fbpx

“ฮ่องกง” มุมใหม่หลังมหันตภัยโควิด 

         ภาพฮ่องกงที่เห็นในปีนี้แตกต่างอย่างมากกับเมื่อปีที่แล้ว ขณะที่เผชิญกับคลื่นทำลายล้างของโควิด-19 และรัฐบาลเขตปกครองพิเศษฮ่องกงได้ออกมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวด ส่งผลให้เศรษฐกิจฮ่องกงหดตัวลง 3.9% ในไตรมาสแรกของปี 2565

         ภาพสร้างบรรยากาศที่มืดมัวต่อมาตลอดทั้งปี ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและกระตุ้นการอพยพของผู้อยู่อาศัย ยอดค้าปลีกในเดือนมกราคม 2566 ในแง่มูลค่าเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากการเริ่มเปิดพรมแดนระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับฮ่องกง 

         เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 รัฐบาลฮ่องกงได้เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2 ปี 2566 (เมษายน – มิถุนายน) ขยายตัว 1.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส เศรษฐกิจฮ่องกงหดตัว 1.3% ในไตรมาส 2 ปี 2566 ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2565 ซึ่งเวลานั้นเศรษฐกิจฮ่องกงหดตัว 2.5% เทียบกับการขยายตัว 5.4% ในไตรมาส 1 ปี 2566 (มกราคม – มีนาคม)

        ภาพฮ่องกงที่เห็นในปีนี้แตกต่างอย่างมากกับเมื่อปีที่แล้ว ขณะที่เผชิญกับคลื่นทำลายล้างของโควิด-19 และรัฐบาลเขตปกครองพิเศษฮ่องกงได้ออกมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวด ส่งผลให้เศรษฐกิจฮ่องกงหดตัวลง 3.9% ในไตรมาสแรกของปี 2565 ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจทั้งปี ฮ่องกงได้ปรับลดกรอบประมาณการณ์เศรษฐกิจปีนี้ลง เนื่องจากกิจกรรมเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง หลังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งหลังจากผ่านพ้นช่วงโรคโควิด-19 ระบาดแรก ๆ ขณะเดียวกัน ปัญหาต่าง ๆ จากจีนและพื้นที่อื่น ๆ ของโลกได้ถ่วงเศรษฐกิจฮ่องกง โดยคาดการณ์ว่าจะขยายตัวอยู่ที่กรอบ 4-5% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวในกรอบ 3.5-5.5%

         หากวิเคราะห์เศรษฐกิจฮ่องกงในขณะนี้กลับพบว่ามีการเติบโตของค่อนข้างช้า เมื่อเปรียบเทียบฐานเมื่อปีที่แล้วเป็นลบ สัญญาณนี้บอกว่าฮ่องกงพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยแล้ว แต่ยังคงสะท้อนว่าการฟื้นตัวยังไม่แข็งแรง  ขณะที่เศรษฐกิจกลับมาเติบโตอีกครั้งในตอนนี้ ฮ่องกงยังคงต่อสู้กับผลข้างเคียงจากการควบคุมโรคระบาดอย่างเข้มงวดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประชากรยังคงหดตัวลงต่อเนื่อง  แม้ว่าจะลดในอัตราที่ช้าลงก็ตาม เหนือสิ่งอื่นใด ฮ่องกงยังเผชิญกับแรงลมต้าน นั่นคือการเติบโตอย่างชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และนโยบายการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดในต่างประเทศ  

         นโยบายที่รัฐบาลฮ่องกงใช้ในการฟื้นเศรษฐกิจกลับมาให้เร็วหลังเปิดประเทศ คือการส่งเสริมให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ โดยเปิดตัวแคมเปญส่งเสริมการขายระดับโลก “Hello Hong Kong” เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อแสดงการกลับมาของเมืองสู่เวทีระดับโลก ส่วนหนึ่งของแคมเปญคือการแจกตั๋วเครื่องบิน 500,000 ใบ แก่ผู้เข้าชมจากจุดหมายปลายทางระยะสั้นและระยะยาว พร้อมยังแจกบัตรกำนัลสำหรับเครื่องดื่ม อาหาร และช้อปปิ้งมูลค่า 100 ล้านเหรียญฮ่องกง (12.7 ล้านเหรียญสหรัฐ) มีการประกาศเพิ่มเงินอีก 20 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง ในวันที่ 15 มีนาคม รวมถึงลดราคาตั๋วรถไฟและคูปองรับประทานอาหาร ซึ่งผ่านไป 4 เดือน ถึงเดือนเมษายน 2566 มีจำนวนร้านค้าที่นักท่องเที่ยวสามารถแลกใช้เวาเชอร์ได้เพิ่มขึ้นสองเท่าจาก 1,500 แห่ง เป็น 3,000 แห่ง บัตรกำนัลมูลค่า 100  ดอลลาร์ฮ่องกง สามารถใช้ในบาร์ ร้านอาหาร โรงแรม หรือสถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งได้ 

        โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม – พฤษภาคม)  มีชาวต่างชาติเดินทางเข้าฮ่องกงจำนวน 10 ล้านคน เพิ่มขึ้น 28,947.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า  การท่องเที่ยวฮ่องกงได้เชิญผู้แทนการค้าและสื่อมวลชน ศิลปินและคนดัง สื่อมวลชน และ “แฟนพันธุ์แท้ฮ่องกง” จำนวน 700 คน จากแผ่นดินใหญ่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยุโรป มาเยือนฮ่องกง เพื่อสื่อสาร สร้างความรับรู้ในวงกว้างถึงการเปิดประเทศของฮ่องกง

        ในขณะเดียวกันการท่องเที่ยวฮ่องกงยังพยายามที่จะกระตุ้นการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเรือสำราญ เสริมสร้างสถานะของฮ่องกงในฐานะ “เมืองหลวงแห่งการจัดงานแห่งเอเชีย” และใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์เพื่อสร้างแบรนด์การท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์เขตเศรษฐกิจพิเศษ (GBA) แต่ภาพรวมของเศรษฐกิจของฮ่องกง รวมถึงภาคการท่องเที่ยวเห็นทีว่าจะไม่ยังไม่สำเร็จในปีนี้ เพราะยังคงต้องเผชิญกับ กับความท้าทายมากมายบนเส้นทางการฟื้นตัว เนื่องจากปัจจัยต่างๆ รวมถึงจำนวนแรงงานในอุตสาหกรรมและความสามารถในการบินที่ไม่เพียงพอ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ท้าทาย และการแข่งขันระดับภูมิภาคที่รุนแรง

         นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์เขตเศรษฐกิจพิเศษ (GBA) ยังส่งผลให้ฮ่องกงกลายเป็นแพลตฟอร์มสำคัญสำหรับธุรกิจการค้าปลีกที่มีมูลค่าสูงถึง 1.6 ล้านล้านบาท หรือโตกว่า 8.1% ในปี 64 เป็นโอกาสของนักลงทุนและผู้ประกอบการธุรกิจชาวไทย ที่ต้องการขยายแบรนด์สินค้าสู่ตลาดนานาชาติ  จากสถิติยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของฮ่องกงพบว่า เพิ่มขึ้น 6.2% หรือมีมูลค่า 9.26 แสนล้านดอลลาร์ฮ่องกง ซึ่งมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐและจีน

         ภาพดังนั้น ฮ่องกงจึงกลายเป็นศูนย์กลางด้านการเงินชั้นนำของโลกและเป็นตลาดที่มีสภาพคล่องสูง เงินสกุลดอลลาร์ฮ่องกงเป็นที่ยอมรับและสามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างเสรี และฮ่องกงเปิดอิสรภาพในการเคลื่อนไหวเข้าออกของสินค้า ข้อมูล และเงินทุน ซึ่งปัจจุบันมีธนาคารชั้นนำท็อป 100 ของโลก จำนวนมากถึง 77 แห่ง ตั้งสำนักงานและปฏิบัติการอยู่ในฮ่องกง

         ดังนั้น ฮ่องกงจึงถือว่าเป็นประตูที่สำคัญของธุรกิจที่ต้องการเข้าสู่การลงทุนในประเทศจีนและเขตเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่รัฐบาลจีนได้ประกาศพื้นที่เศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า หรือ GBA (Greater Bay Area) ที่ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ถึง 11 เมืองสำคัญ จึงเป็นโอกาสที่น่าสนใจมากสำหรับการค้าและการลงทุน ที่สำคัญ ฮ่องกงยังถูกวางยุทธศาสตร์ให้เป็นเมืองศูนย์กลางด้านการเงิน

         ภาพเนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินหลายด้านที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ เช่น ระบบการทำธุรกรรมการเงิน สำนักงานกฎหมาย สำนักงานบัญชี ทั้งยังเป็นตลาดการค้าเงินสกุลหยวนนอกประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้น นักลงทุนจึงมักเลือกใช้ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจและการเงินที่ใช้เชื่อมต่อกับบริษัทย่อยหรือโรงงานที่ทำหน้าที่ด้านการผลิตที่ตั้งอยู่ในประเทศจีน 

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า