ประเดิมซีรีส์ Modern Politico นักการเมืองแห่งอนาคต กับ “เต้ – ปณิธาน ประจวบเหมาะ Panitarn Prachuabmoh” ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขตบางนา-พระโขนง พรรคไทยสร้างไทย ผ่านเรื่องราวที่สะท้อนถึง Passion อยากขับเคลื่อนแวดวงการกีฬาไทย และลดช่องว่างระหว่างเจเนอเรชั่น ที่กำลังเป็นวิกฤตของสังคมในเวลานี้ ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ไปด้วยกัน
The Modernist : ถ้าพี่ไปเจอเพื่อนเต้ เพื่อนเต้จะแนะนำตัวเต้ว่าเต้เป็นยังไงครับ?
ปณิธาน : จริงๆตรงนี้เพื่อนเต้ ส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าเต้เป็นคนรักเพื่อน และก็จะค่อนข้างติดเพื่อนมากพอสมควร อาจจะเป็นเพราะว่าตั้งแต่สมัยมัธยม เต้เรียนวชิราวุธ ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ มันก็จะมีความผูกพันธ์กับเพื่อนมากๆ มันจะมีพวกระบบโดนทำโทษ โดนอะไรบ้าง แบบนี้ แต่ก็ลำบากด้วยกันมา มันก็เลยมีความผูกพันกันมาก
The Modernist : แรงบันดาลใจสู่สนามการเมือง – คุณพ่อมีผลไหม ? ที่ทำให้เต้สนใจที่จะมาทำงาน?
ปณิธาน : ต้องบอกว่ามีผลมากเลยครับ ตั้งแต่เต้เด็กๆ คุณพ่อก็เป็นผู้สมัคร สส. ในเขตบางนานี่แหล่ะ เราก็มีโอกาสได้ติดสอยห้อยตามคุณพ่อไปลงพื้นที่ด้วยตั้งแต่อายุ 10 กว่าปี เวลาพ่อไปลงที่ไหน ไปทำงานไปรับใช้เขา ไปช่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ชาวบ้านจะรู้กันหมดว่า สารวัตรต้นมา จะมาลงพื้นที่ วันนี้ ๆ นะ จะรู้เลยว่าพ่อชอบกินเนื้อมาก ก็จะมีเตรียมแกงเนื้อแกงอะไร เนื้อคงเนื้อเค็มเอามาให้พ่อเขาตลอด ต่อยอดมาเลยครับ ก็อาจจะด้วยการตัดสินใจทางการเมืองในสมัยก่อน พ่ออายุยังน้อย อาจจะมีการใจร้อนไปบ้าง อะไรไปบ้าง มีการย้ายพรรค เลือกตั้งแพ้ ชาวบ้าน พ่อแม่พี่น้องลูกป้าน้าอาก็เสียใจไปด้วยกัน ตอนวันที่ผลเลือกตั้งออก ก็มีคนมาที่ศูนย์นี่แหล่ะครับ มาหาพ่อ มาให้กำลังใจ บางคนก็น้ำตาคลอเบ้าร้องไห้กันอะไรอย่างงี้ จนกระทั่งมาถึงทุกวันนี้ เต้ก็กลับไปลงพื้นที่ ช่วงแรกๆตั้งแต่ต้นปีเต้ก็มีการจัดทีมแพทย์ พยาบาล ไปดูแลคนในพื้นที่ ไปดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ บางคนเขาเจอหน้าเต้ เขาน้ำตาคลอเบ้า เขาคิดถึงพ่อ เป็นความประทับใจแหล่ะครับ เมื่อเรามอบความรักให้กับลุงป้าน้าอา เขาไม่ได้มีอะไรให้นอกจากความรักเช่นเดียวกัน
The Modernist : คือเราเห็นอย่างนี้มาตั้งแต่เด็ก
ปณิธาน : เห็นมาอย่างงี้ตั้งแต่เด็กและซึมซับมาเรื่อยๆเลยครับ
The Modernist : คนรุ่นใหม่ในเวทีการเมืองแบบเก่า – ตอนวันที่เราตัดสินใจโดดเข้ามา คือแน่ล่ะเรามีคุณพ่อ เรามีครอบครัวทำมา แต่ว่าขณะเดียวกัน ในยุคสมัยปัจจุบัน บ้านเมืองเราอยู่ในมือผู้ใหญ่ เราจะมีคำว่าผู้หลักผู้ใหญ่ อยากถามเต้ว่า เต้โดดเข้ามาด้วยวัยเพียงเท่านี้ เต้มองนักการเมืองรุ่นใหม่อย่างไร
ปณิธาน : เต้เชื่อว่าต้องเปิดโอกาส สุดท้ายแล้วสังคม ประเทศก็ต้องถูกส่งต่อให้กับคนรุ่นถัดมาครับ ในการทำงานในการบริหาร ในการพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้นจะบอกว่าเป็นของคนรุ่นเก่าอย่างเดียวซะทั้งหมดก็ไม่ถูก เพราะคนรุ่นใหม่ก็มีแนวความคิดใหม่ๆ แต่โดยส่วนตัวเต้เนี่ยเต้เชื่อในการที่จะทำงานร่วมกันทุกเจนาเรชั่นครับ มันต้องมารวมกันและทำงานร่วมกัน เพื่อให้การทำงานและนโยบายตอบโจทย์คนทุกคน ไม่ใช่ว่าเป็นการแบ่งเจนาเรชั่น สุดท้ายแล้วถ้าเราแบ่งเจนาเรชั่นไปมันก็จะยิ่งเกิดความแยกห่างของแต่ละเจนาเรชั่นขึ้นไปอีกเรื่อยๆ ยุคสมัยเดี๋ยวนี้มันใช้โซเชียลมิเดียกันซะเยอะ อาจจะทำให้ด้วยพลังของโซเชียลมิเดีย การฟีดข้อมูลที่เราสนใจเข้ามาฝั่งเดียวอาจจะเป็นปัญหา เพราะฉะนั้นเวลาผมไปเจอเด็กๆก็จะบอกว่า คุณกดไลค์ฝั่งนี้แล้ว คุณก็กดไลค์อีกฝั่งหนึ่ง รับสิข้อมูลเท่าๆกัน แล้วเราค่อยมาประมวลผลว่าเราจะเลือกเชื่ออะไร สุดท้ายแล้วการเมืองต้องเป็นเรื่องของบุคคล ต้องเป็นผู้แทนของทุกคน ไม่ใช่เฉพาะกลุ่ม
The Modernist : ความท้าทายของนักการเมืองรุ่นใหม่ – สำหรับคนรุ่นใหม่สักคนหนึ่งที่คิดจะกระโดดเข้ามาในเวทีแห่งนี้ สำหรับการเมืองไทยถือเป็นเรื่องยากไหมครับ?
