fbpx

คุยกันอย่างไรไม่ให้ทะเลาะกัน เมื่อต่างคนต่างเชื่อคนละแบบ

Partnership with Thailand Talks 2022


หากพูดถึงความคิดเห็นของผู้คนนั้น เอาเข้าจริงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนเป็นอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่าในโลกใบนี้ไม่มีใครที่คิดเหมือนกันหรอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่อ่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง สังคม หรือความคิดเห็นบนข่าวสาร แล้วถ้ายิ่งเป็นคนในครอบครัวแล้วด้วยละก็ ยิ่งมองเห็นต่างกันได้เยอะมากๆ และนั่นอาจจะส่งผลถึงความสัมพันธ์ในครอบครัวเลยก็ว่าได้ ทีนี้ก็มักจะมีคำถามเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ว่า “แล้วเราควรจะคุยอย่างไรดี?”

จากประสบการณ์และการเรียนรู้ของผู้เขียนที่มีครอบครัวเป็นคนเห็นต่างกันค่อนข้างมาก จึงได้เรียนรู้การพูดคุยทั้งในแนวทางที่ถูกและที่ผิดอยู่เสมอๆ วันนี้จึงขอนำบทเรียนจากการเรียนรู้มาเพื่อบอกเล่าเก้าสิบว่าการที่ต้องพูดคุยในเรื่องละเอียดอ่อนเหล่านี้ ที่ต่างคนต่างมีความเห็นไม่ตรงกัน จะต้องมีวิธีการแบบไหนบ้าง?

  • ฟังแบบเปิดใจและไม่ตัดสิน ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไป

ปัญหาสำคัญของการพูดคุยกัน คือการไม่ตัดสินในสิ่งที่เขาต้องการจะพูดคุย ซึ่งส่งผลถึงความเข้าใจที่ผิดเพี้ยน และอาจจะทำให้คู่สนทนาไม่พึงพอใจได้ เขาอาจจะหาว่าเราไม่ฟังเขาถ้าหากเราเกิดแทรกประเด็นที่เขาต้องการที่จะสื่อออกไป ส่งผลทำให้เกิดการผิดใจกันได้อย่างง่ายดาย ฉะนั้นวิธีการสำคัญที่ทำให้การสนทนาราบรื่น ก็คือการที่โยนทุกอย่างทิ้งไปก่อน โยนความเห็นของเราออกไปก่อน และเริ่มฟังคู่สนทนาก่อนว่าเขามีความเห็นอย่างไร ฟังแบบไม่ต้องคิดตามและไม่ต้องจงใจหาประเด็นแทรก แต่ก็ไม่ต้องถึงขั้นจ้องตาเขาตลอดเวลา ปล่อยตัวสบายๆ แล้วค่อยๆ รับฟังความเห็นของเขา ให้เขาสามารถพูดให้ได้หมดก่อน

  • ให้ข้อมูลก็คือให้ข้อมูล ไม่ใช่การสอนแต่ให้ความเห็นเป็นตัวเล่าเรื่อง

หลายคนอาจจะมองว่า การแลกเปลี่ยนความเห็นกัน เราควรให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ต้องรีบแทรกเพื่อที่จะได้พูดในสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วคนแลกเปลี่ยนความเห็นเขาอาจจะไม่ต้องการข้อมูลก็ได้ เพียงแต่เขาต้องการคนที่สามารถฟังและพูดคุยกับเขาโดยที่ไม่ขัดแย้งได้ ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นคือ พอมีคนอยากแลกเปลี่ยนความเห็นในบางครั้ง ก็มักจะมีคนต้องการ Educate (สั่งสอน) อยู่เสมอๆ ซึ่งปัญหานี้เป็นทั้งในออนไลน์และทั้งแลกเปลี่ยนแบบเจอตัว สิ่งสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาได้ก็คือ การไม่โพล่งพูดไปก่อนหรือสั่งสอนไปก่อน ผมขอชวนคิดในรูปแบบง่ายๆ ว่าถ้าหากเป็นเรา เราคงไม่ต้องการการสั่งสอนจากคู่สนทนาด้วยสักเท่าไหร่ เพราะมันอาจทำให้เราถูกตัวสินไปแล้วว่าเราเป็นคนแบบไหนกันแน่ และในบางรายอาจจะเกิดการปิดใจที่จะคุยต่อได้ด้วยซ้ำ

