fbpx

ชุดภาพที่ว่าด้วยโรงเรียนขนาดเล็ก และนโยบายการยุบโรงเรียนของรัฐไทยที่ไม่ควรเกิดขึ้น

จาก 30,000 กว่าโรงเรียนทั่วประเทศไทย มี 16,000 กว่าโรงที่เป็น ‘โรงเรียนขนาดเล็ก’ ที่มีนักเรียนอยู่น้อย บ้างก็หลักสิบ บ้างก็หลักร้อย และส่วนใหญ่กระจัดกระจายอยู่ตามชุมชน หมู่บ้านต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย นอกจากจะเป็นสถานที่ให้ความรู้แก่เด็ก ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและมีช่วงวัยที่หลากหลาย โรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้ยังเป็นพื้นที่สำคัญ ที่เชื่อมโยงชุมชน ชาวบ้าน และเด็ก ๆ ไม่ให้แตกระแหงออกจากกันอีกด้วย

การเชื่อมโยงที่ว่าหมุนวนสู่กันและกันอย่างไม่สิ้นสุด และด้วยการกระจัดกระจายตัวของโรงเรียนขนาดเล็กนี้เอง ทำให้ภาระ (ของรัฐ) ในการแจกจ่ายงบประมาณเพิ่มมากขึ้น และส่วนใหญ่ไปไม่ถึงโรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้ ทำให้โรงเรียนไม่มีงบประมาณมากพอที่จะพัฒนาโรงเรียน ทั้งในแง่สถานที่และบุคลากร

เมื่อพัฒนาการของโรงเรียนขนาดเล็กไม่เกิดขึ้น เลยกลายเป็นความชอบธรรมของรัฐในการกำหนดนโยบาย ‘การยุบโรงเรียนขนาดเล็ก’

ซึ่ง ‘นโยบายการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก’ มาจากการที่รัฐไม่เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน และชุมชน มองเพียงตัวชี้วัดระดับการศึกษา จำนวนครูต่อนักเรียน หรือจำนวนนักเรียนในโรงเรียนเท่านั้น การคิดแบบนั้นย่อมเป็นปัญหา เพราะนอกจากจะทำให้การยุบโรงเรียนไม่มีสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นการผลักให้คุณครู เด็ก และชุมชนขนาดเล็กที่ห่างไกล ออกจากระบบการศึกษา

(แม้จะมีการทำประชาพิจารณ์กับชุมชน การยุบโรงเรียนก็เกิดขึ้นได้ เมื่อรัฐมองว่าการมีอยู่ของโรงเรียนขนาดเล็กนั้น ๆ ไม่คุ้มค่า และไม่มีประสิทธิภาพ เพราะมีนักเรียนอยู่น้อย และตัวเลขดัชนีชี้วัดการศึกษาต่ำ)

เราจะเข้าใจความสำคัญของโรงเรียนและชุมชนได้อย่างไร?

เราต้องเข้าใจก่อนว่าโรงเรียนในแต่ละพื้นที่มีบทบาทต่อชุมชนนั้น ๆ อย่างไร 

บางโรงเรียนเต็มไปด้วยเด็ก ๆ ในชุมชุม

บางโรงเรียนเป็นพื้นที่ให้เด็กที่อยู่ห่างไกลได้มีการศึกษา

บางโรงเรียนเป็นที่เรียนให้เด็กที่ไม่มีทุนทรัพย์มากพอที่จะไปเรียนโรงเรียนใหญ่ ๆ

อย่างเช่นโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี ‘โรงเรียนวัดโคกทอง’ เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่ ณ ขณะ นี้อยู่ในเกณฑ์ถูกยุบ แต่สภาพการณ์ปัจจุบันของโรงเรียน ถือว่าเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่มีความพร้อมทั้งในเรื่องหลักสูตร และบุคลากร อีกทั้งยังมีสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้คนในพื้นที่ค่อนข้างมาก คือ นักเรียนส่วนใหญ่มาจากชุมชนรอบ ๆ โรงเรียน และนี่ยังไม่รวมถึงโรงเรียนที่แม้รูปแบบการเรียนจะยังไม่ได้รับการพัฒนามาก แต่มีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับชุมชนที่แน่นแฟ้นทั่วประเทศไทย

เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนเด่นชัด

เกณฑ์ที่วัดเพียงแค่ตัวเลขไม่กี่ตัวจึงไม่ชอบธรรม การยุบโรงเรียนถึงไม่ควรเกิดขึ้น

สุดท้ายนี้ ในระหว่างที่ภาวะโรคระบาดกำลังดำเนินไปอย่างไม่หยุดหย่อน มันได้กระเทาะเปลือกนอกของสังคมไทย เผยให้เห็นถึงความคร่ำครึที่ฝังราก ทั้งระบบราชการ วิธีการทำงาน รวมถึงในรูปแบบของการศึกษา ขณะเดียวกัน ก็ได้แสดงให้เห็นความสำคัญของโรงเรียนขนาดเล็ก การกระจายโอกาสทางการศึกษาสู่ท้องถิ่น และตั้งคำถามต่อช่องว่างทางการศึกษาที่รัฐสร้างขึ้นไปโดยปริยาย

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า