ปณิธาน : ปัญหาในสังคมไทยมันเยอะมากๆนะพี่ คือไล่ทั้งวันเลยมันก็ไม่หมด ไม่ว่าจะเป็น ความเหลื่อมล้ำ โอกาสให้คนตัวเล็ก พ่อค้า แม่ขาย เข้าถึงโอกาส มันน้อยมากๆ ยิ่งมาเจอช่วงโควิดก่อนที่เราจะตัดสินใจมาเริ่มทำงานเนี่ย เราก็อยากที่จะลุกขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลง
The Modernist : ในมุมนึงเราก็เป็นคนรุ่นใหม่ที่ถือว่าเป็นคุณพ่อ ถือว่าเป็นครอบครัวที่ท่านได้กรุยทางเข้ามา
ขณะเดียวกัน ในอีกด้านนึงของเรื่องนี้มันอาจจะมีคำครหา ได้เคยได้ยินบ้างไหม? แล้วเต้จะรู้สึกอย่างไรถ้าได้ยินคำแบบนี้ คนนี้เขาก็เดินตามคนนี้มานั่นแหล่ะ เป็นการสืบทอดแบบครอบครัว เต้คิดยังไงกับคำพวกนี้
ปณิธาน : ความเห็นเราก็ต้องเปิดกว้างและก็รับ สิ่งเดียวที่จะทำได้คือการทำงานให้เห็นเพื่อลบข้อครหาต่างๆไปอย่างงี้ครับ ก็ต้องพิสูจน์ตัวเองครับว่าเรามุ่งมั่นตั้งใจ ไม่ใช่ว่าเราเข้ามาด้วยการที่มีครอบครัวเป็นต้นทุนเดิม สุดท้ายแล้วอยู่ที่การทำงาน การทำงานจะตอบทุกสิ่งเองครับ คือเราไปห้ามใครไม่ได้ว่า เขามีความเห็นอย่างงี้มา อย่างงี้มา เราทำได้แค่พิสูจน์ตัวเองครับ
The Modernist : กีฬากับการสร้างชาติ
ปณิธาน : เต้ก็สนใจในเรื่องกีฬา อยากที่จะปรับความคิดครับพี่ เมื่อก่อนเนี่ย เขาจะมองกีฬาว่าเป็น กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ อะไรแบบนี้ ผมว่ามันไม่ใช่แล้ว
The Modernist : แล้วมันเป็นยังไงครับ
ปณิธาน : พี่ลองคิด ที่ผ่านมา world cup สร้างรายได้ให้กับประเทศเท่าไหร่ พัฒนาประเทศเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นการที่รัฐจะต้องลงทุน มีเงินสนับสนุนจากทั่วโลกมาเพื่อพัฒนาสนามกีฬา พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเมืองต่างๆให้รองรับการจัดการแข่งขัน สุดท้ายแล้วมันก็สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ โดยส่วนตัวเต้เนี่ย ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ เต้จะชอบเปรียบเทียบกับกีฬาที่ชอบเล่น ชอบไปดูตลอด เขาเรียกว่าห้อง 6 Seven เป็นอีเว้นต์ที่ใหญ่มากๆของการจัดการแข่งขันรักบี้ 7 คน เป็น world series เต้ก็จะไปกันทุกปี ช่วงไปคนแน่นแอดสนาม 5-6 หมื่นจุเต็มหมด นักท่องเที่ยวก็ไปดูตามผับตามบาร์หมดอีเว้นต์หลักของฮ่องกงไปแล้วล่ะ
The Modernist : ในสายตาเต้ กีฬาไม่ใช่เรื่องสุขภาพแล้ว เป็นเรื่องของเศรษฐกิจแล้ว
ปณิธาน : เป็นเรื่องของเศรษฐกิจ กีฬาต้องมาสร้างเศรษฐกิจด้วยครับ และอีกส่วนนึง ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม อย่างเช่นเรื่องการเมือง sportsmanship สำคัญครับ พี่จะเห็นได้ว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การเมืองเราไม่สามารถก้าวข้ามความขัดแย้งได้ ฝั่งนึงชนะ อีกฝั่งนึงลงมาม็อบ วนกันไปวนกันมา ไม่รู้จักรู้แพ้รู้ชนะ ไม่มี sportsmanship รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย สุดท้ายประเทศก็ไม่สามารถแก้ต่อไปข้างหน้าได้ สมมุติประชาชนมาตัดสินละ คุณชนะการเลือกตั้ง แทนที่จะปล่อยให้เขาบริหารประเทศตามคะแนนเสียงที่มอบให้ ก็มีการมาตั้งม็อบตั้งอะไร จนสุดท้ายก็เป็นผลเสียให้กับประเทศครับ