fbpx

‘Future Food’ เทรนด์อาหารแห่งอนาคต โอกาสทอง SME ไทย

‘อาหารแห่งอนาคต’ หรือ ‘Future Food’ อีกหนึ่งเมกะเทรนด์กำลังมาแรงและถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง ภาคอุตสาหกรรมอาหารต่างให้ความสนใจ เนื่องจากโลกกำลังเผชิญกับภาวะ ‘วิกฤตอาหารโลก’ หรือ ‘Global Food Crisis’ เป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์โลก และจากรายงานของ Global Report on Food Crises 2022 ล่าสุดระบุว่า ประชากรเกือบ 193 ล้านคน ใน 53 ประเทศ กำลังเผชิญกับปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารอย่างเฉียบพลัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาราว 40 ล้านคน  ดังนั้น ‘Future Food’ จึงถือเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภคที่คำนึงถึงสุขภาพ และสนับสนุนกระบวนการผลิตอาหารที่ใช้ทรัพยากรไม่เยอะ  สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลงกว่าเดิมด้วยแนวทางที่ยั่งยืน  ซึ่งเป็นเทรนด์ในอุตสาหกรรมอาหารที่กำลังถูกพูดถึงอย่างแพร่หลายในเวลานี้

โดยข้อมูลล่าสุดจากงานวิจัยของ IMARC Group (2023) พบว่า แนวโน้มตลาดอาหารอนาคต หรืออาหารจากพืชทั่วโลกจะมีอัตราการเติบโต 12.11% ในช่วงปี 2566-2571 (2023-2028)  เช่นดียวกันกับนิตยสารธุรกิจการเงินชั้นนำในสหรัฐฯ อย่าง Forbes ได้คาดการณ์การแนวโน้ม ‘อาหารแห่งอนาคต’ หรือ ‘Future Food’ ของโลกในปี 2568 จะมีมูลค่าถึง 3.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 51% เมื่อเทียบกับปี 2563  สำหรับมูลค่าการส่งออก Future Food ของไทย ปี 2564 มีมูลค่า 115,490 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7% คิดเป็นสัดส่วน 10% ของการส่งออกอาหารในภาพรวม และเติบโตต่อเนื่องทุกปี

สถาบันอาหารแห่งประเทศไทยได้จัดประเภทของ Future Food แบ่งตามลักษณะของอาหารและวิธีการผลิตออกเป็น 4 หมวด ดังนี้

อาหารฟังก์ชัน (Functional Food) อาหารที่ให้พลังงาน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย และมีคุณค่าทางโภชนาการ อย่างการเติมวิตามิน แร่ธาตุ หรือส่วนผสมของสมุนไพร ลงในผลิตภัณฑ์อาหาร อาทิ สารต้านอนุมูลอิสระ โพรไบโอติกส์ เส้นใยอาหาร โอเมก้า3 เป็นต้น

อาหารใหม่ (Novel food) เป็นอาหารที่ผลิตผ่านนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีในร่างกาย และระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เห็ดที่ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต เพื่อเพิ่มวิตามินดี หรือ เนื้อ ผัก ผลไม้ ที่พาสเจอไรซ์ด้วยวิธีแรงดันสูง

อาหารทางการแพทย์ (Medical Food) เป็นอาหารที่ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ได้มีคุณสมบัติในการรักษาโรคโดยตรง แต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา หรือบรรเทาอาการของโรค เช่น ผู้ที่เป็นเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหารรุนแรง หรือผู้ต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้นหลังผ่าตัด

อาหารอินทรีย์ (Organic Food) เป็นอาหารที่ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ โดยจะมีส่วนประกอบที่มาจากธรรมชาติ 100% ไม่ใช้สารเคมีและไม่สร้างมลพิษในกระบวนการผลิต

สำหรับ ‘Future Food’ ที่จะมากำลังจะเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เช่น ผลิตภัณฑ์พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) และ โพรไบโอติกส์ (Probiotics) มักพบในอาหารหมักดอง เช่น นัตโตะ กิมจิ นอกจากนี้โปรตีนเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคเข้าใจและรับรู้ถึงความสำคัญนี้มากขึ้น ทั้งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ อาหารทะเล และ โปรตีนทางเลือกจากพืช (Plat-Base Protein) โปรตีนจากแมลง (Insect – Based Protein) เป็นต้น เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นเพราะผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพ และและผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ระบุผลข้อมูลเชิงสิ่งแวดล้อมบนผลิตภัณฑ์

