fbpx

กระแสหนัง “Barbie” คืนชีพตลาดนักสะสมตุ๊กตา

หลังจากการโปรโมตและเปิดตัวภาพยนตร์  “Barbie” ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ปรากฏว่าขณะนี้ตุ๊กตาบาร์บี้รุ่นวินเทจกลายเป็นสมบัติล้ำค่าที่ทุกคนมองหาในร้านสินค้ามือสอง ราคาของบาร์บี้ในตลาดของสะสมพุ่งสูงขึ้น เช่นเดียวกับจำนวนนักสะสมหน้าใหม่ที่เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์

มีการคาดการณ์ว่า ภาพยนตร์ “Barbie” ที่เพิ่งเปิดตัวไม่นานนี้ จะทำเงินได้ถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่เปิดตัว ผู้ค้าปลีกทั่วโลกต่างคาดหวังที่จะทำกำไรจากกระแสธีมบาร์บี้ฟีเวอร์ ตั้งแต่ในห้องสูทของโรงแรม ไปจนถึงแปรงสีฟันและเครื่องแต่งกาย

นอกจากนี้ ในเว็บไซต์ Reddit ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงราคาตุ๊กตาบาร์บี้ที่ถูกปั่นจนพุ่งสูงขึ้นโดยผู้ซื้อรายใหม่ เนื่องจากกระแสนิยมของภาพยนตร์

มาร์ล เดวิดสัน ดีลเลอร์ตุ๊กตาบาร์บี้จากฟลอริดา กล่าวว่า ราคาตุ๊กตาเพิ่มขึ้นราว 25% ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยในเว็บไซต์ MarlBe.com ของเธอ มีผู้เข้าชมราว 3,000 คนต่อวัน ซึ่งคิดเป็น 3 เท่าจากช่วงเวลาปกติ และส่วนใหญ่จะมาจากคนที่เริ่มสะสมตุ๊กตา

โดยทั่วไป ตุ๊กตาที่เป็นที่ต้องการของเหล่านักสะสมจะมีมูลค่าอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐ ขณะที่ตุ๊กตาทั่วไปจะมีมูลค่าระหว่าง 10 – 30 เหรียญสหรัฐ ส่วนบาร์บี้หายากระดับ “จอกศักดิ์สิทธิ์” คือบาร์บี้รุ่นที่ผลิตในปี 1959 มีมูลค่าหลายพันเหรียญสหรัฐ

ดร.ลอรี เวอร์เดอแรม นักประวัติศาสตร์ศิลปะผู้มีประสบการณ์ 25 ปี ในฐานะนักประเมินราคาวัตถุโบราณ กล่าวว่า เจ้าของตุ๊กตาบาร์บี้ที่ติดต่อให้เธอประเมินราคาตุ๊กตานั้น เป็นนักสะสมรุ่นเก๋าที่ต้องการประเมินมูลค่าประกันของขุมทรัพย์ของพวกเขา

เวอร์เดอแรมกล่าวว่า ภาพยนตร์ “Barbie” ก่อให้เกิดความต้องการการประเมินราคาที่เพิ่มขึ้นราว 60% ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเอาชนะแบรนด์ตุ๊กตาอื่นๆ ที่มีความนิยมมากกว่า โดยผู้ที่ต้องการประเมินราคาตุ๊กตาส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์น้อย หรือไม่มีประสบการณ์ด้านการสะสมตุ๊กตา เช่น คนที่ซื้อตุ๊กตาบาร์บี้จากร้านมือสอง และพบว่าตุ๊กตาที่พวกเขาซื้อมานั้น มีมูลค่ากว่า 10,000 เหรียญสหรัฐ รวมทั้งกลุ่มที่เห็นตุ๊กตาอยู่ในบ้านของแม่นานหลายปี และพบว่าตุ๊กตาตัวนั้นมีมูลค่า 8,500 เหรียญสหรัฐ

เวอร์เดอแรมกล่าวอีกว่า ตุ๊กตาบาร์บี้ที่มีมูลค่าสูง “ยังคงรอให้ทุกคนค้นพบจากการล่าสมบัติในร้านมือสอง” อย่างไรก็ตาม เธอประเมินว่า ยอดขายที่พุ่งสูงเช่นนี้จะคงอยู่อีกราว 2 สัปดาห์เท่านั้น

ที่มา : reuters

Photographer

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า