fbpx

“ฝรั่งเศส” แดนสวรรค์แห่งเสรีภาพ หรือนรกแห่งความเหลื่อมล้ำ?  

ย้อนไปเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2023 นาเฮล เอ็ม วัยรุ่นชาวแอลจีเรีย อายุ 17 ปี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยิง และเสียชีวิตในย่านนองแตร์ ชานกรุงปารีส นำไปสู่ความไม่พอใจ และกวาดเอาปัญหาที่ซุกใต้พรมในฝรั่งเศสออกมามากมาย การประท้วงที่เกิดขึ้นมีตั้งแต่ใจกลางกรุงปารีส และตามชานเมืองต่างๆ อาทิ มาร์กเซย ตูลูส สตารส์บูรก์ และลามไปถึงชานกรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยียม และชายแดนสวิตเซอร์แลนด์

ภาพที่เป็นที่จดจำในตอนนั้นคือภาพแม่ของนาเฮล เอ็ม ถือพลุไฟ และไลฟ์เผยความในใจว่า “เมื่อเช้านี้ เขาหอมฉันฟอดใหญ่ พร้อมบอกแม่ว่า ‘ผมรักแม่นะ’ ซึ่งฉันก็บอกเขาให้ระวังนะ”

ในทวิตเตอร์ก็มีการประณามปกปิดสื่อของฝรั่งเศส รวมไปถึงการวิพากษ์วิจารณ์กรณีที่ประธานาธิบดี เอ็มมานูแอล มาครง ไม่ออกมาแสดงความเห็นต่อเหตุสลดใจครั้งนี้ พร้อมติดแฮชแท็ก #ParisOnfire , #FranceBurning , #FranceHasFallen

ทางประชาชนฝ่ายขวาจัดของฝรั่งเศสก็แสดงความไม่พอใจที่นายมาครงปล่อยให้ชาวต่างชาติอพยพเข้ามาในฝรั่งเศส และต้องการให้ไล่คนเหล่านี้กลับประเทศบ้านเกิด ขณะที่ฝ่ายซ้ายจัดมองว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

‘ถ้าหากเป็นคนผิวขาวคงรอดพ้นจากการโดนยิงหรือหากเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคมคงโดนเลือกปฎิบัติแน่ๆ’

การประท้วงครั้งล่าสุดนี้นับว่าเป็นการประท้วงที่รุนแรงมากในรอบหลายปี เนื่องจากมีการปราบปรามอย่างรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่ การใช้สื่อออนไลน์เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กระทำ หรือการใช้ดอกไม้ไฟก่อความไม่สงบในหลายพื้นที่   

ทำไมการประท้วงถึงส่งผลกระทบกับชนชั้นล่างของสังคมขนาดนี้

ฝรั่งเศสเป็นประเทศในฝันของผู้ลี้ภัย และชนกลุ่มน้อยที่พร้อมเริ่มต้นใหม่กับโลกที่ไม่เคยได้สัมผัส แต่ด้วยความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา รวมไปถึงการศึกษาที่แตกต่างกัน ทำให้พวกเขารู้สึกเป็นคนนอก และได้รับการปฎิบัติอย่างไม่เท่าเทียม นำไปสู่ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทับถมเรื่อยมา

สิ่งที่ฝรั่งเศสกำลังเผชิญอยู่นี้ คล้ายคลึงกับประเทศอื่นๆ ในยุโรป ที่มีการแบ่งขั้วทางสังคม หรือในสหรัฐอเมริกาที่มีการเรียกร้องสิทธิกันจนเป็นเรื่องปกติ แม้ว่าพวกเขาจะได้รับสัญชาติถูกต้องตามกฎหมาย และรัฐบาลก็ให้ความมั่นคง สวัสดิการ และการเคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกัน แต่คนกลุ่มน้อยกลับคิดว่า รัฐบาลฝรั่งเศสจะทำลายเอกลักษณ์หรือตัวตนผ่านวัฒนธรรมและวิถีชีวิตหรือไม่?

การประท้วงครั้งนี้ส่งผลอะไรบ้าง? 

สิ่งที่ตามมาจากการประท้วงครั้งนี้ คือการควบคุมสื่อออนไลน์ที่เข้มงวดมากขึ้น โดยที่มาครงให้เหตุผลว่า ‘เป็นเพราะสิ่งต่างๆ หลุดจากการควบคุม’ จึงเรียกร้องให้มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของสื่อออนไลน์ที่นำเสนอภาพความรุนแรงเกินขอบเขต และต้องกลั่นกรองเนื้อหาสื่อบนแพลตฟอร์มมากขึ้น โดยเฉพาะในวันที่ 30 มิถุนายน 2023 คณะรัฐมนตรีได้พบปะตัวแทนจาก TikTok , Snapchat ให้มีการลงโทษผู้ใช้สื่อออนไลน์อย่างจริงจัง

ฝ่ายที่วิจารณ์การกระทำครั้งนี้อย่าง โอลิเวอร์ มาร์เลซ์ จากพรรค Les Republicains ได้กล่าวว่า ‘จำกัดสื่อเหมือนจีน อิหร่าน เกาหลีเหนือ อย่างนั้นหรือ’ 

ความเสียหายทางเศรษฐกิจจากการปล้นสะดมตามห้างร้านต่างๆ ในมาร์กเซยกว่า 400 แห่ง มีมูลค่ามากถึง 100 ล้านยูโร หรือ 3,803 ล้านบาท อาจใช้เวลาซ่อมแซมร้านขั้นต่ำ 1 เดือนขึ้นไป โดยที่นาย ฌอง-ลุค โชแวง ประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งแอ็กซ็องพรอว็องส์ได้กล่าวว่า “ธุรกิจทุกประเภทตกเป็นเป้า โดยเฉพาะธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าราคาสูง”

นอกจากนี้ ในวันชาติฝรั่งเศส 14 กรกฎาคม รัฐบาลฝรั่งเศสได้ออกกฤษฎีกาการควบคุมดอกไม้ไฟ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงในการใช้ความรุนแรงและอาจเป็นภัยต่อความสงบและความเรียบร้อยของประชาชน ช่วงเทศกาลดังกล่าว การจำหน่าย ครอบครอง  ขนส่งดอกไม้ไฟ จะถูกห้ามในอาณาเขตของประเทศจนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 

จากมาตรการรับมือเหตุจลาจลดังกล่าว ทำให้มีกระแสแฮชแท็ก #Frexit ขึ้นอีกครั้ง 

สุดท้ายแล้ว #Frexit ในครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากแค่ประชาชนที่ไม่พอใจกับความเหลื่อมล้ำ หรือ การเมือง เศรษฐกิจในยุโรป แต่เป็นผลกระทบระยะยาวด้านคุณภาพชีวิตที่ไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง จึงทำให้ผู้คนออกมาเรียกร้องให้ฝรั่งเศสออกจาก EU มากขึ้น โดยที่ไม่รู้ว่าอนาคตของฝรั่งเศสจะเป็นอย่างไรต่อไป 

แหล่งที่มา : thairath / bbc / bloomberg / twitter @f_philippot / newsbytesapp / mgronline

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า