fbpx

SCBX กับเป้าหมายใหม่ที่ต้องการเป็นมากกว่า ‘ธนาคาร’

การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้บริโภคในการใช้บริการธนาคารพาณิชย์ในรูปแบบดิจิทัลแพลต์ฟอร์มมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากทำธุรกิจการเงินในรูปแบบเดิมที่จะต้องไปทำธุรกรรมและการให้บริการที่ธนาคารโดยตรง สำหรับธนาคารพาณิชย์ยักษ์ใหญ่ของไทยอย่าง ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ที่ได้ประกาศครั้งใหญ่โดยจัดตั้งบริษัทแม่ “SCBX” หรือที่เรียกกันว่า “ยานแม่” เพื่อเตรียมสอดรับทำธุรกิจพาณิชย์แบบดิจิทัลได้อย่างเต็มตัวมากขึ้น พร้อมแข่งขันในโลกธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบดิจิทัล และมีแผนนำ SCBX เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ พร้อมถอนหุ้น SCB ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ในรูปแบบของ SCBX นั้นมีรูปแบบธุรกิจแบบใหม่และมีแผนในอนาคตเป็นอย่างไร

วันนี้ Modernist ชวนย้อนดูอีกครั้ง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นในยานแม่ลำใหม่ที่ชื่อ ‘SCBX’

กว่าจะเป็น SCBX ในการจัดตั้งบริษัทใหม่ เพื่อขีดข้อจำกัดและสามารถแข่งขันได้อย่างเต็มที่

ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา SCB เคยทำโปรเจกต์ Transformation ผ่านยุทธศาสตร์ “กลับหัวตีลังกา” (Going Upside Down) เพื่อรองรับธุรกิจหลักเพื่อให้เติบโตและสามารถแข่งขันได้ในระยะยาว แต่เนื่องด้วยมีข้อจำกัดในด้านโครงสร้างของธนาคาร ทำให้ไม่สามารถทำธุรกิจได้อย่างเต็มที่ อีกทั้ง SCB ยังได้มองวิสัยทัศน์ถึงการถูก Disruption จึงยังไม่นิ่งนอนใจที่กำลังคิดในโจทย์สำคัญในการปรับรูปแบบธนาคารในรูปแบบดิจิทัลแพลต์ฟอร์มได้อย่างไร เพื่อเพิ่มขีดข้อจำกัดในการทำธุรกิจการเงินดิจิทัลและมีความสามารถในการแข่งขันนั้นได้

จนล่าสุดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 คณะผู้บริหาร SCB นำโดย นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCB และประธานกรรมการ บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB10X) ประกาศจัดตั้ง SCBX ขึ้นมาเป็นบริษัทแม่ หรือที่เรียกว่า ‘ยานแม่’ (Mothership) ในลักษณะ Holding Company เพื่อดำเนินธุรกิจการเงินดิจิทัลแพลตฟอร์มอย่างเต็มรูปแบบ และทลายข้อจำกัดเดิมๆ สำหรับแผนปรับโครงสร้างของ SCB ในครั้งนี้ ทางบอร์ดได้เตรียมเสนออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการดำเนินการปรับโครงสร้าง ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

สำหรับคำว่า ‘X’ ในชื่อ SCBX มาจากสมการ Exponential ซึ่งหมายถึงการเติบโตแบบยกกำลัง

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCB และประธานกรรมการ บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB10X)

โครงสร้างใหม่ของ SCBX ใน 2 ธุรกิจหลัก

โครงสร้างใหม่ของ SCBX แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่

1. Cash Cow ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกัน บริษัทจัดการกองทุน ที่ทำกำไรได้ดี เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) บ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ (SCBAM) SCB Protect SCB Julius Baer และลงทุนในธุรกิจใหม่

2. New Growth ธุรกิจเน้นการเติบโตและสร้างมูลค่าธุรกิจที่เข้าไปลงทุนด้าน Digital Assets และ Digital Platforms

สำหรับธุรกิจในกลุ่ม New Growth โดยมีทั้งบริษัทย่อยของ SCBX ที่โอนย้ายจาก SCB เดิม และบางบริษัทอยู่ในระหว่างการจัดตั้ง เพื่อสอดรับในการทำธุรกิจการเงินดิจิทัลที่มีความหลากหลายและได้จับมือกับพันธมิตรในการขยายธุรกิจไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน โดยมีลักษณะทำธุรกิจในรูปแบบใด

Card X – เป็นบริษัทที่โอนกิจการออกมาจาก SCB ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต

SCB Securities – ทำธุรกิจด้านหลักทรัพย์ ในรูปแบบ Digital Securities และ Brokerage Services

SCB 10X – เน้นนวัตกรรมดิจิทัล (disruptive digital innovation) และการลงทุนในกองทุน (Venture Capital) 

SCB Abacus – ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาธุรกิจและบริการโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI)

MONIX – เป็นบริษัทร่วมทุนกับ Abakus ให้บริการ Digital Lending สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่เข้าถึงบริการทางการเงิน

