fbpx

“ฝ่ายค้าน” คือความหวังให้กับพี่น้องประชาชนได้ – ทิม-พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ | Opinion Leader EP.01-1

ประเดิมซีรีส์ใหม่ “Opinion Leader” จาก The Modernist ชวนเข้าสภาฯ พูดคุยกับ “ทิม – พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในบรรยากาศสบาย ๆ พร้อมบทสนทนาที่เข้มข้น ผ่านหลากหลายคำถาม

  • อนาคตประเทศไทย หาก “พล.อ.ประยุทธ์” ยังได้เป็นนายกฯ ต่อ
  • ประเทศไทยพร้อมหรือยังกับการกระจายอำนาจ
  • ระบบอุปถัมภ์-บ้านใหญ่ ที่กำลังกลับมาเรืองอำนาจอีกครั้ง
  • ความหวังและความท้าทายของประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นนับจากนี้

The Modernist : เริ่มคุยปุ๊บ เข้าการเมืองปั๊บ

พิธา : พูดกันอย่างผิวเผินที่สุด ผมคิดว่าคนเบื่อ พูดกันในเชิงการเมืองขึ้นมาหน่อย คนที่เป็นนายกฯ อยากจะกลับมาเป็นนายกฯอีกครับ เขามีวาระแค่ 2 ปี เขาจะเป็นนายกฯ คนละครึ่ง หลังจากที่เป็นนายกฯคนละครึ่งในทำเนียบมานาน แล้วถ้าเกิดเขามาตั้งพรรคใหม่ตอนนี้ ต้องมี สส. ครบ 25 คนถึงจะเป็นแคนดิเดตนายกฯ ได้ ก็หมายความว่าถึงแม้เขาจะทำสำเร็จ เขาก็จะเป็นพรรคขนาดกลางที่มาได้ด้วยการฝืนธรรมชาติจาก สว. แต่ สว. มีวาระแค่ ปีแรก ปีเดียว ปีสองจะเป็นปีที่ฝุ่นตลบที่สุดสำหรับเขา เพราะฉะนั้นแล้ว ดูทิศทางประเทศไทยมันฝากลูกฝากคนไว้กับทหารจำแลง ระบอบประยุทธ์อย่างงี้ไม่ได้ ก็คิดว่าถ้าจะให้เดิมพันสูง และก็ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่มันจับต้องได้ ก็คงต้องเป็นการให้ฝ่ายค้าน ณ ปัจจุบันนี้ ดำเนินการเข้าสู่อำนาจและก็การบริหารประชาชน

The Modernist : ประเทศไทยพร้อมไหม กับการกระจายอำนาจ

พิธา : ตอนนี้ข้อมูลมันเยอะ การเดินทาง ถนนหนทางพร้อม มันก็ต้องกระจายออก เพราะฉะนั้นมันไม่มีทางเลือกอะไร คำถามมันต้องถามกลับว่า สิ่งที่เราเจอในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ ถ้าทุกอย่างมันกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ ถ้าประเทศไทยคือกรุงเทพฯ งบประมาณอยู่ที่นี่ 50% ล็อคดาวน์ที่หนึ่งเศรษฐกิจหายไปทีครึ่งนึง มันโอเคหรือเปล่าที่จะพาไปได้

The Modernist : คิดยังไงกับระบบอุปถัมภ์และบ้านใหญ่

พิธา : เพราะฉะนั้นไอ้ระบบอุปถัมภ์ที่เป็นจุดแข็งของบ้านใหญ่จะโดน Disruption อย่างรุนแรงตรงที่ว่า ไม่ใช่แค่ไปงานศพแล้วจบ ผมไม่ได้ดูถูกอะไรอย่างงั้น แต่แค่บอกว่า มันเป็นระบบๆหนึ่งที่ผมก็ทำ ที่พวกเราก็ทำ แต่มันต้องมากกว่านั้น มันแค่บาร์ขั้นต่ำที่สุดในการใกล้ชิดพี่น้องประชาชน หรือว่าการที่มีอุปถัมภ์ มี downline เหมือนขายตรงของตัวเอง ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำ แต่ว่าในเชิงหัวคะแนน เรียกว่าหัวคะแนนเชิงอุดมการณ์มากกว่า แต่ว่าการที่ เพราะฉะนั้นการกระจายอำนาจจึงเป็นการไปตีความคิดของเขามากที่สุด ว่า “เอ้ย ไอ้โง่ มันต้องเลือกพรรคที่เป็นรัฐบาลสิ ถนนหนทางถึงจะมา”

