fbpx

อาจารย์กิต – กิตตินันท์ ชินสำราญ จากหน้าจอ สู่หน้าห้องเรียน

เมื่อพูดถึงนักร้องเพลงคลาสสิกที่เป็นคนไทย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าชื่อคนคนนี้จะปรากฎขึ้นมา กิตตินันท์ ชินสำราญ หรือที่เรารู้จักกันในนาม ครูกิต The Voice ผู้สร้างปรากฎการด้วยเสียงอันอัดแน่นไปด้วยพลัง และความทุ้มนุ่มลึก

ครั้งแรกที่ทำให้เราได้รู้จักกับครูกิต คือเทปรายการ The Voice ในรอบ Blind Audition ซึ่งขับร้อบในบทเพลง My Way ของ Frank Sinatra และใช้การขับร้องที่ผสมผสานความเป็นคลาสสิกลงไป ทำให้ผู้ฟังได้รับอรรถรสที่แปลกใหม่ และเป็นที่น่าติดตาม

เสียงอันเป็นเอกลักษณะของครูกิตนั้น ช่วยเปิดประสบการณ์การฟังดนตรีของผู้ฟังหลายๆ ท่าน และแน่นอนว่านอกจากบนจอโทรทัศน์ บนเวทีการแสดงดนตรีต่างๆ แล้ว เขาคนนี้ยังเป็นถึงอาจารย์ประจำภาควิชาดุริยางคศิลป์ตะวันตก คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกด้วย

เด็กชาย กิตตินันท์

ในวัยเด็กเคยฝันอยากเป็นคุณหมอ หรือไม่ก็เป็นคุณครู เพราะว่า ณ ตอนนั้นยังไม่คิดถึงอาชีพนักร้อง ที่อยากเป็นหมอเพราะมีไอดอลเป็นคุณหมอข้างบ้าน และที่อยากเป็นครูเพราะตอนเด็กๆ ไปโรงเรียนทุกวัน ก็เจอคุณครูทุกวัน รู้สึกว่าเขาเก่ง เลยอยากเป็นอย่างเขา ถึงขั้นมีกระดานดำที่คุณแม่ทำไว้ให้ที่บ้านเพื่อเล่นสวมบทบาทเป็นคุณครู

คนเราชอบดนตรีตั้งแต่เมื่อไหร่ คงตอบไม่ได้ ไม่มีใครที่ตื่นขึ้นมาพร้อมกับความรู้สึกที่ว่า “วันนี้ฉันชอบดนตรีจังเลย” มันเป็นความรู้สึกที่ถูกซึมซับเข้ามาที่ละน้อยๆ พอรู้ตัวอีกที ก็เป็นคนที่ร้องเพลงทุกวันไปแล้ว

เล่าถึงในวัยมัธยม ครูกิตเป็นตัวแทนแข่งร้องเพลงของโรงเรียน ทำให้หลังเลิกเรียนทุกวันต้องซ้อมร้องเพลงตั้งแต่ 5 โมงเย็นจนถึง 1 ทุ่ม จนติดเป็นกิจวัตรประจำวัน ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ครูกิตได้ซ้อมเพลงที่จะใช้ในการแข่งขัน รวมถึงเพลงที่ชอบและอยากร้องด้วยเช่นกัน โดยในตอนนั้นจะใช้เทปที่ซื้อมา เปิดเพลงแล้วร้องตามตั้งแต่เพลงแรกจนถึงเพลงสุดท้าย

ก้าวแรกสู่วงการคลาสสิก

เหตุที่ทำให้ครูกิตได้มีโอกาสรู้จักกับเพลงคลาสสิก คือการเตรียมตัวสอบเข้าเอกขับร้อง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งในใบสมัครระบุถึงเพลงที่ต้องใช้ในการสอบปฏิบัติเข้ามาว่าเป็นเพลงคลาสสิกภาษาอิตาเลียน

ครูกิตอธิบายว่าก่อนหน้านี้ เขาฝึกร้องเพลงจากการฟังและร้องตามมาโดยตลอด และเช่นกันกับครั้งนี้เขาก็เลือกใช้วิธีเดียวกัน เริ่มต้นจากหาซื้อเพลงคลาสสิกจาก Tower Record ที่สยามในสมัยนั้น สิ่งที่ได้มาคือซีดีรวบรวมเพลงของ Andrea Bocelli ที่เปิดขึ้นมาก็ได้ยินเพลง Time to Say Goodbye เป็นเพลงแรก ทำให้ครูกิตประทับใจและเลือกใช้เพลงนี้ในการสอบ

