fbpx

นโยบายและทิศทางการดำเนินงานการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้า สู่บทบาทใหม่ในนาม TCCT

สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สำนักงาน กขค.) จัดงานแถลงนโยบายและทิศทางการดำเนินงานในการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าของ สำนักงาน กขค. ประจำปี พ.ศ. 2565 สู่บทบาทใหม่ “Trade Competition Commission of Thailand” (TCCT) วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องอินฟินิตี้บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์กรุงเทพ และทาง Zoom Meeting

สำนักงาน กขค. กับบทบาทใหม่ “Trade Competition Commission of Thailand” (TCCT) แต่พันธกิจและวิสัยทัศน์ยังคงเดิมคือ การแข่งขันต้องมีการส่งเสริม และการกับกำดูแลการประกอบธุรกิจให้เกิดขึ้นอย่างเสรีเป็นธรรม เท่าเทียมกัน เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน รวมทั้งข้อกฎหมายต่างๆ ต้องเอื้อต่อการแข่งขันทั้งรายเล็ก-รายใหญ่

ศาสตราจารย์สกนธ์ วรัญญูวัฒนา ประธานกรรมการการแข่งขันทางการค้า ได้ให้ข้อมูลผลการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2564 กล่าวว่า คณะกรรมการได้ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลกฎหมายการแข่งขันทางการค้าฉบับใหม่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา การมีกฎหมายการแข่งขันทางการค้าเป็นเรื่องสำคัญของประเทศไทย เป็นกฎหมายที่มีการปรับปรุงออกมานำไปสู่การปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ การแข่งขันทางการค้า จะช่วยยกระดับความสามารถในการผลิตของประเทศ ช่วยเพิ่มโอกาสการจ้างงาน โอกาสการหารายได้ ซึ่งนำไปสู่การยกระดับชีวิตของทุกคนในประเทศ

วิกฤตโควิด-19 สะท้อนปัญหา และสิ่งที่ประเทศไทยควรต้องทำในการฟื้นฟูประเทศ ให้ก้าวสู่ประเทศผู้นำในทางเศรษฐกิจ กลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนคือ กฎกติกา การปฏิบัติที่ดีที่ทำให้เกิดการแข่งขันทุกๆ ภาคส่วนอย่างเป็นธรรม

การรับเรื่องร้องเรียนปี 2564 จำนวนเรื่องร้องเรียนการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากถึง 71 เรื่อง มากกว่า 2 เท่าในปี 2563 โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด อยู่ในธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Platform) และการใช้อำนาจเหนือตลาดโตยมิชอบ (มาตรา 50) เป็นลักษณะพฤติกรรมที่มีเรื่องร้องเรียนมากที่สุด

การพิจารณาคดีการแข่งขัน : ระหว่างปี 2561 – 2564 ได้พิจารณาคดีแข่งขันไปแล้ว 14 คดี จำแนกเป็น คดีอาญา จำนวน 3 คดี และคดีปกครอง จำนวน 11 คดี โดยค่าปรับจากคดีการแข่งขันทางการค้าทั้งหมดมูลค่าประมาณ 34 ล้านบาท

ศาสตราจารย์สกนธ์ วรัญญูวัฒนา กล่าวว่าการทำหน้าที่ของ กขค. เราได้เร่งรัดในการทำงาน และพยายามดูแลกฎกติกา ดูแลการกระทำความผิดภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าอย่างเข้มข้น แต่ปณิธานไม่ใช่เรื่องจำนวนคดี แต่สิ่งสำคัญคือการวางรากฐานของการกำกับดูแล กฎกติกาการแข่งขันทางการค้าที่ควรจะเป็น

การกำกับการรวมธุรกิจ ในปี 2564 สถิติการควบรวมเพิ่มสูงขึ้นกว่าเท่าตัว มูลค่าของการควบรวมธุรกิจ พุ่งสูงถึง 2.1 ล้านล้านบาท (เพิ่มขึ้น 3.4 เท่าจากปีก่อน) กลุ่มธุรกิจบริการมีสัดส่วนการควบรวมธุรกิจมากที่สุดถึง 32% รองลงมาคือกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 24%

ปัจจุบัน มูลค่าการรวมธุรกิจตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา มีมูลค่าถึง 3.3 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของประเทศประมาณ 14 ล้านล้าน กล่าวคือขนาดการรวมธุรกิจในปัจจุบัน มีมูลค่าถึง 1 ใน 3-4 ของขนาดเศรษฐกิจรวมทั้งประเทศ

จำนวนตลาดที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ 46 ตลาด จากจำนวน 65 ตลาด มีแน้วโน้มการกระจุกตัวเข้าข่ายมีอำนาจเหนือตลาดตามกฎกติกาที่สำนักงาน กขค. ได้วางไว้

สถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปี 2563 จากการลงทุน การบริโภคภาคเอกชน และการส่งออกขยายตัว แต่คงได้รับปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19

