fbpx

“Lonely Economy“ เปย์หนัก-จ่ายไว สไตล์ “เศรษฐกิจคนโสด”

ไซส์ใหญ่หรือหีบห่อที่มีสินค้าจำนวนมาก เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียกลายเป็นเครื่องมือที่เชื่อมโยงผู้คนที่ถูกเส้นแบ่งทางภูมิศาสตร์และเขตแดนรัฐเข้าด้วยกันอย่างแนบสนิท คงจะไม่เกินจริงหากจะกล่าวว่ามนุษยชาติอยู่ในยุคที่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับในอดีต แต่ในอีกแง่หนึ่ง การรุดไปข้างหน้าของสังคมโลกที่มีตัวแปรมาปะทะหลากหลายมิติเหลือเกิน ทำให้โฮโมเซเปียนส์อย่างพวกเรารู้สึกโดดเดี่ยวมากขึ้น แม้ทางกายภาพจะเชื่อมต่อกันง่าย แต่ทางใจเรากลับเป็นคนแปลกหน้าซึ่งกันและกัน 

จนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เรามักจะได้ยินคำว่า ‘Lonely Economy’ มากขึ้น ซึ่งเป็น เศรษฐกิจรูปแบบใหม่ บ้างก็เรียกว่า ‘เศรษฐกิจคนโดดเดี่ยว’ บ้างก็เรียกว่า ‘เศรษฐกิจคนโสด’ แต่ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไร แรงขับสำคัญที่ทำให้เกิดตลาดใหม่ขึ้นมานั่นก็คือ ‘ความเหงา’ ที่ไม่ว่าจะโสดหรือไม่โสด ก็เป็นมวลอารมณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนบนโลกอันว้าเหว่นี้ ในแง่ธุรกิจจึงถือเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการและนักการตลาด ในการสร้างเม็ดเงินให้กับธุรกิจของตนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีเทรนด์นี้ไม่เพียงชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมร่วมสมัยที่น่าสนใจอีกด้วย

ที่มา : krungsri

‘คนโสด’ จ่ายหนัก-จ่ายเร็ว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ประชากรหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นคน Gen Y, Gen Z และกลุ่มคนที่ผ่านการหย่าร้าง มีอัตราการครองตนเป็นโสดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงประเทศไทยเอง สาเหตุหลัก ๆ หนีไม่พ้นเรี่องแรงกดดันจากการทำงาน ภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้นจนไม่อยากจะแบกภาระเพิ่ม หรือบางกลุ่มมีอิสรภาพทางการเงินมากขึ้น จนสามารถดูแลตัวเองได้  โดยไม่ต้องให้คู่สมรสเลี้ยงดู อีกทั้งคนรุ่นใหม่ยังมองว่าการแต่งงานและการมีลูกไม่ใช่บรรทัดฐานทางสังคมอีกต่อไป

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้พฤติกรรมคนกลุ่มนี้ มีการตัดสินใจเร็วและกล้าใช้จ่าย แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในช่วงโปรโมชั่นหรือลดราคา หากสินค้าหรือบริการมีความสอดคล้องกับความต้องการก็พร้อมที่จะเปย์ทันที  โดยเฉพาะกลุ่มคนโสดในวัยทำงานที่มีอายุยังไม่สูงมากนัก เนื่องจากมีการวางแผนทางด้านการเงินเพื่อความมั่นคงของชีวิตไม่เข้มงวดมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่แต่งงานแล้ว ขณะที่กลุ่มคนโสดที่เริ่มมีอายุมากขึ้น เป็นกลุ่มที่ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามคนโสดกลุ่มที่เริ่มมีอายุจะมีความรอบคอบในการวางแผนใช้ชีวิตและแผนทางการเงินมากกว่ากลุ่มคนโสดที่มีอายุไม่มาก 

ในปี 2562 คนโสดในไทยมีจำนวนประมาณ 15.2 ล้านคน และคาดว่าจะประชากรกลุ่มนี้จะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง มีเม็ดเงินการใช้จ่ายเฉลี่ย 7,584 บาทต่อคนต่อเดือน และจะมีการใช้จ่ายเพื่อสินค้าและบริการต่างๆ รวมเป็นเม็ดเงินทั้งสิ้นประมาณ 1.4 ล้านล้านบาทต่อปี

ที่มา : gunnercooke

‘ไม่โสด’ แต่ ‘เหงา’ ก็จ่ายหนักเหมือนกัน

สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ CMMU เปิดเผยงานวิจัย Lonely in the Deep – เจาะลึกตลาดคนเหงา ซึ่งชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมกลุ่มคนโสดขี้เหงาว่า คนที่มีรายได้มากสามารถจัดการกับความเหงาได้ดีกว่าคนรายได้น้อย เพราะสามารถใช้จ่ายในการคลายเหงาได้ ส่วนคนรายได้น้อยมีภาระทางการเงินมาก จะยิ่งเหงามาก เพราะเงินเป็นปัจจัยหลัก ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการบางอย่างได้ เช่น ท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ก่อให้เกิดความเหงาทั้งสิ้น ที่น่าสนใจไปกว่านั้น CMMU ยังระบุต่ออีกว่า คนมีแฟนต่างก็เหงาเช่นกัน สาเหตุคือแฟนของตนเองไม่มีเวลาให้ เมื่อเห็นคู่รักอื่นทำกิจกรรมร่วมกัน ยิ่งตอกย้ำความเหงาขึ้นไปอีก จึงอาจกล่าวได้ว่าต่อให้มีคู่ ความเหงาก็สามารถเข้ามาเป็นเจ้าเรือนในใจได้ และก็ส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยที่น่าจะมีแนวโน้มใช้จ่ายมากขึ้น

