fbpx

ฝ่ายบุคคลไม่ต้อง “ChatGPT” ขอลุยเอง !!!

สาธิต กุมาร ซีอีโอของ Glider AI แพลทฟอร์มที่เชี่ยวชาญเรื่องการจ้างคน บอกว่า ChatGPT จะมาช่วยใน 5 แนวทาง สำหรับการจ้างคนให้ตรงกับงาน ดังนี้

การเขียนลักษณะงาน

กุมารบอกว่า ตามปกติ นายจ้างก็จะให้เอไอมาช่วยเรื่องการเขียนลักษณะงาน ว่า งานที่ทำประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ซึ่งก็มีนายจ้างไม่กี่คนหรอก ที่มีพรสวรรค์ด้านการเขียน เขียนแล้วทำให้คนอ่านอยากไปสมัคร ส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีไปก็อปปี้ข้อความจากที่อื่นแล้วมาโพสต์แปะติดลงไป

แต่ ChatGPT จะเข้ามาช่วยในแง่การเขียนลักษณะงานให้มันดูมีความหมาย อ่านแล้วซึ้ง จนอยากสมัครเข้าทำงานที่นี่ นอกจากนี้ ยังช่วยค้นหาข้อมูลจากผู้สมัครว่า ตรงกับงานนี้มั้ย อ่ะ ฟังดูอาจจะยังไม่เข้าใจนะ มาลองดูตัวอย่างง่ายๆ กัน

สมมติว่า เราอยากให้ ChatGPT ช่วยเขียนลักษณะงานของตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล ผลที่ได้ออกมาคือ “ เรากำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีแรงจูงใจ มาร่วมทีมกัน คนที่ผ่านการคัดเลือกจะได้ทำงานกับทีมการตลาดของเรา เพื่อพัฒนาแคมเปญการตลาดดิจิทัลไปในหลายช่องทาง ดันให้เกิดยอดคนเข้าชมเว็บไซต์ และเพิ่มการจดจำแบรนด์ นี่เป็นโอกาสที่ดีสำหรับใครที่มีประสบการณ์จำกัด แต่ต้องการจะเริ่มต้นอาชีพการตลาดดิจิทัล และเรียนรู้จากทีมงานมืออาชีพที่มีพรสวรรค์

ChatGPT ยังช่วยเขียนหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงานนั้นให้เป็นที่รับรู้ เช่น ต้องประสานงานกับฝ่ายการตลาดพัฒนาแคมเปญการตลาดดิจิทัลในหลายช่องทาง อย่างอีเมล์ โซเชียลมีเดีย เซิร์ชเอนจิ้น และการโฆษณา

ทั้งยังช่วยระบุคุณสมบัติเบื้องต้นที่ต้องการ เช่น จบปริญญาตรีด้านการตลาด สื่อสาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง และมีทักษะการติดต่อสื่อสารและการเขียนที่ดี เพื่อรังสรรค์คอนเทนต์ให้เข้ากับแคมเปญการตลาดดิจิทัล

คือยิ่งเราป้อนรายละเอียดที่อยากได้เข้าไปมากเท่าไหร่ ChatGPT ก็จะทำงานได้ละเอียดมากขึ้นเท่านั้น

การเข้าใจลักษณะงาน

ถึงแม้คนจ้างมีแนวโน้มจะเข้าใจในบทบาทของบริษัท แต่พวกเขาอาจจะไม่รู้ว่า แต่ละตำแหน่งที่ต้องการรับ มันมีหน้าที่ยังไงกันแน่ ซึ่งเอไอก็จะเข้ามาช่วยผู้จ้างให้เห็นภาพรวมของตำแหน่งงานได้ดีขึ้น และยังช่วยให้บทสนทนาพูดคุยกับผู้สมัครเป็นไปอย่างมีสาระมากขึ้นด้วย ผ่านการช่วยโต้ตอบทางอีเมล์ หน้าเพจ หรือในหน้าโฆษณาทั้งหลาย

