fbpx

เดชรัต สุขกำเนิด : เมื่อเกษตรกรยังต้องการรัฐสวัสดิการเฉกเช่นคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคมเหมือนกัน

จากบทสัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ที่เรานำเสนอเรื่องรัฐสวัสดิการกับการสร้างอนาคตของ “ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี” ที่ได้ลงไปแล้วนั้น วันนี้เรามีภาคต่อที่เกี่ยวข้องกับรัฐสวัสดิการและเกษตรกร เนื่องจากเรามีโอกาสได้ไปงานเวทีเสวนา “เกษตรกรรุ่นใหม่สู่รัฐสวัสดิการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย” ซึ่งจัดไปเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 โดยมีเกษตรกรและนักวิชาการมาร่วมให้ข้อแลกเปลี่ยนกันเป็นอย่างมาก

คนหนึ่งที่เราไม่คุยไม่ได้ นั่นก็คือ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด นักวิชาการอิสระ ที่ร่วมขับเคลื่อนเรื่องรัฐสวัสดิการ และที่บ้านยังทำอาชีพเป็นเกษตรกรด้วย เราจะมาคุยในมุมมองของอาจารย์กันครับว่าทำไมรัฐสวัสดิการจึงสำคัญสำหรับเกษตรกร ซึ่งไม่ได้หมายความว่าทุกอาชีพจะไม่ต้องการ แต่นี่จะเป็นหนึ่งมิติเท่านั้นที่จะบ่งบอกถึงความต้องการของคนไทย ติดตามกันครับ

รัฐสวัสดิการที่แท้จริง คือการที่รัฐช่วยทำให้คนได้ทำตามความฝัน

“คือความฝันของผมอยากให้ทุกคนมีโอกาสทำตามความฝัน เวทีวันนี้ก็คือเรื่องเกษตรกรยุคใหม่ ซึ่งก็อยากจะทำตามความฝัน แม้ว่าส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าไม่มีใครอยากเป็นเกษตรกร แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่อยากขึ้นมาเป็นวิทยากรก็คือทำความฝัน แต่ความยากของการเป็นเกษตรกรก็คือความเสี่ยงที่มีอยู่ในอาชีพและก็ความเสี่ยงที่อยู่ในชีวิต เช่น ถ้าเกิดมีการตกงานเกิดขึ้น รายได้ไม่ดี สวัสดิการที่มันจะมีคืออะไร เพราะงั้นความฝันของผมก็คือการที่มีระบบรัฐสวัสดิการที่ดีพอให้ทุกคนทำตามความฝันได้ครับ”

ปัจจัยสำคัญคือที่ดิน และภาพจำของเกษตรกรคือต้องมีที่

“อันนี้เรียกว่าปัจจัยที่ต้องมีในเกษตรกร เพราะงั้นก็ต้องมีปัจจัยเหล่านี้ จริงๆ อย่างเรื่องที่ดินและก็น้ำ สองข้อนี้ก็เป็นข้อที่จำกัดความฝันของเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยเฉพาะถ้าไม่มีที่ดินของคุณพ่อ คุณแม่ หรือของตัวเองมาก่อน วันนี้พูดคุยเพิ่มเติมกันอีก 3 เรื่องต่อจากเรื่องที่ดินและน้ำ ก็คือเรื่องหนี้  ถ้ามีปัญหาเรื่องหนี้ การทำตามความฝันก็ทำได้ยากนะครับ รวมถึงวันนี้ก็มีความฝันเรื่องเกษตรอินทรีย์ก็ยิ่งยากเมื่อถ้าเรามีหนี้สิน และก็มีความเสี่ยงทางภัยธรรมชาติทั้งหลาย พวกนี้ก็ตัวแปรสำคัญอีกข้อหนึ่งและตัวที่ตามก็คือราคาผลผลิตทางการเกษตร ทั้งหมดคือตัวจำกัดความฝัน ซึ่งประเด็นเรื่องราคาทั้งตลาดที่เกษตรกรจะต้องวางแผนและก็กลไกของราคาตลาดที่จะต้องมาดูแลสินค้าเกษตรในบ้านเรา”

ราคาสินค้าเกษตรไม่สัมพันธ์กัน ย่อมส่งผลต่อการบริโภค?