โอกาสทองผู้ประกอบการและ SME ไทย

ข้อมูลจากสมาคมอาหารอนาคตไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ระบุว่า สถานการณ์การส่งออกอาหารอนาคตปี  2565 มีมูลค่าประมาณ 1.29 แสนล้านบาท เติบโต 23 % คิดเป็นสัดส่วน 10% ของอาหารทั้งหมด ไปยังตลาดอาเซียน สหรัฐ จีน และสหภาพยุโรป  โดยไทยจัดแบ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่

1.อาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ (Functional foods and drink) ผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำหน้าที่ให้คุณค่าอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น ปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ชะลอวัย  คิดเป็นสัดส่วน 97% มี การเติบโตปี 2565 เทียบกับปี 2564 ที่ 22%

2.อาหารเกษตรอินทรีย์ (Organic foods) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลิตผลทางการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารเคมี โดยมีการส่งออกที่สัดส่วน 1.6% และมีการเติบโต 2565 เทียบกับปี 2564 สูงสุดในกลุ่มอาหารอนาคตที่ 80 %

3.อาหารกลุ่มที่ผลิตขึ้นมาใหม่ทางนวัตกรรม (Novel foods) อาหารรูปแบบใหม่ที่มีความเป็นนวัตกรรมสูงมาก เป็นอาหารที่ใช้ขั้นตอนการผลิตแบบใหม่ ไม่เคยมีการผลิตมาก่อน การเติบโตปี 2565 เทียบกับปี 2564 ที่ 26%

4.อาหารทางการแพทย์ (Medical foods) ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาหรืออาหารเสริม มีการส่งออกที่สัดส่วน 0.2% การเติบโต ปี 2565 เทียบกับปี 2564 ที่ 40%

ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนส่งเสริม ‘ตลาดอาหารอนาคต’

ด้วยจำนวนนวนผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพเพิ่มมากขึ้น และยังมีกลุ่มผู้บริโภคใหม่ ๆ ที่พร้อมจะเปิดรับ โดยเฉพาะกลุ่มที่เรียกว่า กลุ่มยืดหยุ่น หรือ Flexitarian ซึ่งคนธรรมดาที่บางวันอยากรับประทานมังสวิรัติ จากเดิมที่ตลาดกลุ่มเป้าหมายหลักจะเป็นกลุ่มที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ หรือ Vegetarian Vegan หรือที่เกี่ยวกับด้านศาสนา ซึ่งไม่รับประทานเนื้อสัตว์ หันมารับประทานพืชแทน  ส่งผลให้การที่ตลาดอาหารอนาคตเติบโตมากขึ้น

รวมถึงการสร้างการรับรู้ของผู้บริโภค เกี่ยวกับประโยชน์ต่อสุขภาพจากการบริโภคอาหารจากพืชเพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากพืช และวัตถุดิบที่หลากหลาย เช่น ถั่ว อัลมอนด์ ธัญพืช เห็ด พืชน้ำต่าง ๆ ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบายในการปรุงและยังช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม เนื่องจากกระบวนการผลิตอาหารจากพืช เรียกว่าเป็นสินค้าที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ

ทั้งนี้ มีการประมาณการว่า ปี 2564-2569 มูลค่าตลาดอาหารและผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภท Functional Drink ของโลกจะมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 180,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2564 จะเพิ่มเป็น 206,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2569 จากการเติบโตของอาหารแห่งอนาคตนี้จะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการที่กำลังสนใจหรือเดินหน้าทำธุรกิจเชิงรุก รวมถึงจะช่วยให้ผู้บริโภคได้มีทางเลือกที่ลากหลายมากขึ้นตามไปด้วย ไม่เพียงเท่านั้นยังเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โลก และสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ให้มีอากาศที่บริสุทธิ์อย่างยั่งยืนอีกด้วย

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า