fbpx

The Shock 13: รายการวิทยุเล่าเรื่องผีที่สร้างกำไรหลักล้าน

หากพูดถึงรายการวิทยุที่นำเสนอเรื่องราวของความเชื่อ เรื่องลี้ลับ และความน่ากลัว หนึ่งในรายการวิทยุยอดนิยมที่มีผู้ฟังจำนวนมาก และสร้างกระแสได้มากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นก็คือ “The Shock 13” ที่มีแกนนำคนเล่าเรื่องผีอย่าง “กพล ทองพลับ” นั่นเอง ผู้ที่เล่าเรื่องผีผ่านหน้าปัดวิทยุมาอย่างยาวนาน จนปัจจุบันมาเป็นนักเล่าเรื่องผีบนโลกออนไลน์ และเป็นตำนาน “ป๋อง โคกะโหลก” (ซึ่งเราไม่ขอเล่ารายละเอียด อยากรู้ไปติดตามเอานะครับ) แน่นอนว่าวันนี้ Modernist Growth จะนำข้อมูลรายได้มาเล่ากัน

รายการ The Shock 13 ดำเนินการโดย บริษัท เดอะ ช็อค 13 จำกัด มีคณะกรรมการบริษัท ได้แก่ กพล ทองพลับ เริ่มดำเนินการในวันที่ 9 กรกฎาคม 2545 และมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท โดยดำเนินการจัดรายการวิทยุและสื่อออนไลน์เป็นหลัก โดยรายได้ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาค่อนข้างลดลงจากการปรับเปลี่ยนมาดำเนินการบนออนไลน์เป็นการทดแทน แต่ก็ยังมีวิทยุที่รับสัญญาณออกอากาศเป็นหลักบ้าง ซึ่งรายการออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลาตั้งแต่ 22.00-03.00 น.

สำหรับรายได้ในรอบ 3 ปีหลัง (2561-2563) แบ่งเป็นดังนี้
ปี 2561 – รายได้รวม 8,599,002 บาท กำไรสุทธิ 2,931,759 บาท
ปี 2562 – รายได้รวม 6,660,852 บาท กำไรสุทธิ 1,285,127 บาท
ปี 2563 – รายได้รวม 4,612,227 บาท กำไรสุทธิ 1,059,207 บาท

ซึ่งเสน่ห์ของเดอะช็อค คือการรวบรวมเรื่องราวสุดหลอนมาเล่าให้ฟัง ผสมกับการโทรศัพท์พูดคุยหน้าไมค์ของผู้ฟังที่เสมือนได้เจอประสบการณ์ร่วมกันอีกด้วย นอกเหนือจากนี้ยังรวมถึงลีลาในการเล่าเรื่องราวของทีมนักจัดรายการวิทยุที่ทำให้ได้อรรถรสในการฟังมากขึ้นอีกด้วย จนสามารถต่อยอดไปยังแพลตฟอร์มอื่นๆ ได้ด้วย เช่น พอดแคสต์หรือรายการโทรทัศน์ แน่นอนว่าในวันนี้เดอะช็อคเป็นที่พูดถึงและประสบความสำเร็จมานานหลายสิบปีแล้ว

ในทางกลับกัน ด้วยปัจจุบันที่รายการประเภทนี้มีการแข่งขันที่สูงขึ้น สิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจสื่อในยุคนี้คือการปรับตัวและต่อยอดธุรกิจให้ได้มากที่สุด นอกเหนือจากการมีคอนเทนต์ที่อยู่ในมือแล้ว จำเป็นด้วยที่จะต้องนำคอนเทนต์มาพัฒนาให้เป็น ดังเช่นกรณีศึกษาของรายการวิทยุที่รับปรึกษาปัญหาหัวใจอย่าง “Club Friday” ที่ต่อยอดออกมาเป็นหนังสือ เพลง คอนเสิร์ต รายการโทรทัศน์ และละครในรูปแบบซีรีส์ ซึ่งล้วนประสบความสำเร็จมานับไม่ถ้วน นั่นก็เป็นเพราะการนำคอนเทนต์จากแค่บนหน้าปัดวิทยุมาต่อยอดและพัฒนาให้เป็นคอนเทนต์อื่นๆ และลงในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมเช่นกัน

สุดท้ายนี้ขอฝากคำเตือนว่า ใครที่พูดคำว่า “พูดได้เหรอ?”
ให้คุณตระหนักได้เลยว่า ไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่นอน
เฉกเช่นกับเรื่อง “โคกะโหลก” นั่นเอง

Journalist

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า