fbpx

วิษณุ เครืองาม : การตระหนักรู้เกี่ยวกับสื่อปลอดภัยในช่วงโควิด-19 สำคัญอย่างไรกับคนไทย?

ว่ากันว่าช่วงที่มีสถานการณ์ต่างๆ เป็นจำนวนมากนั้น ปัญหาสำคัญที่พบเจอกันเลยก็คือ “ข่าวปลอม” รวมไปถึง “สื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์” ที่เกิดขึ้นจำนวนมากนั่นเอง คำถามคือ “แล้วเราจะเสพสื่ออย่างไรให้ปลอดภัยล่ะ?” นี่คงเป็นคำถามที่ทั้งคนในสังคมและคนทำงานด้านสื่อเองต่างก็จับจ้องมองปัญหากันอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

วันนี้ เนื่องในโอกาสที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์กำลังจะเปิดรับทุนในปี 2564 แล้ว เราเลยขอเชิญท่าน “วิษณุ เครืองาม” มาร่วมพูดคุยถึงเรื่องราวในการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการสร้างสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์กันครับ ว่าเราควรทำอย่างไรกันดีบ้าง? แล้วหนทางการพัฒนาสื่อต่อไปควรจะเป็นอย่างไร ในฐานะที่ท่านเป็นประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ไปติดตามกันครับ

การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน คือการเป็นหูเป็นตา

“การมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นทำได้ หนึ่งก็คือการเป็นหูเป็นตา มาแจ้งเบาะแสให้ทราบว่ามันมีสื่ออะไรที่ไม่ปลอดภัยหรือไม่สร้างสรรค์ หรือว่ามีความพยายามทำอะไรที่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดความไม่เรียบร้อยทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ข้อที่สองก็คือ ประชาชนเองที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาช่วยในการผลิตสื่อ เข้ามาขอทุนของกองทุนนี้เพื่อที่จะไปผลิตสื่อ ตรงนี้เด็ก นักเรียน ครูบาอาจารย์ ท่านอาจจะมีสติปัญญา มีเวลา และมีความสนใจมากหน่อย และประการที่สามก็คือ วันที่ประชาชนอยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ แต่ว่าทำตัวเป็นผู้บริโภคสื่อที่ดี ผู้บริโภคสื่อที่ดีก็คือไม่หลงเชื่อคล้อยตามไปง่าย ๆ เป็นพวกที่มีสติ เป็นพวกที่มีความยั้งคิด ข่าวมันผ่านมาก็ให้มันผ่านไป และก็ตรวจสอบก่อนที่จะไปร่ำลือกัน แชร์ หรือว่าไปบอกต่อ เราอยู่ในโลกของสื่อ สื่อที่ผ่านเราไปวัน ๆ มันมีทั้งข่าวเท็จ มันมีทั้งข่าวจริง มันมีทั้งข่าวที่หยาบคาย มีทั้งข่าวที่สุภาพ เพราะฉะนั้นทำตัวเป็นผู้บริโภคสื่อที่ดีก็จะช่วยได้มากที่สุดแล้วครับ”

ข่าวปลอมเราต้องรู้ให้ทันก่อนใคร

“ข่าวปลอมมันจะมาเป็นฤดูกาล เพราะในบางฤดูกาลจะมีประชาชนรู้สึกระแวงอยู่แล้วว่าข่าวอาจจะไม่จริง ข่าวปลอมจะไม่ค่อยมีผลเท่าไหร่ ตัวอย่างเช่น ตอนโควิด-19 ระบาด คนไม่ค่อยรู้ว่าอะไรจริงไม่จริง งั้นข่าวเข้ามาคนก็จะบริโภค จะเสพ และก็จะแพร่ ตรงนี้ก็ต้องกลับมาที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องเป็นฝ่ายที่ให้ข้อมูลข่าวจริงไปก่อนเพื่อน เพื่อที่จะไปต้านข่าวที่ไม่จริง ประการที่สองคือแก้ข่าว ถ้าหากเราแพร่ข่าวไปก่อนไม่ทัน แล้วอีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นคนสร้างข่าวปลอมมาแล้ว มันต้องมีหน่วยที่ตรวจสอบ เช็ค และแจ้งประชาชนเขาได้ทันท่วงที โดยเฉพาะข่าวใหญ่ ๆ สำคัญ คงไม่ขนาดไปปฏิเสธทุกข่าว เอาแค่ข่าวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัย ข่าวที่มีผลต่อวิถีชีวิต  ข่าวที่มีผลต่อการเมืองการปกครอง ความมั่นคง ข่าวที่เกี่ยวข้องกับการทำมาหากินประกอบอาชีพ ข่าวพวกนี้ต้องออกจากรัฐก่อน ถ้าออกไปไม่ทันข่าวเท็จมาก่อนก็ต้องแก้ข่าวออกไปเร็วที่สุด และก็เตือนกันให้คนรู้เท่าทันสื่อ วิธีที่จะรู้เท่าทันสื่อมีหลายวิธีด้วยกัน มันเป็นวิชาที่สอนกันได้ ก็ใช้หลักพระพุทธเจ้า หลักกาลามสูตร อย่าเชื่อว่าผู้พูดเป็นครูของเรา อย่าเชื่อเพราะว่าฟังแล้วมีตรรกะ มีตรรกะแต่มันผิด ของแบบนี้เข้าใจแล้วจะยั้งคิด”

เสพสื่ออย่างรู้ทันจะก่อให้เกิดผลดีมากที่สุด

“คือสื่อเอาไว้มีให้เสพ แต่ต้องเสพอย่างคนที่เขารู้เท่าทัน ก็คือเสพอย่างรู้เท่าทัน คือเสพมีสติ มีสัมปชัญญะ และก็มีความรอบรู้พอสมควร เพราะถ้าเราไม่รอบรู้ แล้วจะตกเป็นเหยื่อได้ง่าย และเราจะทำอะไรผิดพลาดไป เยอะแยะไปหมด ผมเป็นห่วงมากหน่อย คือสื่อที่มาในรูปแบบโฆษณา และเป็นการโฆษณาที่มันไม่จริง ประเภทที่สองที่เป็นห่วงก็คือสื่อที่มาในรูปของ Hate speech ให้เกิดความจงเกลียดจงชัง ไม่เป็นมิตร เรารู้ว่ากัลยาณมิตรคือมิตรที่สนิทสนมกลมเกลียว แต่มันมาเป็น Hate speech มันจะทำให้คนเกลียด คนระแวง เป็นศัตรูกัน สองอย่างนี้เป็นอันตราย”

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า