fbpx

ครั้งหนึ่งที่ประเทศไทยเคยเก็บค่าใบอนุญาตทีวีรายปี!

ต้องพูดกันก่อนว่า การก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหมนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ซึ่งท้ายที่สุดแล้วการก่อตั้งก็เสร็จสิ้นและเริ่มออกอากาศในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2498 ในวันที่มีการเปิดตัวขึ้นนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทยว่า “เพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง เพื่อการศึกษา เพื่อการแพทย์และการสาธารณสุข และประการสำคัญ เพื่อเกียรติภูมิของชาติที่จะได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกบนพื้นแผ่นดินเอเชียที่มีสถานีโทรทัศน์”

แน่นอนว่าอย่างที่บอกละครับว่าการเริ่มต้นมักไม่ง่ายเสมอ การก่อตั้งช่อง 4 บางชุนพรหมก็เช่นกัน ซึ่งในขณะนั้นมีเสียงคัดค้านและเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงการใช้งบประมาณไม่เหมาะสมและฟุ่มเฟือย ย้อนกลับไปก่อนก่อตั้ง 3 ปี คือวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 รัฐบาลในขณะนั้นจึงจัดตั้ง บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ขึ้น เพื่อดำเนินกิจการแพร่ภาพโทรทัศน์ในลักษณะของการหาเลี้ยงตนเอง ถ้าเทียบง่ายๆ ก็คือ บมจ.อสมท ที่ถูกแปลงจากที่เดียวกันนี่แหละ

ในขณะนั้นมีผู้ถือหุ้นใหญ่สำคัญๆ ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งต้องใช้เงินของงบประมาณมาสนับสนุนในระยะแรกอีกส่วนหนึ่ง และให้สังกัดภายใต้กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด (ลงทุนไป 11 ล้านบาท) นอกจากนั้นก็จะมี โรงงานยาสูบ กรมสรรพสามิต 2 ล้านบาท, สำนะกงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กระทรวงการคลัง , องค์การน้ำตลาไทย และโรงงานสุราบางยี่ขัน กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กองทัพบก, กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ และกรมตำรวจ รายหลังๆ นี้ลงทุนรายละ 1 ล้านบาท รวมเป็น 20 ล้านบาทถ้วน

นอกเหนือจากการลงทุนโดยหน่วยงานราชการแล้ว รัฐบาลยังได้ออกพระราชบัญญัติสำคัญซึ่งเป็นใบเบิกทางให้ช่อง 4 ถือกำเนิดขึ้น โดยมี 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ที่ให้กรมไปรษณีย์โทรเลข โดยกองบริหารความถี่ ควบคุมและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่วิทยุ และพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498 ซึ่งถูกตราขึ้นเพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่กำหนดไว้ใน พรบ. ฉบับนี้เปิดทางให้ บจก.ไทยโทรทัศน์ สามารถดำเนินกิจการวิทยุและโทรทัศน์ได้นั่นเอง

สำหรับพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498 นั้นได้มีการตราข้อกฎหมายไว้เพิ่มเติมถึงการกำหนดให้ผู้ที่มีเครื่องรับวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไว้ในครอบครอง จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นรายปี หรือ License Fee โดยกำหนดค่าธรรมเนียมไว้อยู่ที่ 200 บาท ซึ่งรายได้จะนำมาเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของช่อง 4 บางขุนพรหมต่อไป และยังอนุญาตให้ช่อง 4 บางขุนพรหมสามารถโฆษณาได้อีกทางหนึ่งด้วย

ต่อมา ได้มีการแก้ไข พรบ. ฉบับนี้อีกครั้ง โดยเปิดให้มีการค้าเสรีมากขึ้น โดยยกเลิกการให้บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เป็นผู้นำเข้าและค้าเครื่องรับโทรทัศน์แต่เพียงผู้เดียว และเปิดทางให้ผู้ค้ารายอื่นๆ เข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น เป็นเหตุให้ไทยโทรทัศน์ต้องประสบปัญหาทางการเงินเป็นอย่างมากอีกด้วย

อ้างอิง –หนังสือ “จดหมายเหตุ 60 ปี โทรทัศน์ไทย” : วิวัฒนาการกิจการโทรทัศน์ไทย

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า