ในการเตรียมตัวสอบครั้งนี้ นอกจากการสอบภาคปฏิบัติแล้วยังต้องสอบภาคทฤษฎีอีกด้วย ครูกิตเตรียมตัวโดยการอ่านหนังสือทฤษฎีดนตรีของอาจารย์ณัชชา พันธ์ุเจริญ เมื่อประกาศผลสอบ ปรากฎว่าได้คะแนนในการสอบภาคปฏิบัติค่อนข้างสูง แต่คะแนนสอบภาคทฤษฎีนั้นไม่ผ่านเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องกลับมาทบทวนเนื้อหาเพื่อเตรียมตัวกลับไปสอบอีกครั้ง ในที่สุดก็สัมฤทธิ์ผล ผ่านมาได้ด้วยคะแนนตรงตามมาตรฐานที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดไว้อย่างพอดิบพอดี “มันเป็นพรหมลิขิต”

เรียนจบแล้วไปไหนต่อ

หลังจากที่เรียนจบมาแล้ว ครูกิตก็ทำงานหลายอย่างเช่น สอนร้องเพลง ร้องคอรัสในคอนเสิร์ตของ GMM Grammy เริ่มเล่นโอเปร่า ซึ่ง ณ ตอนนั้นก็โอเคกับการทำงานอยู่ที่ประเทศไทยแล้ว แต่คนรอบข้างครูกิตเริ่มแนะนำและผลักดันให้เรียนต่อ บางคนถึงกับขู่ว่า “ถ้าไม่เรียนต่อจะไม่คุยด้วย”

ถึงจะเริ่มมีไฟขึ้นมา แต่ก็ใช่ว่าจะเรียนที่ไหนก็ได้ คสรเลือกที่เรียนที่เหมาะกับเรา ควรรู้ว่าใครเป็นคนสอนเรา และแล้วโอกาสก็มาหาครูกิต เมื่อตอนที่ได้ร่วมงานแสดงโอเปร่าของอาจารย์สมเถา สุจริตกูล มีผู้กำกับการแสดงที่เดินทางมาจากอเมริกาและมาช่วยทำ Master Class ให้กับนักร้องนักแสดงในครั้งนี้ ช่วยจุดประกายความฝันที่ยิ่งใหญ่ขึ้นให้กับครูกิต

“เมื่อเขาร้อง เขาทำให้เราจินตนาการตาม ทำให้เราได้ยินเสียงของตัวเอง แล้วเราก็ร้องได้จริงๆ เขาช่วยแก้ปัญหาของเราได้” ด้วยความรู้สึกที่เต็มเปี่ยม ครูกิตถามผู้กำกับท่านนั้นว่า “คุณสอนอยู่ที่ไหน ผมไปเรียนกับคุณได้ไหม” ซึ่งเขาตอบว่าเขาสอนอยู่ที่ San Francisco Conservatory of Music เขาไม่ได้สอนร้องเพลง แต่ก็สามารถแนะนำอาจารย์สอนร้องเพลงให้กับครูกิตได้

จากนั้นครูกิตก็เตรียมตัวบินไปสอบที่อเมริกา ตอนนั้นคิดว่าแค่สอบติดก็บุญแล้ว แต่ก็ได้ทุนด้วย เลยตัดสินใจว่าจะไปเรียนต่อแน่นอน 

Welcome to San Francisco

ถ้าถามว่ามี Culture Shock บ้างไหม สำหรับการเรียนก็ไม่มาก เพราะตอนเรียนปริญญาตรีก็มีโอกาสเรียนกับอาจารย์ที่บินมาจากลอนดอนปีละครั้ง แกสอนให้รู้จักวินัยในการฝึกซ้อม ความสม่ำเสมอ และแสดงโอเปร่าอยู่แล้ว เลยไม่ค่อยชอร์คมาก

