fbpx

‘Aspirin’ จากสารเคมีในห้องทดลองสู่ยาสามัญประจำโลก

‘ไม่มียาชนิดใดในโลกที่มีประวัติศาสตร์อันน่าทึ่งและทำลายสถิติในวงการยาเช่นนี้’

ขอย้อนกลับไปเมื่อราวปี ค.ศ.1763 ในวงการแพทย์ได้มีการทดลองใช้เปลือกของ ต้นวิลโลว (Willow) ซึ่งมีสารที่เรียกว่า ซาลิซิน (Salicin) ที่สามารถลดอาการปวด อักเสบ หรือไข้ได้ มารักษาโรคไข้มาลาเรีย และเมื่อการทดลองนั้นประสบความสำเร็จ จึงได้มีการทดลองและศึกษาโครงสร้างทางเคมี โดยการสกัดสารนั้นออกมา และเรียกสารนั้นว่า ซาลิไซลิกแอซิด (Salicylic Acid)

จนราวปีค.ศ. 1897 ได้มีการพัฒนาโครงสร้างทางเคมีของ ซาลิไซลิกแอซิด (Salicylic Acid) จนกลายเป็น อะซีทิลซาลิไซลิกแอซิด (Acetylsalicylic Acid) หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ‘ยาแอสไพริน’ (Aspirin) ซึ่งมีสรรพคุณในการลดอาการปวด ลดการอักเสบ และไข้ อีกทั้งยังมีประโยชน์อีกหลากหลายอย่างน่าประหลาด ไม่เพียงแต่หยุดยั้งความเจ็บปวดเท่านั้น ยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือดในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

และจากความสำเร็จข้างต้น ทำให้ในปีค.ศ. 1899 บริษัทที่ดูแลการผลิตยาแอสไพรินอย่าง ไบเออร์ (Bayer) จดทะเบียนให้แอสไพรินเป็นเครื่องหมายทางการค้า และออกสู่ตลาดในปีเดียวกัน แม้ช่วงแรกจะวางขายเป็นรูปแบบผงให้ร้านขายยา นำไปแบ่งขายให้ลูกค้า แต่อีกเพียงหนึ่งปีถัดมา ไบเออร์ก็เปิดตัวยาแอสไพรินในรูปแบบแท็บเล็ตอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน ซึ่งแอสไพรินก็เป็นยาตัวแรก ๆ ที่มีการวางขายในรูปแท็บเล็ตอีกด้วย

กว่า 120 ปีที่โลกมีแอสไพริน ปัจจุบันยาบรรเทาปวดตัวนี้ยังได้รับการยอมรับในระดับสากล เชื่อถือได้ และคุ้มค่า อีกทั้งถูกใช้เป็นเกณฑ์มาตราฐานในการวัดเรื่องของการบรรเทาปวด ในแง่ของผู้บริโภคก็ไม่ต้องสงสัยในเรื่องของประสิทธิภาพ เพราะแอสไพรินเป็นยาบรรเทาปวดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และอยู่ในรายชื่อยาที่จำเป็นขององค์กรอนามัยโลกอีกด้วย

Journalist

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า