fbpx

เสี่ยงซ้ำซ้อน! เตือนภัยนักลงทุน Gen-Z หลังสแกมเมอร์เริ่มระบาดในแวดวงคริปโต

ผลสำรวจล่าสุดพบว่า คนหนุ่มสาวที่ลงทุนคริปโต มีแนวโน้มที่จะถูกหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้น และเหล่าสแกมเมอร์ที่ชอบหลอกลวงทางอินเตอร์เนตก็ดูเหมือนว่าจะหันเข้าหาอุตสาหกรรมคริปโตกันมากขึ้น  เนื่องจากมองว่าการหลอกคนที่ลงทุนในคริปโตนั้นยากที่จะถูกตรวจสอบ

ที่ผ่านมา เมื่อพูดถึงสแกมเมอร์ เรามักจะนึกถึงกลุ่มมิจฉาชีพที่หลอกขายฝันในเว็บไซต์หาคู่ โดยมักจะหลอกให้คู่โอนเงินไปให้คราวละมากๆ ด้วยเหตุผลที่หลากหลาย ทว่าปัจจุบันนี้ สแกมเมอร์ไม่ได้จำกัดวงอยู่เฉพาะเว็บไซต์หาคู่เท่านั้น แต่เริ่มหันมาจับเหยื่อที่เป็นคนหนุ่มสาว ซึ่งนำเงินไปลงทุนในคริปโตกันมากขึ้น  แล้วคนกลุ่มนี้ก็ตกเป็นเหยื่อของพวกสแกมเมอร์คริปโตกันมากขึ้นด้วย

รายงานล่าสุดจาก Kaspersky ระบุว่า คนกลุ่มเจน Z หรือผู้ที่เกิดในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 จนถึงต้นทศวรรษที่ 2000  เป็นกลุ่มคนที่ถูกสแกมเมอร์หลอกลวงในอุตสาหกรรมคริปโตมากที่สุด โดยจากกา รสำรวจชาวอเมริกัน 2,000 คน พบว่า 24% ของคนกลุ่มนี้ยอมรับว่าเคยลงทุนในตลาดคริปโต  และ 47% ของผู้ที่มีอายุระหว่าง 18 – 24 ปี เปิดเผยว่า เคยถูกขโมยเงินคริปโต 

สวนทางกับกลุ่มนักลงทุนรุ่นใหญ่ ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ซึ่งในคนกลุ่มนี้มีเพียง 8% เท่านั้นที่เคยถูกขโมยเงินคริปโต ไม่ใช่เพราะคนกลุ่มนี้ฉลาดกว่าเด็กรุ่นใหม่  แต่น่าจะเป็นเพราะเด็กรุ่นใหม่มีแนวโน้มลงทุนในคริปโตกันมาก  ทำให้โอกาสที่พวกเขาจะถูกหลอกลวงก็มีมากขึ้นตามไปด้วย  

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังมีความน่าสนใจตรงที่มีกลุ่มคนอายุ 25 – 44 ปี  36% ที่มีทรัพย์สินเป็นเงินคริปโต    ส่วนกลุ่มคนสูงวัย อายุเกิน 55 ปีขึ้นไป มีเพียง 10% ที่ลงทุนในด้านนี้  

แต่ถ้าสรุปรวบยอดทั้งหมดของกลุ่มคนทุกเพศทุกวัยที่ลงทุนในคริปโต พบว่ามีประมาณ 33% เคยถูกขโมยเงินคริปโต  โดยตกเป็นเหยื่อผ่านเว็บไซต์ และการหลอกให้ลงทุน   บางเคสถึงขั้นที่ว่า สืบรู้ตัวคนร้ายแล้ว ทำให้ต้องมีการตกลงยอมจ่ายเงินคืนในเวลาต่อมา  

คำถามก็คือ จะทำอย่างไรให้นักลงทุนคริปโตปกป้องทรัพย์สินของตัวเองเอาไว้ได้

ผลสำรวจของ Kaspersky พบว่า 29% ของกลุ่มคนที่ลงทุนในคริปโต ใช้วิธีจดรหัสเข้ากระเป๋าเงินคริปโตไว้ในกระดาษ และ 34% ใช้วิธียืนยันตัวตนแบบสองระบบ เพื่อป้องกันบัญชี ขณะที่อีก 25% ใช้วิธีเก็บรหัสต่างๆ ไว้ในโปรแกรมที่เชี่ยวชาญการจัดเก็บเรื่องนี้โดยเฉพาะ ที่เหลือเชื่อกว่านั้นก็คือ มีคน 18% ใช้วิธีพิมพ์รหัสไว้ในข้อความบนมือถือหรือคอมพิวเตอร์ อีก 18% เก็บรหัสไว้ในแฟ้มเอกสารของมือถือ หรือ คอมพิวเตอร์ ที่ต้องใช้พาสเวิร์ดในการเข้าไปดู และ 17% เก็บรหัสไว้ในซอฟต์แวร์ของบุคคลที่สาม 

Marc Rivero นักวิจัยอาวุโสด้านความปลอดภัยทางอินเตอร์เนต ประจำทีมวิเคราะห์วิจัยระดับโลกของ Kaspersky แนะนำให้นักลงทุนคริปโตใช้ระบบการจัดเก็บรหัสแบบพิเศษ ซึ่งอาจจะเป็นการยืนยันตัวตนแบบสองระบบ  และควรใช้รหัสที่มีเอกลักษณ์ และตรวจจับยากจริงๆ ในทุกบัญชีที่ใช้งาน  

ที่มา : bitcoinist

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า