fbpx

เทียบชัดบทบาท อำนาจ “ส.ว.ไทย” จากเลือกตั้งสู่ลากตั้งภายใต้ คสช.

หลังจากเสร็จสิ้นการโหวตเลือกประธานสภาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ถูกกำหนดอย่างชัดเจนคือวันที่ 13 กรกฎาคม ในการโหวตครั้งที่ 1 และยังมีการเตรียมแผนโหวตอีกอย่างน้อย 2 ครั้ง ในวันที่ 19 กรกฎาคม และ 20 กรกฎาคม ซึ่งการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ผู้ที่สามารถโหวตได้คือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 

ทำให้ ส.ว. ถูกจับตาในการโหวตเลือกนายกฯ ในครั้งนี้เป็นอย่างมาก ท่ามกลางกระแสข่าวที่ว่า ส.ว. หลายๆท่านที่เคยบอกว่าจะสนับสนุน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกจากพรรคก้าวไกล ให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ นั้นได้กลับลำเปลี่ยนใจไม่โหวตให้ เพียงเพราะว่านายพิธาและพรรคก้าวไกลมีนโยบายในการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นอกจากนี้ นายพิธายังอาจถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับหุ้น ITV อีกด้วย 

ส.ว.ในการเมืองไทยมาจากไหน และบทบาทหลักของพวกเขาคืออะไร? เราต้องย้อนกลับไปในช่วงการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งระบอบประชาธิปไตยนี้เองได้ให้กำเนิด ส.ส. ที่เป็นตัวแทนของประชาชนเข้าไปทำหน้าที่ออกกฎหมายต่างๆ รวมถึงตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลไปด้วย นอกจากนี้ยังทำให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. เกิดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2476 เพียง 1 ปี หลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 

แต่กว่า ส.ว. จะถือกำเนิดขึ้นในการเมืองไทยนั้นก็ล่วงเลยไปกว่า 14 ปี หลังการปฏิวัติ โดยมาพร้อมกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489 แต่ในรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้คำว่า “พฤฒสภา” ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้คำดังกล่าวเพียงฉบับเดียว เพราะหลังจากนั้นเป็นต้นมารัฐธรรมนูญฉบับหลัง ใช้คำว่า “วุฒิสภา” แทน 

สำหรับที่มาของ ส.ว. ชุดแรกของประเทศไทยนั้น เกิดจาก “การเลือกตั้งทางอ้อม” โดยประชาชนเลือกตัวแทนเข้ามาเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา แต่ต่อมาได้เปลี่ยนให้มาจากการแต่งตั้ง โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้คัดเลือกและถวายให้พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ซึ่งหน้าที่ของ ส.ว. ในช่วงแรกนั้นก็เพื่อเป็นเสมือนพี่เลี้ยงของสภาผู้แทนราษฎร เพราะมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบกลั่นกรองกฎหมาย ให้ความเห็นชอบ และเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ รวมทั้งมีอำนาจเลือกบุคคลที่เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือมิได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาร่วมเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนกิจกรรมอันอยู่ในวงงานของรัฐสภา 

ภายหลังจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ประกาศใช้ ก็ได้เกิดการเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2543 ซึ่งสาเหตุที่ให้มีการเลือกตั้ง ส.ว. นั้น ก็สืบเนื่องมาจากผลพวงของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 ที่เกิดกระแสให้ปฏิรูปการเมืองจากหลายภาคส่วน ทำให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ประชาชนสามารถเลือก ส.ว. เองได้โดยตรงผ่านการเลือกตั้ง โดย ส.ว. ที่ได้รับการเลือกตั้งมีจำนวนทั้งหมด 200 คน และอายุของวุฒิสภามีกำหนดคราวละ 6 ปี ซึ่งผู้ที่จะมาเป็น ส.ว. นั้นต้องมีคุณสมบัติคือ มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด, มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง, สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า เป็นต้น 