The Modernist : แล้วเอาด้วยไหม กับบ้านใหญ่

พิธา : วิธีคิดของผมมันต้องเอาชื่อออกก่อน เอาชื่อพรรคออกก่อน เอาชื่อตระกูลนั่นแหล่ะ ออกก่อน และก็เอาเงื่อนไขมาคุยกันก่อน นี่มันไม่ใช่ว่าแบบ ใครมาจากบ้านใหญ่ปุ๊บ เราหยี๋เขาเลย บางทีก็มีลูกหลานที่เก่งๆมาเยอะพอสมควร และก็ไม่เห็นด้วยกับพ่อ รักพ่อก็รัก แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีการทำงานของพ่อ เราก็พร้อมที่จะทลายวิธีการทำงานของพ่อค่อนข้างที่จะชัดเจน เพราะฉะนั้นมันก็ไม่ใช่ว่าแบบ เห็นใครที่นามสกุลแบบนี้มาแล้วก็ปัดเขาทิ้งไปเลย แต่มันคงต้องพูดคุยและมีระบบที่ชัดเจนที่กลั่นกรองว่า จะบ้านใหญ่ บ้านน้อย บ้านเล็กก็มีความเท่าเทียมกัน ในการเข้าสู่กระบวนการการเขียนใบสมัคร การสอบสัมภาษณ์ การลงพื้นที่ การทดสอบ การทำงานด้วยผม ด้วยแกนนำ ด้วยประชาชน แล้วก็พิสูจน์ตัวเองในหลายๆเรื่อง แต่ทั้งหมดทั้งปวงมันต้องมี safety stop ถ้าใครมาจากทหาร ใครเห็นด้วยกับการทำรัฐประหาร ใครมีประวัติยาเสพติด ค้ามนุษย์อะไรพวกนี้ นี่มันก็เป็น safety stop ที่เรียกว่ามันเปิดรับความหลากหลายมากเกินไป เพราะฉะนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าบ้านใหญ่ ไม่บ้านใหญ่ หรือนามสกุลอะไร

The Modernist : คิดว่าอะไรคือความหวังของการเมืองไทย

พิธา : คิดว่าฝ่ายของประเทศไทยตอนนี้เป็นความหวังของประชาชน แต่ถ้าจะให้ใหญ่ไปกว่านั้นเนอะ เพราะทุกคนที่เป็นฝ่ายค้านของประชาชนก็คือผู้แทนราษฎร ความหวังจริงๆ ก็คืออยู่ที่ราษฎร หลายคนที่คิดว่า กูรูการเมืองก็ดี หรือนักวิชาการทางการเมืองก็ดีเขาคิดว่า มันเป็นไปได้ยาก ฉากทัศน์มันน่าจะเป็นลักษณะอย่างงี้ คนที่เป็นอนุรักษ์นิยม ชนชั้นนำก็น่าจะแก้ไขปัญหาได้ เดี๋ยวจะยุบพรรคมั้ง กกต.จะรังแกอย่างนู้นอย่างงี้ จะแตะขัดขา ก็คือสิ่งที่เขาไม่เข้าใจคือ การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวกับนักการเมือง แต่เป็นการเลือกตั้งที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง

The Modernist : ทิม พิธากับการมองเศรษฐกิจ

พิธา : ช่วง 8 ปีนั้นก็เศรษฐกิจก็ยากมาแล้ว พอปี 62 คิดว่าอยู่ปากเหวอยู่แล้ว ตอนนี้นี่คือหลังจากผ่านโควิดมา 2-3 ปีนี้มันสะบักสะบอมมาก ปัญหาของเศรษฐกิจตอนนี้ก็คือ แก่ก่อนรวย มันยากมากที่จะทำอย่างงั้นได้รวมถึงภาวะหลังโควิดที่มีการฟื้นฟูไม่เท่าเทียมกัน คนรวยก็จะรวยขึ้น คนจนก็จะจนลง เป็นเคเซปแบบนี้ (K) ซึ่งตัวเลขที่ผมพูดนะ ถ้ากำไรในตลาดหลักทรัพย์ยัง 3 แสนล้านอยู่เลยนะ และก็พี่น้องเกษตรกร พี่น้องแรงงาน คนที่ถูกกดขี่มากนานก็จะยิ่งลำบาก น้องๆจบใหม่ที่เรียนมหาวิทยาลัยก็จะหางานยากมากขึ้น โครงสร้างเศรษฐกิจก็จะยากมากขึ้น

The Modernist : ความท้าทายของประเทศไทยในอนาคต

พิธา : ความท้าทายในยุคนี้คือการต่อสู้กับเชื้อโรค ต่อสู้กับเศรษฐกิจดิจิตอล รวมถึงข้อเสียที่มาจากดิจิตอลอย่างเช่นพวกนิติสงคราม, IO, Fake News ,Cyber war ที่เกิดขึ้น เวลาเขาจะรบกัน เขาไม่รบกันแบบที่ให้ทหารไปรบกัน ก็ส่งไวรัสเข้า ปตท.สผ. , เข้าแท่นขุดเจาะน้ำมัน , เข้าโรงพยาบาล และก็เรียกค่าไถ่กันไป ฯลฯ ความท้าทายใหม่ๆคือสังคมสูงวัย ว่าจะทำยังไง เพราะคนทำงานมีน้อยกว่าคนที่เกษียณแล้ว แล้วเราต้องดูแลเขา นี่มันเป็นความท้าทายแบบใหม่ๆ

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า