“ตรงนี้ต้องแยกกันว่าเราพูดถึงราคาที่ไหน ผมว่าเรื่องนี้เราอาจจะไม่ค่อยได้แยกกันออกมา ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราขายที่ใกล้บ้านเรา ราคาเกษตรอินทรีย์อาจจะไม่สูงนัก แม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงกว่าปกติ แต่ว่าถ้ามีค่าขนส่งที่มันไม่สูง เขาก็เข้าไปขายในจุดนั้นได้ แต่ว่าถ้าขนส่งมาถึงกรุงเทพฯ เป็นไปได้ที่จะถูกบวกต้นทุนเพิ่มรวม ทั้งบวกผลตอบแทนผู้ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลาง มันจะทำให้ราคาสูงขึ้นนะครับ และก็ราคาที่เป็นห่วงจริง ๆ คือราคาอาหารโดยภาพรวมมันสูงขึ้นมาก มันก็จะกลายเป็นปัญหา เราจะต้องแก้ทั้งสองข้าง คือทำไงให้เกษตรกรและผู้บริโภคได้ราคาที่สมดุลทั้งสองฝ่าย สิ่งที่ได้คือทำให้ supply chain สั้นลง ทำไงที่จะได้เจอโดยง่ายที่สุด โดยเร็วที่สุดและก็โดยสั้นที่สุด”

การเมืองเกี่ยวข้องกับทุกสิ่ง โดยเฉพาะรัฐสวัสดิการ

“คือแบ่งได้เป็นสามระดับนะครับ การเมืองระดับแรกก็คือถ้ามีหลักพื้นฐานเช่นรัฐสวัสดิการ ทำให้ความเสี่ยงโดยพื้นฐานของเกษตรกรน้อยลง อันที่สองผมคิดว่ามันช่วยในเรื่องของการดูแลนโยบายเรื่องราคาต่าง ๆ ดูแลได้ดี ความเสี่ยงของพี่น้องเกษตรกรก็น้อยลง สุดท้ายก็คือการสนับสนุนในด้านอื่น ๆ เช่น การตรวจสอบคุณภาพ อันนี้ก็จะช่วยลดต้นทุนในกับพี่น้องเกษตรกรเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้ได้ครับ”

ประชานิยมในอดีตไม่ได้แก้ไขปัญหาแบบตรงจุด

“คือมันจะแยกเป็นสองส่วน คือรัฐสวัสดิการจะช่วยตอบโจทย์แบบพื้นฐานสำหรับทุกคน อันนี้ประเด็นที่หนึ่ง คำตอบก็คือใช่ว่าประชานิยมก็ไม่ได้ตอบโจทย์ในระบบ ในขณะเดียวกันที่เราพูดเรื่องปัญหาความยากจน ช่วยเหลือพี่น้องให้รอดพ้นจากความยากจน มันจะต้องมีความต่อเนื่องระดับหนึ่งเพื่อที่จะให้เขาหลุดพ้นยากจน แต่ในแง่ของความช่วยเหลือประชานิยมด้วยวิธีทางการตลาดทางการเมืองเขามักจะทำให้มันดูตื่นเต้น เมื่อทำให้ดูตื่นเต้น ผลเสียที่มันจะตามมาก็คือเกษตรกรก็จะวางแผนไม่ได้ พูดง่าย ๆ ก็คือไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้มีนโยบายนี้ และก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะมีนโยบายนี้อีก มันทำให้ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากระบบรัฐบาลที่เข้ามามันน้อย”

รัฐสวัสดิการจะเป็นจริงได้ก็ด้วยประชาชน

“คือถ้าทั้งหมดหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยที่ผ่านก็คือเกิดมาจากประชาชน เพียงแต่ว่านอกจากประชาชนแล้วก็จะมีผู้ที่พัฒนาแนวความคิด วิธีการ แนวระบบปฏิบัติชัดเจน ถ้าเราพัฒนาแนวคิด กลไกต่าง ๆ พัฒนาชัดเจนบวกกับความต้องการพี่น้องประชาชนที่เข้มแข็งนะครับ ผมคิดว่าก็ทำได้ครับ”

เกษตรกรก็ต้องการรัฐสวัสดิการไม่แพ้ไปจากคนอื่น

“คือผมคิดว่า ถ้าเรามองจากมุมทำไมต้องมีรัฐสวัสดิการเพราะว่าชีวิตมีความเสี่ยง พี่น้องเกษตรกรก็เป็นชีวิตที่มีความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นระบบรัฐสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับพี่น้องเกษตรกรที่จะลดความเสี่ยงภัยต่าง ๆ ที่มันเกิดขึ้นกับพี่น้องเกษตรกร ผมว่าจุดนี้น่าจะเป็นจุดสำคัญที่เราจะต้องมีรัฐสวัสดิการสำหรับอาชีพเกษตรกร”

แน่นอนว่าสำหรับอาชีพเกษตรกร สิ่งสำคัญก็คือการเข้ามาช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อนที่เขามีอยู่ได้ ซึ่งการช่วยเหลือเฉพาะหน้าก็ยังคงสำคัญอยู่ แต่นอกเหนือจากนั้นก็คือการเกิดรัฐสวัสดิการที่จะสามารถช่วยเหลือคนทุกคนได้อย่างแท้จริงนั่นเอง

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า