fbpx

3 แบรนด์โฮมช็อปปิ้งที่ใครๆ เห็นเป็นอันต้องซื้อ

หลายคนคงจะคุ้นเคยกับการซื้อสินค้าในรูปแบบของ “เห็นก่อนซื้อ” โดยเฉพาะการเดินตามห้างสรรพสินค้าเพื่อเลือกซื้อและทดลองใช้สินค้าก่อน แต่ในช่วงยุค 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเราเริ่มรู้จักการซื้อสินค้าในรูปแบบของ “ทีวีโฮมช็อปปิ้ง” จากการเสนอขายสินค้าจากต่างประเทศ บ้างก็ดี หรือการที่ยุคสมัยหนึ่งสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (ช่อง 7HD ในปัจจุบัน) ทำรายการแนะนำสินค้าขึ้นมา ซึ่งหลังจากนั้นจึงเริ่มมีผู้บุกเบิกการตลาดแนวนี้เป็นจริงเป็นจริง หนึ่งในนั้นคือ “ทีวี ไดเร็ค” ที่นำเสนอรายการแนะนำสินค้าที่หลากหลาย จนทำให้ใครหลายๆ คนจดจำกับรายการที่ออกช่วงยามไทม์นั่นแอง

ถัดมาในยุค 10 ปีให้หลัง โอ ช้อปปิ้งก็บุกเบิกการนำเสนอสินค้าในรูปแบบ Shopinfotainment ซึ่งเป็นการรวมคำมาจาก Shopping – Information – Entertainment โดยเน้นการขายสินค้าจากตัวผู้ทดลองใช้จริงในนามของ Showhost และอธิบายคุณสมบัติของสินค้า พร้อมทดลองการใช้ให้ดูเพื่อประกอบการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังแทรกความบันเทิงเข้าไปอีกด้วย ซึ่งเป็นแนวคิดที่มาจากเกาหลีใต้ ทำให้หลายเจ้าหันมาใช้ระบบแบบนี้จนได้รับความนิยมในปัจจุบันนั่นเอง

วันนี้คอลัมน์ “เทียบหมัดต่อหมัด” ขอนำเสนอ 3 แบรนด์ทีวีโฮมช็อปปิ้งที่ใครๆ เห็นแล้วเป็นอันต้องร้องอ๋อ ไม่แน่ว่าคุณอาจจะเคยซื้อสินค้าจาก 1 ใน 3 แบรนด์นี้อยู่ก็เป็นไปได้ และแน่นอนว่าท่ามกลางการเติบโตของ e-commerce นั้น ทีวีโฮมช็อปปิ้งนั้นก็ยังเป็นอีกสนามที่ยังอยู่รอดได้ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายและวิธีการนำเสนอสินค้าที่แตกต่าง ย่อมทำให้ผู้ซื้อต่อยอดและตัดสินใจได้ง่ายกว่าออนไลน์อย่างแน่นอน

เริ่มกันที่ TV Direct ที่เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2542 ในนาม “บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด” ก่อนที่จะเติบโตจนนำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้สำเร็จ ปัจจุบันมีนามสกุล (มหาชน) พ่วงท้ายเป็นที่เรียบร้อย ปัจจุบันมีอายุอยู่ที่ 23 ปี ก่อตั้งโดย “ทรงพล ชัญมาตรกิจ” และมีทุนจดทะเบียน 1,007 ล้านบาท โดยทีวี ไดเร็ค เริ่มต้นมาจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องออกกำลังกาย โดยขายผ่านโทรทัศน์จนได้รับความนิยม และต่อยอดแบรนด์ In-house ออกมาเป็นจำนวนมาก และมีช่องทางการจำหน่ายปัจจุบันที่ไร้รอยต่อ ทั้ง Shop Offline, Shop On Air และ Shop Online

อย่างไรก็ดี จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าในปี 2564 รายได้ของทีวี ไดเร็ค มีรายได้รวมเพียง 2,397.2 ล้านบาท ในขณะที่รายจ่ายปี 2564 มีสูงถึง 2,703 ล้านบาท ทำให้มียอดขาดทุนสุทธิที่ 260.2 ล้านบาท

ในขณะที่อีกบริษัทที่ถือเป็นต้นทางในการนำเสนอสินค้าในรูปแบบการจับเวลา และใช้ Showhost นั่นก็คือ โอ ช้อปปิ้ง โดยได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 ปัจจุบันมีอายุร่วม 10 ปี ในปัจจุบันโอ ช้อปปิ้ง อยู่ภายใต้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ภายใต้บริษัท จีเอ็มเอ็ม โอ ช้อปปิ้ง จำกัด มีทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 540 ล้านบาท มีผู้บริหารปัจจจุบันคือ “ก่อสาภ สุวัชรังกูร” แต่เดิมนั้นโอ ช้อปปิ้งเป็นความร่วมมือระหว่าง CJ O Shopping ในเครือ CJ ENM จากเกาหลีใต้ กับจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และสุดท้ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ขอลุยเดี่ยวร้อยเปอร์เซ็นต์ ด้วยการซื้อหุ้นจาก CJ ENM ทั้งหมด เพื่อมาบริหารต่อ สำหรับรายได้รวมในปี 2564 จีเอ็มเอ็ม โอ ช้อปปิ้ง มีรายได้รวม 1,332.9 ล้านบาท และมีรายจ่ายรวม 1,327.3 ล้านบาท ทำให้มีกำไรรวม 5.3 ล้านบาท

ตกท้ายด้วยอีกเจ้าที่ขอลงสนามเล่นกับเขาด้วย อย่าง true Shopping ที่ดำเนินการโดยบริษัท ทรู จีเอส จำกัด จดจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 เพิ่งครบรอบปีที่ 11 ไปหมาดๆ และมีทุนจดทะเบียน 340 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบัน true Shopping ดูแลโดย “องอาจ ประภากมล” ในปี 2564 มีรายได้รวม 2,063.5 ล้านบาท รายจ่ายรวม 2,035 ล้านบาท ทำให้มีกำไรรวม 28.5 ล้านบาท ปัจจุบันทรู จีเอส ดูแลแพลตฟอร์ม true Shopping โดยได้ขยายฐานผู้ซื้อด้วยการซื้อผังรายการโทรทัศน์นอกเครือทรูมากขึ้น

Content Creator

Graphic Designer

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า