แต่เรื่องที่ชอร์คจริงๆ คือการทำงาน ตอนนั้นมีโอกาสออดิชั่น และได้เล่นโอเปร่าภาษาอังกฤษถึง 3 เรื่องใน 1 ปี ซึ่งมันสูบพลังชีวิตไปเยอะ และซ้อมหนักจนป่วย เพราะมันต้องหัดเพลงจนสามารถจำได้และไปซ้อมกับนักแสดงท่านอื่นได้ หลังจากการแสดงนั้นก็ได้รับคำชมจากผู้ชมที่นั้นว่า “คุณเป็นคนเดียวเลย ที่ร้องแล้วทำให้เขาเข้าใจว่าคุณร้องว่าอะไร” ทั้งที่แสดงกับชาวอเมริกันทั้งโรงละคร

หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาโทแล้ว ก็ได้ไปทำงาน Opera Studio ที่เบลเยียม 2 ปี แล้วค่อยกลับมาไทย เหตุผลที่กลับมาเพราะอาจารย์เด่น อยู่ประเสริฐ ส่งเมลมาบอกว่ามีตำแหน่งอาจารย์ดนตรีที่มหาวิทยาลัยรังสิตเปิดนะ สนใจไหม ครูกิตก็ตอบตกลงเพราะคิดว่าดี และอยากกลับด้สยเหมือนกัน เลยได้กลับมาสอนประมาณปีกว่าๆ ก่อนจะมาปรากฎตัวอยู่บนเวที The Voice Thailand

The Voice

ถึงจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนานแล้ว แต่สิ่งที่ยังประทับอยู่ในใจคือความตื่นเต้น ตั้งแต่การตันสินใจว่าจะไปรายการดีไหม เพราะเป็นอาจารย์แล้ว ถ้าไปแล้วไม่ผ่านเข้ารอบก็คงไม่ดีกับตัวเรา แล้วมาร้องเพลงคลาสสิกในรายการ คนอื่นเขาจะเข้าใจเพลงที่ร้องไปไหม ผมรู้สึกเหมือนเราเป็นแค่อาจารย์ตัวเล็กๆ ในรายการใหญ่ระดับโลก

ผ่านเข้ารอบมาในทีมโจอี้ ก็ได้ทำอะไรที่ไม่ค่อยได้ทำ รอบแรกก็ร้อง Rap เลย รอบ Battle เป็นรอบที่เครียดมากเพราะเพลงมันไม่เข้าปาก แต่สุดท้ายก็ผ่านมาได้ จนกระทั้งรอบ Live ผมเลือกเพลงได้เป็นคนสุดท้าย มีการเปลี่ยนเพลงเยอะมาก อันนั้นก็ไม่ดี อันนี้ก็ไม่เอา จนมาได้เพลงชัยชนะ ที่เลือกเพลงนี้เพราะตอนนั้นมีคนจ้างให้ไปร้องเพลงนี้ ซึ่งไม่เคยร้องมาก่อน แต่พอลองร้องดูก็รู้สึกว่ามันก็ดี นับว่าเป็นเพลงที่เปลี่ยนชีวิตผมเลย

ห้องเรียนครูกิต 101

ประสยการณ์สอนครั้งแรก จำได้ว่าท้าทายมาก เพราะสอนเด็ก 2 คนที่คนนึงหูดีมาก อีกคนจะร้องเพี้ยนเป็นเสียงขั้นคู่ 3 ตลอดเวลา มันเป็นการสอนครั้งแรกที่ผมยังไม่รู้ว่าควรทำกิจกรรมอะไรที่ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ร่วมกัน สุดท้ายเลยส่งต่อให้ครูท่านอื่นที่มีประสบการณ์มากกว่า

ตอนแรกที่เลือกเรียนครุศาสตร์ เพราะคิดว่าจบมาจะเป็นครูแบบครูอ้วน มณีนุช เสมรสุต แต่ตามหลักสูตรจริงๆ แล้วจบมาก็จะกลายเป็นครูประจำ ถึงอย่างนั้นผมก็ชอบสอน ชอบเล่นกับเด็ก ชอบที่จะนำความรู้ที่เรามีไปแชร์กับนักเรียน สอนเท่าที่เรารู้ รู้อะไรก็เอามาแบ่งให้นักเรียน การเรียนจบปริญญาโท ปริญญาเอก ไม่ได้หมายความว่าผมจะรู้ทุกอย่าง คนเราเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ เมื่อรู้มากขึ้น ก็นำมาสอนได้มากขึ้น นี้จึงกลายมาเป็นรูปแบบการสอนของผม