Purple Ventures – ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร Robinhood

Digital Ventures – เป็นบริษัทในเครือของ SCB 10X เน้นการพัฒนา Solution Platform 

SCB Tech X – เป็นบริษัทร่วมทุนกับบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ทำธุรกิจด้านเทคโนโลยี Fintech Platform

Token X – ทำธุรกิจด้าน Digital Token

Auto X – ทำธุรกิจสินเชื่อรถยนต์จับลูกค้ากลุ่มใหญ่

Alpha X – เป็นบริษัทที่ร่วมมือกับกลุ่ม Millennium Group เพื่อปล่อยสินเชื่อให้กับเจ้าของรถหรูและยานพาหนะทางน้ำ เช่น เรือยอร์ช รถบิ๊กไบค์ 

CPG-SCB VC Fund – เป็นบริษัทร่วมทุนกับ CPJ ในการจัดตั้งกองทุน Venture Capital เน้นการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินในด้านต่างๆ เช่น Blockchain สินทรัพย์ดิจิทัล Fintech เป็นต้น

AISCB (JV)  – เป็นบริษัทร่วมทุนกับ AIS เพื่อให้บริการสินเชื่อดิจิทัล 

Data X – เป็นศูนย์กลางในการ Integrate Data ของทั้ง SCBX Group รวมถึงในส่วนของภาพรวมทั้งหมด

มุ่งสู่การเป็น Tech Company ภายในปี 2025

สำหรับเป้าหมายของ SCBX คือการมุ่งสู่การเป็น Tech Company ในการขยายธุรกิจการเงินนประเภทอื่นๆ มารองรับในการตอบโจทย์ของผู้บริโภค ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีในการการบริหารจัดการแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยี (Technology Platform) ควบคู่ไปด้วย พร้อมสร้างฐานลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ได้ 200 ล้านคน โดยมีเป้าหมายการทำธุรกิจใหม่ในภูมิภาคใน 3 ประเทศ อย่าง อินโดนเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์, เพิ่มอัตราการทำกำไรทางธุรกิจเพิ่มขึ้น 1.5-2 เท่า และแตะ Market Cap อยู่ที่ 1 ล้านล้านบาท (จากปัจจุบันมูลค่าอยู่ที่ 371,821 ล้านบาท) ภายในปี 2025 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า

ขั้นตอนดำเนินการปรับโครงสร้างของ SCBX สู่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 

สำหรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ SCBX มีขั้นตอนที่สำคัญในการเข้าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แทนหุ้น SCB เดิม ดังนี้

15 พฤศจิกายน 2564  ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (EGM) เพื่ออนุมัติการปรับโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจโดยการนำ SCB แลกหุ้นกับ SCBX และนำ SCBX เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แทนหุ้น SCB เดิม

มกราคม – กุมภาพันธ์ 2565  ผู้ถือหุ้นทำคำตอบรับเสนอซื้อหลักทรัพย์ (Tender Offer) จาก SCBX โดยอัตราส่วนระหว่างหุ้น SCB กับ SCBX ในอัตรา 1:1

มีนาคม 2565  SCBX เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเพิกถอนหุ้น SCB ในช่วงเวลาเดียวกัน 

มิถุนายน 2565  SCB จ่ายเงินปันผลให้ SCBX จำนวน 70,000 ล้านบาทในการดำเนินการสำหรับซื้อกิจการบางส่วนจากธนาคารตามแผนปรับโครงสร้างของกลุ่ม, นำเงินไปลงทุนในธุรกิจใหม่ตามแผนงานของกลุ่ม, นำไปใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจของ SCBX และนำไปจ่ายเงินปันผลตามผลประกอบการและนโยบายของกลุ่ม

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ SCB ในครั้งนี้ ได้สร้างความฮือฮาในแวดวงการเงินที่กำลังเดินหน้าสู่ดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบในด้านธุรกิจการเงิน ที่แตกต่างไปจากเดิมที่ทำเป็นตัวกลางในการให้บริการในที่ธนาคารในรูปแบบเดิม ซึ่งต่อจากนี้ SCB จะไม่เท่ากับธนาคารอีกต่อไป แต่ SCBX เป็นผู้นำธุรกิจการเงินดิจิทัลแพลต์ฟอร์มอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมที่ปรับตัวในการนำเสนอนวัตกรรมทางการเงินทุกรูปแบบ เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคและสามารถแข่งขันในระดับโลกได้

ที่มา:

https://www.brandbuffet.in.th/2021/09/scb-set-up-scbx-holdings-company/
https://brandinside.asia/launch-scbx-mother-company/
https://www.longtunman.com/32680
https://www.prachachat.net/finance/news-766849
https://www.prachachat.net/finance/news-767341
https://www.bangkokbiznews.com/business/962057
https://thestandard.co/scbx-big-transform/
https://thestandard.co/scbx-structure-inside-scb-group/
https://money.kapook.com/view246876.html

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า