fbpx

เปิดรายชื่อผู้เข้าประมูลคลื่นวิทยุ พบ อสมท ร่วมประมูลมากที่สุด

หลังจากที่ก่อนหน้านี้สำนักงาน กสทช. ได้ออกประกาศเชิญชวนในการขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ในระบบ FM สำหรับกิจการวิทยุ โดยสำนักงาน กสทช. เปิดให้ผู้สนใจยื่นคำขอรับอนุญาตผ่านระบบออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม – 25 มกราคม ที่ผ่านมานั้น ล่าสุดก็ได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติและเงื่อนไขการเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันของผู้รับใบอนุญาต และที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับให้บริการกระจายเลียง ซึ่งได้รับมอบหมายจาก กสทช. ได้มีพิจารณาเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565 และให้ผู้ขอรับใบอนุญาตวางหลักทรัพย์การประมูล ซึ่งสิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565

ในวันนี้ (9 กุมภาพันธ์ 2565) สำนักงาน กสทช. จึงได้ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ ในระบบเอฟเอ็ม จำนวน 71 คลื่นความถี่ โดยแบ่งตามภูมิภาคต่างๆ และจะจัดให้มีการประมูลต่อไป โดยจากประกาศพบว่า บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เล่นรายสำคัญที่มีการเข้าร่วมการประมูลมากที่สุด ถึง 56 คลื่นวิทยุทั่วประเทศที่เปิดให้ประมูล และครบทุกภูมิภาค

สำหรับภูมิภาคที่น่าจับตามอง คือในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจากการเปิดประมูลทั้งหมด 8 คลื่นความถี่ พบว่าเป็นผู้เช่าเวลารายเดิมทั้งหมด ประกอบไปด้วย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ที่ขอรับใบอนุญาตในคลื่นความถี่ 95.00 MHz, 96.50 MHz, 99.00 MHz, 100.50 MHz, 105.50 MHz และ 107.00 MHz ในขณะที่คลื่น 106.50 MHz บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ขอใบอนุญาต และ 98.50 MHz เป็นบริษัท ลูกทุ่งเน็ตเวิร์ค 24 ชั่วโมง จำกัด เป็นผู้ขอรับใบอนุญาต นอกเหนือจากนี้ บริษัท ลูกทุ่งเน็ตเวิร์ค 24 ชั่วโมง จำกัด ยังร่วมประมูลในคลื่นตามต่างจังหวัดด้วย รวมทั้งหมด 44 คลื่น (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร)

นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ครั้งที่ 24/2564 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ได้พิจารณาเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงตามแผนความถี่วิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม และแผนความถี่วิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม สำหรับส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการกระจายเสียงโดยที่ประชุมมีมติอนุญาตภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 24 หน่วยงาน 389 คลื่นความถี่ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการกระจายเสียง ประเภทกิจการบริการสาธารณะ โดยให้มีระยะเวลาการอนุญาต 5 ปีนับถัดจากวันที่ 3 เมษายน 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เว้นแต่ กสทช. ชุดใหม่จะกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลง

Journalist

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า