การสอนพิเศษ เราไม่รู้ว่านักเรียนจะอยู่กับเรานานแค่ไหน เขาอาจจะมีจุดประสงค์บางอย่างที่มาเรียนเช่น ไปแข่ง ประกวด อัดเสียง หรือเพื่อความบันเทิง ผมก็สอนเขาตามเป้าหมายที่เขาต้องการ 

ส่วนนิสิตนักศึกษา สมมติว่าในระดับปริญญาตรี เขาก็จะเข้ามาเรียน 4 ปีแน่นอน เราจะได้รู้จักเขาตั้งแต่ตอนสอบคัดเลือกเข้ามา จนกระทั้งคลาสแรก ผมจะคุยกับเขาถึงเป้าหมายที่วางไว้ ทำความรู้จักกันให้เขารู้จักเรา เรารู้จักเขา แล้วช่วยแนะนำสิ่งที่เขาควรทำ ดูแลเขาไปตลอด 4 ปี และไม่ได้เจอกันแค่ในคลาส ไม่ใช่ว่าเรียนหมดชั่วโมงก็แยกย้าย ถ้ามีเวลาว่าก็ชวนกันไปทำกิจกรรมอื่นๆ ด้วยกัน กินข้าวด้วยกัน ไปเที่ยวด้วยกัน

นักเรียนเองก็มีชุดความคิดที่แตกต่าง อย่างนักเรียนที่อเมริกาเขาจะมีความกล้าคิด กล้าถามมากกว่า ทำให้เขาไปได้เร็ววว่า แต่นักเรียนไทยจะค่อนข้างต้องการพื้นที่ปลอดภัย เราจึงต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับเขา ทำให้เขาไม่กลัวและกล้าที่จะลองผิดลองถูก “เธอไม่ต้องร้องให้ครูประทับใจ เธอสามารถร้องผิดได้ เพราะครูมีหน้าที่ทำให้เธอร้องถูก” และในห้องเราถ้าเขาฟังไม่ทัน ไม่เข้าใจเนื้อหา เขาสามารถเบรกครูและถามได้ แม้กระทั้งขอเปลี่ยนเพลงถ้าเขาไม่อยากร้องเพลงนั้นก็ได้

Level Zero !?

“ผมเชื่อว่ามันไม่มีหรอก คนที่ร้องเพลงไม่ได้เลย” เขาแค่มีบางสิ่งที่ทำไม่ได้เพราะไม่รู้ว่าจักฝึกฝนด้วยตัวเองยังไง เราแค่ต้องรู้ว่าจะสอนให้เขาร้องเพลงได้ดีขึ้นอย่างไร เราต้องฟังเสียงเขา ทำความรู้จักเขา อต่ถ้าในกรณีที่เขาต้องการจะร้องเพลงในแนวที่ผมไม่ถนัด ก็อาจจะต้องส่งต่อให้ครูท่านอื่น

ผมเคยเป็นครูที่เข้มงวดมาก ซึ่งเด็กที่สอนตอนนั้นเขาก็เก่ง แต่แลกมาด้วยการกลัวเวที กลัวว่าจะร้องพลาด ผมเลยต้องปรับการสอนใหม่ ทำให้เขามั่นใจในศักยภาพของเขามากขึ้น ดึงสิ่งที่โดดเด่นในตัวเขาออกมา และเขาสามารถร้องผิดได้ เพราะผมมีหน้าที่แก้ตรงจุดนั้น

Vocal Style

การร้องเพลงแต่ละแนวก็จะใช้ส่วนผสมที่แตกต่างกัน มีในส่วนของเทคนิก การหายใจ ตำแหน่งของเสียง ลูกคอ(Vibrato) ประโยคเพลง จังหวะ อย่างเวลาร้องเพลงคลาสสิก กล่องเสียงจะเลื่อนลงต่ำ แต่ถ้าร้องเพลงป็อกก็ปล่อยกล่องเสียงขึ้นมาเป็นต้น เราควบคุมกล้ามเนื้อต่างๆ ได้ องค์ประกอบเหล่านี้ก็เหมือนวัตถุดิบในการประกอบอาหาร แค่ต้องรู้ว่าจะต้องใช้อะไรในปริมาณเท่าไหร่แล้วจะออกมาเป็นเมนูอะไร การร้องเพลงก็เช่นกัน ถ้าเขาใจในส่วนนี้ ก็สามารถร้องเพลงได้หลากหลาย