สถานการณ์การแข่งขันทางการค้าจากโครงสร้างเศรษฐกิจในปี 2564 มีแนวโน้มการกระจุกตัวอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นผลสีบเนื่องจากวิกฤติ COVID – 19 โดยส่งผลให้จำนวนเรื่องร้องเรียนด้านการแข่งขันเพิ่มขึ้นและสถิติการรวมธุรกิจเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และส่วนใหญ่เป็น Cross – border cases

จากการสำรวจของ ETDA พบว่ามูลค่าการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลเพิ่มขึ้นอยู่ตลอด อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี 2560-2564 ถึง 9.79% สิ่งที่น่ากังวลคือ การเข้ามาของธุรกิจดิจิทัล โดยเฉพาะ E-Commerace นั้น มีผู้ให้บริการไม่กี่ราย ทิศทางการประกอบการธุรกิจ E-Commerace รายใหญ่มีการรุบคืบในแนวดิ่ง (Vertical Inyregration) เบล็ดเสร็จภายในแพลตฟอร์มของตนเพิ่มมากขึ้น สิ่งเป็นเรื่องที่ต้องจับตามอง เพราะการดูแลธุรกิจในเชิงแนวดิ่ง (Vertical Inyregration) ยังไม่มีหน่วยงานที่มีกฎหมาย มีอำนาจและบทบาทในการกำกับเชิงโครงสร้างอย่างชัดเจน

คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า จึงได้กำหนดนโยบายและทิศทางการกำกับการแข่งขันทางการค้า ปี 2565 ได้แก่

1) การกำกับดูแลการแข่งขันในธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Platform) ทุกรูปแบบ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่ผู้บริโภคไม่นิยมใช้เงินสด โดยในปี 2564 มีมูลค่าทางธุรกิจมากถึง 4 ล้านล้านบาท อาทิ การจำหน่ายสินค้าหรือบริการ (E-Market Place) การขนส่งสินค้า (E-Logistic) การให้บริการรับสั่งและจัดส่งอาหาร (Food Delivery) และธุรกิจจองโรงแรมที่พัก (OTA) ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่จากต่างประเทศ

2) การกำกับดูแลการรวมธุรกิจ (M&A) โดยเฉพาะการควบรวมธุรกิจด้านเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน

3) การส่งเสริมและสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs สามารถแข่งขันได้มากขึ้น

คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าจะมีการพัฒนาแนวทางการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าในด้านอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถกำกับดูแลธุรกิจในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบธุรกิจอย่างรวดเร็ว โดยการปรับปรุงกฎหมายการแข่งขันทางการค้าและแนวปฏิบัติทางการค้าและกฎระเบียบต่างๆ และเสริมสร้างความร่วมมือในการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้ากับหน่วยงานต่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อเป็นเครื่องมือศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างตลาดและพฤติกรรมการแข่งขันทางการค้าในการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยการจัดตั้งศูนย์วิเคราะห์ธุรกิจเชิงลึก (Business Intelligence Unit) เพื่อให้การแข่งขันทางการค้าไทยมีแนวทางการพัฒนาที่ดีขึ้น รวมทั้งการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมการแข่งขันทางการค้า

นโยบายการกำกับดูแลธุรกิจบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Platfrom)

แนวทางการพัฒนาการกำกับการแข่งขันในตลาดธุรกิจให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์

แนวทางที่ 1 ปรับปรุงเครื่องมือในการกำกับการแข่งขัน (Ex-poseApprouch) ให้สามารถใช้กำกับตลาดธุรกิจให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การปรับปรุงการพิจารณาขอบเขตตลาดที่ต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของธุรกิจนี้ที่เป็นธุรกิจแบบที่มีผู้ใช้สองกลุ่มหรือมากกว่าสองกลุ่ม (two-sided plutform
or multi-sided plutform) และการพิจารณาอำนาจเหนือตลาด ที่ต้องพิจารณากำการกระจุกตัวไปพร้อมๆ กับการวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการแข่งขั้นในตลาดด้วย

แนวทางที่ 2 พัฒนาแนวทางกำกับการแข่งขัน โดยใช้หลักการกำกับเชิงการป้องกัน (Ex-ante upprouch) โดยการกำหนดพฤติกรรมที่ควรทำและห้ามทำของธุรกิจ
ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่

แนวทางที่ 3 พัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น EDTA) ในด้านข้อมูลเที่ยวกับมูลคำของธุรกิจให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรายละเอียดเพียงพอต่อการใช้กำกับการแข่งขันทางการค้า

การปรับปรุงกฎหมายและแนวปฏิบัติทางการค้า (Law & Guidelines) เพื่อกำกับดูแลธุรกิจในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล

  1. การศึกษาและปรับปรุงพระราชบัญญัติการแข่งขันการค้าพ.ศ. 2560 เพื่อให้สามารถกำกับดูแลธุรกิจในระบบเศรษฐกิจดีจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. การศึกษาและปรับปรุงเกณฑ์ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด ให้สามารถกำกับดูแลมีให้มีการใช้อำานาจเหนื่อตลาดโดยมิชอบ
  3. การกำหนดแนวปฏิบัติทางการค้าให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำกับดูแลธุรกิจกิจิทัลที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงรูปแบบที่รวดเร็ว
  4. การพัฒนาระบบการสืบสวนสอบสวนพฤติกรรมทางการค้า

นโยบายการกำกับดูแลการแข่งขันธุรกิจรายใหญ่กับธุรกิจรายเล็ก ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมและเสรีระหว่างธุรกิจรายใหญ่ และธุรกิจรายเล็ก (SMEs)

  1. สร้างระบบนิเวศ ที่เอื้อต่อการพัฒนาเพื่อการแข่งขันที่เป็นธรรม
  2. การปรับปรุงกฎระเบียบให้ยืดหยุ่นสอดคล้องสภาวะแวดล้อมและรูปแบบธุรกิจที่เปลี่ยนไป
  3. กฎระเบียบภาครัฐ ต้องปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นสอดรับสภาวะแวดล้อมและรูปแบบธุรกิจที่เปลี่ยนไป
  4. กฎระเบียบต้องไม่สร้างภาระและต้นทุนกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย

นโยบายเสริมสร้างความร่วมมือในการกำกับดูแลจากต่างประเทศ

คุณกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ กรรมการการแข่งขันทางการค้า ได้กล่าวถึงนโยบายเสริมสร้างความร่วมมือในการกำกับดูแลจากต่างประเทศ

  1. ยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อประโยชน์ต่อการกำกับการแข่งขันในคดีแช่งข้นข้ามพรมแดน(Cross-Border Cases)
  2. ยกระดับศักยภาพการกำกับการแข่งขัน และบังคับใช้กฎหมายผ่านการสนับสนุนทางเทคนิคจากหน่วยงานกำกับการแข่งขันต่างประเทศชั้นนำทั่วโลก
  3. สร้างบทบาทผู้นำในการกำกับการแข่งข้นทางการค้าในระดับนานาชาติ

ดร. รักษเกชา แฉ่ฉาย กรรมการการแข่งขันทางการค้า ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงชื่อองค์กร ตราสัญลักษณ์ของสำนักงาน กขค. ว่านอกจากมิติการบังคับใช้ ซึ่งตราสัญลักษณ์เก่า คล้ายคลึงกับหน่วยงานหนึ่งที่มีลักษณะบังคับใช้กฎหมาย ในข้อเท็จจริง สำนักงาน กขค. มีมิติเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมทางด้านการแข่งขันทางการค้า เพื่อให้เป็นไปตามหน่วยงานกำกับดูแลกฎหมายอื่นๆ ในประเทศ และชื่อภาษาอังกฤษเป็นรูปแบบเดียวกันกับองค์กรการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าของต่างประเทศ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงสู่ “Trade Competition Commission of Thailand” (TCCT)

ศาสตราจารย์สกนธ์ วรัญญูวัฒนา ได้ให้ประเด็นสัมภาษณ์เพิ่มเติม จากการควบรวมกิจการวงการสื่อสาร Dtac-True ว่า “การดูแล คงต้องดูตามกฎหมายก่อน ทางกสทช. มีหน้าที่ทางกฎหมายรับผิดชอบโดยตรงนั้น ทำหน้าที่อยู่ในขณะนี้ แต่ในเรื่องของความร่วมมือกันกับกสทช. ระดับเจ้าหน้าที่ในการแบ่งปันข้อมูล การให้มุมมองของเรากับทางกสทช. อีกส่วนหนึ่งทางกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนฯ เอง ได้มีการตั้งขึ้นมา ซึ่งทาง กขค. ได้ให้ท่านเลขาฯ ได้เข้าไปชี้แจงมุมมอง ตลอดจนให้ความเห็นประเด็นต่างๆ ไว้ เราได้ทำหน้าที่ของเราอยู่ตอนนี้ เพราะข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาเรื่องเรานี้ กสทช. ทำหน้าที่อยู่ เราคงไม่อาจก้าวล้วงได้ในเบื้องต้น เราได้ตามข้อมูลจากทางสื่อเป็นสำคัญเหมือนกัน ประเด็นนี้คงต้องมีความชัดเจนมากขึ้น จะได้สามารถตอบได้ว่าความลึกซึ้งของคดี ผลที่เกิดขึ้นได้ครอบคลุมอะไรบ้าง แต่เราไม่ได้นิ่งนอนใจ เราได้มีการศึกษาเก็บข้อมูล ตลอดจนตั้งทีมทำงานของเรา ติดตามเรื่องนี้อยู่เป็นระยะๆ ครับ”

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า