fbpx

19 กันยายน 2549 : ตำนานรัฐประหารเสียของ

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 เวลา 23.00 น. โดยประมาณ ทุกสถานีโทรทัศน์ตัดเข้าสู่ประกาศอันมีใจความสำคัญว่า

“เนื่องด้วยขณะนี้คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งประกอบด้วย ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เข้าควบคุมสถานการณ์ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลไว้ได้แล้ว และไม่ได้มีการขัดขวางเพื่อเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงขอความร่วมมือประชาชนในการให้ความร่วมมือและขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ด้วย”

นื่คือประกาศที่อ่านโดย พลตรีประพาศ ศกุนตนาค อดีตโฆษกสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก โฆษกคณะรัฐประหาร และเป็นประโยคที่หลาย ๆ ท่านอาจมีความคุ้นหูราวกับกับเพิ่งได้ฟังมาเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา ได้ถูกประกาศโดยคณะรัฐประหาร ที่ใช้ชื่อว่า “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ก่อนที่จะใช้ชื่อที่หลาย ๆ ท่านคุ้นหูในชื่อ ”คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” ซึ่งนำโดย พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการกองทัพบกในเวลานั้น เพื่อเข้ายึดอำนาจของ ดร.ทักษิณ  ชินวัตร ที่กำลังอยู่ระหว่างร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งในก่อนหน้านั้น มีชนวนเกิดจากรายการ “เมืองไทย รายสัปดาห์” ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ได้วิพากษ์วิจารณ์การดำเนินงานของรัฐบาล ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2548 รวมถึงการสัญจรของรายการดังกล่าวนี้ด้วย ทั้งที่ก่อนหน้านั้น รายการดังกล่าวทำเนื้อหาค่อนข้างไปทางการชื่นชมรัฐบาลเสียด้วยซ้ำ จนเกิดวลีคุ้นหูขึ้นมาว่า “ระบอบทักษิณ” ซ้ำยิ่งกว่านั้น ต้นปี 2549 ที่มีการการขายหุ้นชินคอร์ปของตระกูลชินวัตร-ดามาพงษ์ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และพลตรีจำลอง ศรีเมือง จึงก่อตั้งกลุ่มๆนึงว่า ”พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ หลังจากนั้นเป็นต้นมา กลุ่มพันธมิตรฯ ก็กลายเป็นแกนนำในการต่อต้านรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร แต่อย่างนั้น ก็มีกลุ่มคนที่ออกมาสนับสนุนรัฐบาล ทั้งกลุ่มคาราวานคนจน กลุ่มคนขับแท็กซี่ กลุ่มสามล้อเครื่อง ที่เป็นกลุ่มหลักๆ

หลังจากที่เกิดการรัฐประหารแล้ว ก็ยังคงมีการต่อต้านรัฐบาลที่มาจากคณะรัฐประหาร อย่างต่อเนื่อง ทั้งกลุ่มโดมแดงและเครือข่ายกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่มาการจัดเสวนา “ทำไมเราต้องคัดค้านการรัฐประหาร” คุณนวมทอง ไพรวัลย์ ที่ขับรถแท็กซี่ขับพุ่งเข้าชนรถถัง แม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จในการประท้วงก็ตาม รวมถึงเหตุการณ์ที่ไม่ถูกพูดถึงอย่าง “เครือข่าย 19 กันยาต้านรัฐประหาร” ทำกิจกรรมต่อต้านการรัฐประหารที่ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนในวันที่ 22 กันยายน โดยที่ไม่มีสถานีโทรทัศน์ช่องใดรายงานข่าวเรื่องนี้ หรือที่ ร.ต.ฉลาด วรฉัตร และคุณทวี ไกรคุปต์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทย ประท้วงที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแต่ทั้งสองคนก็ถูกทหารรวบตัวขึ้นรถไปในวันที่ 20 กันยายน และเกิดความขัดแย้งโดยที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารของคณะรัฐประหารของพลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน จนกระมีการให้สัญญาว่าจะดำเนินการเลือกตั้งภายใน 1 ปี ซึ่งก็เกิดเช่นนั้นจริง ๆ เพียงแต่เมื่อมีการแต่งตั้งให้มีผู้ใช้อำนาจบริหารแทนตน พลเอกสนธิ กลับไม่สามารถแทรกแซงได้จากการที่ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้เป็น “นายเก่า” ของอดีตนายทหารรบพิเศษไม่ยอมอยู่ใต้คำสั่งของคณะรัฐประหาร อีกทั้งยอมทิ้งตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐประหาร จึงทำให้หลาย ๆคนตั้งชื่อให้กับการรัฐประหารครั้งนี้ว่า “รัฐประหารเสียของ”

แต่หากเปรียบเทียบกับการรัฐประหารในปัจจุบันที่เป็นการยึดอำนาจจากรัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกหญิงคนแรกของไทย การรัฐประหารครั้งนี้เหมือนเป็นการฉายภาพซ้ำของวลีที่ว่า ”ระบอบทักษิณ” ที่เกิดจากการปลุกปั้นของสื่อที่ส่งเสริมให้เกิดความขัดแย้ง และก่อให้เกิดความเกลียดชัง ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วอาจไม่มีอะไรเลย แต่เป็นเพียงเกมการเมืองที่แก่งแย่งภายใต้ผลประโยชน์ ของผู้ที่ได้มีอำนาจในการรัฐประหารโดยมิชอบของฝ่ายกลาโหมเสียเอง

ที่มา:

https://www.sanook.com/news/7900542/

https://news.mthai.com/webmaster-talk/588165.html

https://www.bbc.com/thai/thailand-41315814

http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3_19_%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99_2549

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า