เสียงสูง ต่ำ แหลม ทุ้ม แต่ละคนจะเข้าใจคำเหล่านี้ไม่เหมือนกัน ผมเคยประสบเหตุการณ์แบบนี้มาเหมือนกัน ตอนอัดเสียงโปรดิวเซอร์เขาอยากได้เสียงนุ่มๆ ผมก็ร้องจนคิดว่ามันนุ่มจนไม่รู้จะนุ่มยังไงแล้ว จนโปรดิวซ์เซอร์อีกคนนึงเขามาบอกว่า ขอเสียงลมๆ นั้นแปลว่าเสียงนุ่มของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราเพียงต้องทำความเข้าใจว่าเสียงลักณะแบบนี้ของเรา ตรงกับแบบไหนของเขา เสียงเบสของเราอาจจะเป็นเสียงทุ้มของเขา

ครูก็มีวิชาที่ชอบ

แน่นอนว่าเป็นครูสอนร้องเพลง ก็ต้องชอบสอบวิชาปฏิบัติ ตรงนี้เราจะได้ใช้ทักษะในความเป็นนักแสดงมาสอน และอีกวิชานึงคือ Pedagogy ซึ่งจะใช้องค์ความรู้ของความเป็นครูเข้ามาสอน

แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่ชอบวิชาอื่น แค่จะมีการสอนที่ต่างออกไป อย่างเช่น Chorus ด้วยความที่ผมเองก็ไม่ใช่คอนดักเตอร์วงประสานเสียง ก็เลยไม่ได้สอนพวกเขาเพื่อสร้างวงประสานเสียง แต่จะสอนให้รู้จักการทำงานแบบ Ensemble ให้เขารู้จักการทำงานเป็นทีม ร้องเพลงแล้วรู่จักฟังกัน คนร้องเพี้ยนได้ฝึกร้องให้ตรงมากขึ้น เราสามารถปรับรูปแบบการสอนตามความเหมาะสมได้ ไม่ได้ต้องยึดตามหลักสูตร เพราะ 1 ชั้นปีก็มีแค่ 20 คน จึงสามารถปรับได้ ก็มาดูกันว่านิสิตเขาต้องการอะไร เขาควรได้เรียนอะไร ถ้าอ่านโน้ตกันได้แล้วก็เรียนร้องเพลงเลย

ส่วนวรรณกรรมเพลง ก็เป็นเรื่องที่แฝงอยู่ในเพลงร้องอยู่หลายเพลงโดยเฉพาะโอเปร่า ซึ่งมีทั้งเรื่องราวทั่วไป คล้ายๆ กับละครหลังข่าว หรือเรื่องราวที่แฟนตาซีมากๆ ตัวอย่างเช่นโอเปร่าของ Richard Wargner จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเพทกรีก ซึ่งถ้าคนฟังเขาไม่ได้มีความรู้ด้านเทพเจ้ากรีกเป็นทุนเดิม เขาอาจจะไม่เข้าใจเรื่องพวกนี้เลย แต่กับเรื่อง Le Nozza di Figaro ของ Wolfgang Amadeus Mazart จะเป็นเรื่องทั่วๆ ไป ก็จะทำความเข้าใจได้ง่ายกว่า และเรื่องนี้ผมเคยแปลบทพรรณนากึ่งร้องกึ่งพูดเป็นภาษาไทยตอนจัดการแสดงที่มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งมันทำให้ผู้ชมเข้าใจและสนุกกับโอเปร่าได้ง่ายขึ้น

ยุคสมัยที่เปลี่ยน

ต้องยอมรับว่าในยุคนี้ดนตรีร่วมสมัยเช่นเพลงป็อป ได้รับความนิยมเป็นอย่างมา แต่ไม่ได้หมายความว่าดนตรีคลาสสิกมันได้ตายจากไปโดยสิ้นเชิง แค่ไม่ได้เป็นกระแสหลักในปัจจุบัน มันก็ยังคงเป็นศิลปะชนิดนึงที่ควรรักษาไว้ ซึ่งเป็นแบบนี้เหมือนกันทั่วโลก