ทั้งนี้พฤติกรรมดังกล่าวส่งอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจและการบริโภคของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการในการผลิตสินค้า บริการ หรือออกแคมเปญส่งเสริมการขาย

มัดรวมธุรกิจน่าสนใจของ ‘Lonely Economy’

1. ธุรกิจสัตว์เลี้ยง 

ปัจจุบันมีห้างสรรพสินค้าที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยง มาเดินเล่นได้ เช่นเดียวกับภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่หลายโครงการนิยมสร้างคอนโดที่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้เพิ่มมากขึ้น เป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่า ผู้คนที่อยู่คนเดียวหรือมีความเหงาเป็นเจ้าเรือน มักจะเลี้ยงสัตว์ ทำให้ธุรกิจสัตว์เลี้ยงเติบโตตาม จนส่งผลให้อุตสาหกรรมอื่น ๆ ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับพฤติกรรมคนยุคนี้ โดยธุรกิจสัตว์เลี้ยงที่น่าสนใจ ได้แก่ ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ธุรกิจการให้บริการสัตว์เลี้ยง เช่น โรงพยาบาล คลินิก สถานบริการรับฝากเลี้ยง โรงแรมที่พัก สปา 

2. ธุรกิจท่องเที่ยว

เทรนด์เที่ยวคนเดียวไปเองได้ เป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2559 และจากการรีวิวการท่องเที่ยวคนเดียวจากในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ จนเมื่อโลกเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการแพร่ระบาดของโควิด-19 เทรนด์การเที่ยวคนเดียวก็ยิ่งได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอีก สวนทางกับสมัยก่อน ที่การท่องเที่ยวมักนิยมเป็นกรุ๊ปทัวร์ ธุรกิจท่องเที่ยวจึงควรใช้เทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวก ตอบโจทย์ความต้องการของบุคคลมากขึ้น เสนอโปรโมชันพิเศษ เช่น แพ็กเกจท่องเที่ยวเดินทางคนเดียว  

3. ธุรกิจร้านอาหาร

แต่ก่อนธุรกิจร้านอาหารมักถูกออกแบบมาสำหรับลูกค้าที่มาเป็นกลุ่ม หรืออย่างน้อยก็เป็นที่นั่งสำหรับ 2 คนขึ้นไป แต่ตอนนี้การรับประทานอาหารคนเดียวเริ่มมีมากขึ้น ร้านอาหารต่าง ๆ จึงเริ่มปรับตัวและพัฒนาการให้บริการลูกค้าที่มา

รับประทานอาหารคนเดียว อย่างร้านชาบูต่าง ๆ ที่หันมาจัดสรรแบ่งโซนเพื่อรองรับลูกค้าที่มาคนเดียวมากขึ้น หรือร้านราเมง บางร้านที่ใช้เป็นโต๊ะเคานต์เตอร์ยาว มีที่กั้นเปิดปิดเมื่อต้องการความเป็นส่วนตัว

4. ธุรกิจที่พักอาศัย

เทรนด์การอยู่คนเดียวเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการที่ให้บริการด้านที่พักอาศัย และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การออกแบบที่พักนอกจากคำนึงเรื่องความสะดวกสบายแล้ว อาจจะต้องดีไซน์ให้ตอบโจทย์การอยู่คนเดียวและง่ายต่อการดูแล

นอกจากนี้ควรใส่ใจการทำพื้นที่ส่วนกลางให้น่าใช้ เช่นการสร้าง Co-working Space ให้เป็นพื้นที่สำหรับการเปลี่ยนที่ทำงานของผู้อยู่อาศัย การมีห้องประชุม อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 

5. ธุรกิจสินค้าขนาดเล็ก

สินค้าอุปโภค-บริโภค ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงอาหารและเครื่องดื่ม ผู้ประกอบการอาจต้องออกแบบให้มีขนาดเล็กลงจากเดิม หรือมีจำนวนชิ้นต่อหน่วยลดลง ส่วนการทำโปรโมชั่น 1 แถม 1 อาจไม่สามารถใช้ได้กับคนกลุ่มนี้ ตรงข้ามกับการจับตลาดครอบครัวใหญ่ที่ต้องการสินค้า

อ้างอิง : The Michigan Daily / TPSO Journal / krungsi / kasikorn / Amarin TV / Creative Thailand

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า