์ (ค.ศ.1656-1688) ที่สันนิษฐานได้ว่าเป็นยุคที่ชาวต่างชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก และมีหลักฐานจากตะวันตกมากมายให้ศึกษา เรียกว่าเป็นยุคที่อยุธยาเป็นที่กล่าวขานและทั่วโลกรู้จัก

The Modernist ขอพาเพื่อนๆ ย้อนชมนานาชาติสมัยพระนารายณ์ขึ้นครองราชย์มีความเป็นมาอย่างไรอยู่ในยุคนั้น ตีคู่และมีความสัมพันธ์กับอยุธยาอย่างไร และขับเคลื่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติสมัยนั้นอย่างไร จะมีความสำคัญและรู้จักมากน้อยแค่ไหน ขอพาเพื่อนๆ ไปย้อนชมกัน

มีอะไรให้อ่านบ้างในบทความนี้?

จีน

ตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิซุ่นจื้อ (ค.ศ.1643 – 1661) ของจีน ซึ่งเป็นยุคที่ราชวงศ์ชิงของแมนจูกรีธาทัพเข้าปกครองแผ่นดินของชาวจีนสมัยราชวงศ์หมิง ทำให้ชาวจีนฮั่นอพยพออกนอกประเทศ หนึ่งในจุดหมายปลายทางก็คืออยุธยา ในยุคนี้การเมืองจีนไม่มีเสถียรภาพมากนัก รัฐบาลแมนจูสั่งห้ามคนจีนออกนอกประเทศ ทำให้การเดินเรือของจีนไม่เจริญรุ่งเรืองเหมือนในอดีต ทำให้การค้าของอยุธยาและรัฐโดยรอบจีนเข้ามาแทนที่จีนและรุ่งเรืองอย่างมากในยุคสมัยนั้น 

อินเดีย

ตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิชาห์ชะฮัน (ค.ศ.1627 – 1658) แห่งราชวงศ์โมกุล สมัยนี้การค้ากับอยุธยาและโมกุลรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จากการแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น ผ้า (จากโมกุลและดินแดนอื่นๆ ในอินเดีย) ช้าง (จากอยุธยา) เพราะมีออกพระศรีเนาวรัตน์ (อกามะหะหมัด) เจ้ากรมท่าขวา และอัครมหาเสนาบดีที่เป็นมุสลิมเหมือนกันคอยดูแลการค้าด้านตะวันตกซึ่งเกี่ยวข้องกับอินเดีย เปอร์เซีย และแขกอื่นๆ ขณะที่หัวเมืองภาคใต้ก็ยังมีเจ้าเมืองที่เป็นแขกเช่นเดียวกัน ทำให้การค้ากับทางอินเดียรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในสมัยนี้

ญี่ปุ่น

ตรงกับสมัยโชกุนโทกุงาวะอิเอ็ตสึนะ (ค.ศ.1651 – 1680) เป็นยุคที่ญี่ปุ่นปิดประเทศ ทำให้อยุธยาไม่สามารถค้าขายกับญี่ปุ่นได้โดยตรง รัฐบาลโชกุนเปิดให้พ่อค้าจีนและดัตช์ทำการค้าที่โอกินาว่า  (นางาซากิ) เท่านั้น ทำให้อยุธยาต้องใช้พ่อค้าชาวจีนและญี่ปุ่นในการเดินเรือแทน และสินค้าสำคัญที่ส่งออกคือข้าว หนังกวาง ของป่า ขณะที่อยุธยาสั่งทำดาบจากญี่ปุ่นอีกด้วย

ดัตช์

ตรงกับสมัยของ โยฮัน เดอ วิตต์ (ค.ศ.1650-1672) ดำรงตำแหน่งเป็น Grand Pensionary เทียบเท่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน เป็นสมัยที่การค้าของรัฐในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รุ่งเรืองมาก และสามารถผูกขาดการค้าได้หลากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่นและคาบสมุทรมลายู มีศูนย์กลางอยู่ที่บาตาเวีย (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย) โดยผ่านบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (VOC) เป็นผู้ดูแลการค้า  แต่ก็มีปัญหากับอยุธยา ถึงขนาดนำเรือรบมาปิดท่าเรือ ทำให้พระนารายณ์ต้องดึงฝรั่งเศสมาคานอำนาจดัตช์

นี่เป็นภาพสะท้อนชัดเจนให้เห็นได้ว่า อยุธยาสมัยพระนารายณ์ไม่ได้เป็นรัฐเดี่ยวๆ ปิดประเทศ อยู่โดดเดี่ยว หรือมีความสัมพันธ์กับแค่ฝรั่งเศส แต่กลับมีความสัมพันธ์กับนานาชาติ รวมถึงได้รับผลกระทบจากการเมือง เช่น การอพยพของคนจีน การค้าช้าง เศรษฐกิจจากการค้าขาย และสังคมที่เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมอีกด้วย

จึงกล่าวได้ว่าอยุธยาไม่ใช่สังคมที่โตเดี่ยว ไม่มีสงครามและความเป็นชาตินิยมแบบที่ประวัติศาสตร์ฉบับชาตินิยมปลูกฝัง หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นสังคมแห่งความหลากหลาย เหมาะสมกับประโยคที่กล่าวว่า “อยุธยา สมัยพระนารายณ์ เมืองหลากหลายสไตล์ รุ่งเรืองการค้า มากกว่าสงครามชาตินิยม” ก็ว่าได้

แหล่งอ้างอิง

ศิลปวัฒนธรรม 1 / ศิลปวัฒนธรรม 2 / ศิลปวัฒนธรรม 3 / ศิลปวัฒนธรรม 4 / Blockdit / มติชนสุดสัปดาห์ 1 / มติชนสุดสัปดาห์ 2 /

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า