การสรุปรวบยอดคุณสมบัติของผู้สมัคร

ปัญหานี้ คือปัญหาน่าเบื่อที่นายจ้างจะต้องพบเจอ คือ พอลงสมัครงานไปแล้ว ก็จะมีคนแห่ยื่นใบสมัครเป็นร้อยๆ การอ่านเรซูเม่ของแต่ละคน ช่างเป็นเรื่องน่าเบื่อเสียนี่กระไร แล้วไม่ใช่อ่านรอบเดียว ย้ำ !!! ต้องอ่านซ้ำหลายๆ รอบ เพื่อตัดสินใจว่า จะเอามั้ย และจากความเบื่อหน่ายนี่แหล่ะ ที่ทำให้นายจ้างอาจพลาดผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเด็ดดวงไป อย่าว่างั้นงี้เลย ให้ ChatGPT มาช่วยดีกว่า

ChatGPT จะช่วยสรุปเรซูเม่ของแต่ละคน แล้วย่อยมาเฉพาะส่วนที่จำเป็น กลายเป็นคำเล็กๆ ให้นายจ้างกระเดือกเข้าไปง่ายๆ ประหยัดเวลามากเลยทีเดียว

การส่งข้อความตอบกลับเป็นการส่วนตัว

พอเรากระเดือก เอ้ย!!! สรุปรวบยอดเรซูเม่ของผู้สมัคร จนได้คนที่โดนใจแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ ก็ให้ ChatGPT ช่วยร่างอีเมล์ตอบกลับไปยังผู้สมัครแต่ละคนที่เราเลือกมากองๆ ไว้ก่อน แน่นอนว่า ถ้าให้ฝ่ายบุคคลเป็นคนร่าง อีเมล์ตอบกลับก็จะมีหน้าตาเหมือนๆ กัน ไม่มีอะไรเร้าใจหรือเชิญชวนให้คนอยากมาร่วมงาน

แต่พอให้ ChatGPT ช่วยร่างให้ นางก็จะเข้าไปดูจุดเด่นของผู้สมัครรายนั้น แล้วเขียนตอบกลับในแบบที่น่าประทับใจ ยกตัวอย่าง ถ้าผู้สมัครรายนั้นเคยฝึกงานกับ แอปเปิ้ล มาก่อน ChatGPT ก็จะเมล์ตอบกลับประมาณว่า ประทับใจจังที่เธอเคยร่วมงานกับองค์กรยักษ์ใหญ่แบบนี้ นี่ก็หวังว่าจะเอาประสบการณ์จากตรงนั้น มาช่วยบริษัทของเราบ้างนะจ๊ะ อะไรประมาณนี้แหล่ะ !!!

การตั้งคำถามสัมภาษณ์งาน

ChatGPT ยังช่วยตั้งคำถามสัมภาษณ์งาน ซึ่งจะช่วยคัดกรองผู้สมัครที่ดีจริง เหมาะจริง ให้เข้ารอบสุดท้าย ChatGPT เป็นอะไรที่เก็บข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก ดังนั้น จึงสามารถตั้งคำถามได้ดีกว่าคน ที่อาจมีคลังความรู้จำกัด

สมมติตำแหน่งงานที่เปิดรับคือ ผู้เชี่ยวชาญการตลาดดิจิทัล ChatGPT ก็อาจตั้งคำถามว่า เธอมีวิธีติดตามเทรนด์ล่าสุดในโลกของการตลาดดิจิทัลยังไง? เคยทำงานเป็นผู้จัดการโซเชียลมีเดีย หรือ แพลทฟอร์มโฆษณาอื่นๆ มาบ้างมั้ย ? ช่วยเล่าประสบการณ์มาหน่อยสิ มีวิธีเอาความคิดสร้างสรรค์มาผสานเข้ากับข้อมูลต่างๆ ในการวางกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลยังไง ?

แต่ยังไงก็ตาม ก็ต้องระวังข้อผิดพลาดจากการใช้งาน ChatGPT ไว้บ้าง เพราะบางครั้งข้อมูลที่ออกมาจาก ChatGPT ก็ใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไป และยังต้องให้คนมามีส่วนช่วยตรวจสอบในทุกขั้นตอนการจ้างงานเสมอ ส่วนงานที่ออกแนวซ้ำๆ ซากๆ ถึงค่อยเรียกใช้บริการจากเอไอ

ที่มา : fastcompany

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า