อำนาจและหน้าที่ของ ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มีดังนี้ 

  1. ด้านนิติบัญญัติ 

วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ 3 ประการ ได้แก่ กลั่นกรองกฎหมาย พิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด และเสนอให้ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย หรือข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา หรือข้อบังคับการประชุมรัฐสภา 

  1. ด้านการควบคุมตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน 

วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ด้านการควบคุมตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ การตั้งกระทู้ถาม การอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ 

  1. เลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรตรวจสอบต่างๆ 

เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ 

  1. พิจารณาถอดถอนข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ หรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรตรวจสอบต่างๆ 

เช่น นายกรัฐมนตรี , รัฐมนตรี , ส.ส. , ส.ว. , ประธานศาลฎีกา , กรรมการการเลือกตั้ง , ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นต้น 

ต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้มีการแบ่งให้ ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้งจากจังหวัดละ 1 คนรวมทั้งหมด 76 คน (จำนวนจังหวัดในประเทศไทย ณ ขณะนั้น) และมาจากการสรรหาอีก 74 คน รวมทั้งสิ้น 150 คน ส่วนคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็น ส.ว. นั้นยังคงยึดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 แต่วาระของ ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้งนั้นมีวาระดำรงเพียง 3 ปี ในขณะที่ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งนั้นมีวาระ 6 ปีเหมือนเดิม 

อำนาจและหน้าที่ของ ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีดังนี้ 

  1. ด้านนิติบัญญัติ 

วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ 3 ประการ ได้แก่ กลั่นกรองกฎหมาย พิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด และเสนอให้ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย หรือข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา หรือข้อบังคับการประชุมรัฐสภา 

  1. ด้านการควบคุมตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน 

วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ด้านการควบคุมตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ การตั้งกระทู้ถาม การอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการสามัญและคณะกรรมาธิการวิสามัญ  

  1. เลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรตรวจสอบต่างๆ 

เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ 

  1. พิจารณาถอดถอนข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ หรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรตรวจสอบต่างๆ 

เช่น นายกรัฐมนตรี , รัฐมนตรี , ส.ส. , ส.ว. , ประธานศาลฎีกา , กรรมการการเลือกตั้ง , ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นต้น 

ส่วน ส.ว.ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 นั้นเกิดจากการแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวนทั้งหมด 250 คน ที่มาจากหลากหลายอาชีพ รวมถึงผู้ที่ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 

อำนาจหน้าที่ของ ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีดังนี้ 

  1. ด้านนิติบัญญัติ 

วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ 3 ประการ ได้แก่ กลั่นกรองกฎหมาย พิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด และเสนอให้ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย หรือข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา หรือข้อบังคับการประชุมรัฐสภา 

  1. ด้านการควบคุมตรวจสอบตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน 

วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ด้านการควบคุมตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ การตั้งกระทู้ถาม การอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการสามัญและคณะกรรมาธิการวิสามัญ 

  1. เลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรตรวจสอบต่างๆ 

เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ฯลฯ 

  1. การให้ความเห็นเพื่อแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (ในระหว่าง 5 ปีแรก) รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐสภา 

ต้องให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และมติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (750 คน) 

  1. วุฒิสภาตามบทเฉพาะกาล สำหรับวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาลนั้น นอกจากจะมีหน้าที่และอำนาจ 

เช่นเดียวกับวุฒิสภาตามบทบัญญัติหลักแล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้เพิ่มหน้าที่และอำนาจโดยเฉพาะ ซึ่งได้แก่ การติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ เป็นต้น 

สำหรับการเลือกตั้ง ส.ว. ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีดังนี้ 

  1. การเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งแรก วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 
  1. การเลือกตั้ง ส.ว. วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 
  1. การเลือกตั้ง ส.ว. วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 
  1. แต่งตั้ง ส.ว.โดย คสช. วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557 

ผู้เขียน : ณัฐชนน จงห่วงกลาง , ณัฐชัย นาคสุข 

ที่มา : สถาบันพระปกเกล้า / wiki.kpi 1 2 3

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า