fbpx

เจาะรายได้ “ถั่งเช่ายิ่งยง” ที่ปัจจุบันมีแบรนด์ 3 แบรนด์ให้ดูแล และมีมากกว่าแค่ “ถั่งเช่าผสมมัลติวิตามินบี”

หลังจากที่ผมได้ลองเสนอไอเดียโยนหินถามทาง ทำโพลบนบัญชีทวิตเตอร์ของทาง Modernist ว่า คุณ “เบื่อ” โฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภท “ถั่งเช่า” ในรายการทีวีหรือไม่

ปรากฎว่ากว่า 90% จากผู้กตโหวตรู้สึก “เบื่อ” โฆษณาถั่งเช่า

ทางผู้เขียนคาดเดาว่าอาจจะด้วยสาเหตุของความ “ถี่” ในการยิงโฆษณา และการ “ขายแฝง” ในรายการโทรทัศน์ต่าง ๆ ถึงขั้นที่ว่ารายการเกี่ยวกับเพศศึกษาบนทีวีที่เหลือรอดอยู่ไม่กี่รายการในไทย, รายการกีฬา และรายการเกมโชว์ต้องใช้ไหวพริบในการไขรหัส(ซึ่งทั้ง 3 รายการนี้ออกอากาศในช่องเดียวกัน)ก็ยังมี! นั่นก็อาจจะทำให้เรารู้สึก “เบื่อ” โฆษณาถั่งเช่าเอาได้เหมือนกัน ในขณะเดียวกันตอนนี้ก็มีคนรุ่นใหม่ ๆ มาบ่น ๆ ว่าผู้สูงอายุในบ้านของตนนั้นชอบสั่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทนี้ในระดับหนึ่ง และก็เพิ่งมีข่าวว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนี้ยังส่งผลต่อค่าไตอีกด้วย

วันนี้เราจะมาลองเจาะรายได้ของบริษัท โนวา ออร์แกนิค เจ้าของแบรนด์ “ถั่งเช่าผสมมัลติวิตามินบี” หรือ “ถั่งเช่ายิ่งยง” กันดูดีกว่าครับ

แต่เราลองมาทำความรู้จักกับประวัติของบริษัท โนวา ออร์แกนิค กันดีกว่าครับ

บริษัทโนวา ออร์แกนิคจำกัด บนหน้าเว็บของบริษัทระบุว่า บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2555(แต่ข้อมูลที่ได้รับมาจาก Creden Business Score คือวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556!?) มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 15 ล้านบาท ก่อนจะขยับขึ้นมาเป็น 30 ล้านบาทในช่วงต้นปี พ.ศ. 2559 และขยับขึ้นมาเป็น 100 ล้านบาทเมื่อช่วงกลางปี พ.ศ. 2560 โดยเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอางตราโดนัทท์ (DONUTT BRAND)

ในปี พ.ศ. 2559 บริษัทได้ขยายกำลังการผลิตไปยังโรงงานแห่งที่ 2 เพื่อรองรับยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีรางวัลมากมาย[1]

ปัจจุบันทางบริษัทมีเครื่องหมายการค้าหลัก ๆ อยู่ 3 แบรนด์คือ โดนัทท์(Donutt) , ลีฟเนส(Livnest) และ คิว-ติน(Q-tin)

*สำหรับผลิตภัณฑ์ “ถั่งเช่าผสมมัลติวิตามินบี” ตามหลักแล้วไม่ได้อยู่กับเครื่องหมายการค้าใด ๆ แต่ในการทำการตลาด บางครั้งจะอยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้า “ลีฟเนส” เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์”ถั่งเช่าผสมยูซีทู”, “ถั่งเช่าผสมสารสกัดอาร์ติโชค” และ “ถั่งเช่าผสมลูทีน” ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ย่อยภายใต้เครื่องหมายการค้า “ลีฟเนส”

สำหรับผลประกอบการย้อนหลัง 3 ปี ของบริษัท โนวา ออร์แกนิค จำกัด นับจากปี พ.ศ. 2560 มีท่าทีออกมาว่า “ขาดทุน” ในช่วงปี พ.ศ. 2560  แต่ในอีก 2 ปีถัดมารายได้ก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น จนพลิกกลับมามีกำไรได้ในปีถัดมา (พ.ศ. 2561)

พ.ศ. 2560
รายได้รวม : 463,686,282.00 บาท
ขาดทุน :  -38,298,511.00 บาท

พ.ศ. 2561
รายได้รวม : 354,126,064.00 บาท
กำไร :  17,604,150.00 บาท

พ.ศ. 2562
รายได้รวม : 483,349,868.00 บาท
กำไร : 75,652,880.00 บาท

ด้วยความที่มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้เลือกซื้อตามความต้องการที่หลากหลาย, ช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผ่านระบบ Telesales ทำให้โนวา ออร์แกนิคมีรายได้และกำไรในระดับหนึ่ง

เราต้องมาลุ้นกันว่าผลประกอบการในปี พ.ศ. 2563 จะออกมาในทิศทางไหน  และในปี 2564 เราต้องจับตาดูว่าจากกระแสบนโลกออนไลน์ และความ “เบื่อ” ของลูกค้ารุ่นใหม่ที่เป็นผู้รับชมโทรทัศน์ จะส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ไปในทิศทางไหน

เรื่อง: กันต์ หิรัญคุปต์ | Content Creator
Infographic: ทินวุฒิ ลิวานัค | Graphic Designer


อ้างอิง [1] บริษัท โนวา ออร์แกนิค จำกัด, หน้าเว็บไซต์บริษัท https://www.nova-organic.com/th/home
หมายเหตุ : สำหรับข้อมูลการเงิน ทางผู้เขียนอ้างอิงจาก Creden Business Creditscore ซึ่งอ้างอิงจากศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐ และแหล่งที่มาอื่น ๆ อีกทอดหนึ่ง

Content Creator

Graphic Designer

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า