  • ให้ข้อมูลก็ควรที่จะค่อยๆ ให้ข้อมูล ถ้าหากเขาเข้าใจผิดจริง

วิธีการให้ข้อมูลที่เขาเข้าใจผิดจริงๆ ก็คือการค่อยๆ ใช้จังหวะหลังจากจบการสนทนาในหัวข้อนั้นๆ ในการค่อยๆ ให้ข้อมูลแบบทำให้เขาเข้าใจ งดการใช้อารมณ์เป็นตัวชี้นำ เพราะอาจจะทำให้คู่สนทนาตกใจและไม่อยากสื่อสารต่อ โดยการให้ข้อมูลก็ควรเน้นการให้ข้อมูลในประเด็นนั้นๆ ไม่ควรให้ข้อมูลนอกประเด็น และบอกถึงข้อผิดพลาดของข้อมูลให้เข้าใจง่าย ไม่อ้อมไปอ้อมมา เพื่อไม่ทำให้เขางงได้

  • ใช้คำถามปลายปิด อาจทำให้ปิดใจกันได้

ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการสนทนาในประเด็นที่อ่อนไหว ก็คือการใช้คำถามปลายปิด เช่น ใช่หรือไม่ หรือการใช้คำถามชี้นำ ซึ่งสิ่งนี้เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลทำให้การสนทนาล่มได้ในที่สุด เพราะการใช้คำถามปลายปิดในการสนทนา ถือว่าเป็นการชี้นำทางความคิดและส่งผลทำให้แก่นสารของเรื่องถูกบิดเบี้ยวไปได้ และแน่นอนว่าอาจทำให้คู่สนทนาไม่กล้าเปิดใจอีกด้วย ข้อสำคัญที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ก็คือ การเน้นคำถามปลายเปิดเป็นตังตั้งหลัก เพื่อทำให้คู่สนทนาสบายใจที่จะเล่า เพราะไม่ได้มีการตัดสินจากคำถามมาก่อน

  • ทำความเข้าใจเขา มากกว่าคุยเพื่อโจมตี

อีกหนึ่งพอยท์สำคัญที่ทำให้การสนทนามีปัญหาเลยก็คือ การโจมตีคู่สนทนาในประเด็นที่ทำให้เขากลายเป็นจุดอ่อนของวงสนทนา ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการไม่กลับมาคุย ส่งผลทำให้เกิดอารมณ์กันได้อีกเช่นกัน ซึ่งสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ก็คือ ฟังแบบไม่ตัดสิน (วนกลับมาที่ข้อแรก) เพื่อทำให้เขากล้าที่จะพูด และเลือกถกเถียงเฉพาะจุดแข็งของเขา เพื่อทำให้เขาได้มีโอกาสและสร้างความแฟร์ให้ทั้งคู่ได้ด้วยเช่นกัน

  • ตั้งเป้าหมายในการสนทนาเอาไว้ให้ดี

ข้อสุดท้ายก็คือ ก่อนการเริ่มสนทนาในทุกครั้ง เราควรมีเป้าหมายของตนเองในการจะสนทนาว่าเป้าหมายของเราวันนี้คืออะไร การที่มีเป้าหมายไว้ก็เพื่อทำให้เรายึดมั่นในเป้าหมายนี้ได้ เช่น การแลกเปลี่ยนในครั้งนี้มีขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันจริงๆ เป็นต้น ซึ่งการมีเป้าหมายจะช่วยทำให้แนวทางในการสนทนามีมิติและเข้าถึงแก่นของการสื่อสารที่แต่ละฝั่งมีไว้ได้อีกด้วย

แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่คู่สนทนาจำเป็นจะต้องมี คือการเปิดใจและการรับฟังแบบไม่ตัดสิน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญเป็นอย่างมาก และเช่นกัน ในปีนี้ Thailand Talk 2022 ได้เปิดตัวขึ้นแล้ว โดยทุกท่านสามารถตอบคำถามทั้ง 7 ข้อ บนแพลตฟอร์มของ The Modernist เพื่อจับคู่และคัดเลือกมาพูดคุยกันจริงๆ ในวันที่ 24 กันยายน 2565 โดยสามารถตอบคำถามได้จนถึงวันที่ 14 กันยายน 2565 และติดตามรายละเอียดได้ทาง www.thailandtalks.org

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า