สำหรับผม มันเป็นการร้องเพลงที่ได้ใช้ร่างกายทั้งหมด ใช้แรงกายแรงใจและจิตวิญญาณ เป็นการร้องเพลงที่ท้าทายึวามสามารถมาก เพราะใช้เสียงที่ไม่ปกติ เรียกว่าเหนือธรรมชาติเลยก็ว่าได้ ซึ่งเพลงแบบอื่น ไม่ได้ใช้ทักษะด้านนี้ แต่เพราะว่ามันไม่ได้เป็นกระแสหลัก ก็อาจจะเรียนเพื่อไปเพื่อประยุกต์ใช้กับเพลงแนวอื่น ซึ่งต้องสอนให้นักเรียนเข้าใจด้วย

Hoped Wishes

ในตัวนักเรียน ผมหวังว่าเขาจะรู้จักตัวเองมากขึ้น เข้าใจร่างกาย เสียงของตัวเอง และนำความรู้ที่ผมให้เข้าไปต่อยอดในเส้นทางที่เขาเลือกได้ ส่วนในวงการดนตตรีคลาสสิก ผมหวังว่าพวกเราจะสามารถรวมกันเป็นหนึ่งได้ ไม่แบ่งแยกกัน วงใครวงมัน วงการนี้ก็เล็กอยู่แล้ว และดนตรีคลาสสิกก็ไม่ใช่กระแสหลัก มันคงจะดีกว่าถ้าเราร่วมมือกัน แล้วเราจะรอดไปด้วยกัน

สำหรับคนที่อยากลองทำความรู้จักกับดนตรีคลาสสิก ผมอยากบอกว่า ไม่ต้องคิดมาก ดนตรีนั้นเชื่อมโยงกับอารมณ์ความรู้สึกอยู่แล้ว จะเห็นภาพอะไรก็ปล่อยให้ดนตรีพาไป ปกติเราฟังเพลงที่มีเนื้อร้อง พอไปฟังเพลงบันเลงหรือเพลงภาษาอื่นที่ไม่เข้าใจ มันทำให้คุณตั้งคำถามว่าจะยังไง จริงๆ แล้วดนตรีมันอยู่ในทุกๆ ที่ เช่นภาพยนตร์ การใส่ดนตรีเข้าไปในแต่ละฉาก ช่วยดึงอารมณ์ของผู้ชมออกมาได้ แต่ถ้าได้ยินเพลงนั้นโดยปราศจากภาพ คุณอาจจะสงสัยว่ากำลังฟังอะไรอยู่ ให้หยุดตั้งคำถามกับมันก่อน แล้วก็เปิดใจฟัง ถ้าฟังแล้วมันสะท้อนอะไรบางอย่าง นั้นคือคำตาบของดนตรี

สำหรับคนที่ชื่นชมผม ผมรู้สึกขอบคุณมากๆ ผมเชื่อว่าพวกเขามีอยู่จริงๆ แต่อาจจะเป็นพลังเงียบที่เงียบมากๆ ไม่ได้ออกมาแสดงตัวให้เห็นเหมือนแฟนคลับของศิลปินท่านอื่นๆ หรือแม้แต่คนที่อ่านมาถึงตรงนี้ ก็ขอขอบคุณมากๆ ที่สนใจในเรื่องราวของผม ถ้าผมสามารถสร้างแรงบันดาลใจก็ยินดีมาก หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านครับ

การเป็นกิตตินันท์ ชินสำราญ สอนให้รู้ว่า เราสามารถเป็นทั้งครูและนักแสดงไปพร้อมๆ กันได้ ทั้ง 2 อย่างนี้มันเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน การเป็นนักร้องนักแสดง เราได้ประสบการณ์ในด้านนี้กลับไปสอนนักเรียน ในขณะที่เราสอน เราเห็นความผิดพลาดของนักเรียนซึ่งเราก็ประสบปัญหานั้นเช่นกัน มันได้เช็กตัวเองและพัฒนาตัวเองขึ้นมาเสมอ เมื่อเราทำได้ เราก็เอาความรู้นั้นกลับไปแบ่งบันให้กับนักเรียนอีกที ผมทำแบบนี้มาตลอด 10 กว่าปี และดีใจมากๆ ที่ได้ทำทั้ง 2 อย่างนี้พร้อมๆ กัน

สามารถติดตามครูกิตได้ที่ Instagram : klassikit

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า