fbpx

การยิงมวลชนและความเจ็บป่วยทางจิต?

เหตุการณ์การยิงมวลชนในตัวเมืองโคราชของผู้ก่อเหตุซึ่งเป็นนายทหารนายหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ได้สร้างความตื่นตระหนักและความหวาดกลัวให้แก่ประชาชนชาวไทย เนื่องจากขณะเกิดเหตุผู้ก่อเหตุได้โพสต์ข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟชบุ๊ค ประกาศถึงความเคลื่อนไหวที่เป็นเสมือนการแสดงชัยชนะของตนในการก่อเหตุครั้งนี้ด้วยถ้อยคำที่เป็นปกติ และไม่มีทีท่าหวาดกลัวหรือรู้สึกผิดแต่อย่างใด

คำว่า ยิงมวลชน (Mass Shootings) เป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกถึงการสังหารเหยื่อสามคนขึ้นไปในการก่อเหตุครั้งเดียว แรงจูงใจของผู้ก่อเหตุมักเกี่ยวข้องกับความปรารถนาที่จะฆ่าคนให้มากที่สุดด้วยวิธีการเฉพาะ เช่น ปืน หรือการวางเพลิง และเกิดจากบุคคลที่ไม่คิดว่าจะเป็นผู้กระทำความผิด

การยิงมวลชนเป็นความรุนแรงและก่อให้เกิดภาพความเจ็บปวดในพื้นที่สาธารณะ อย่างไรก็ตาม สื่อและประชาชนทั่วไปเคยเชื่อว่าเหตุการณ์ยิงมวลชนเป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย อีกทั้งมองว่าเป็นการกระทำของผู้ก่อเหตุที่มีอาการป่วยทางจิตและโรคทางจิต แต่งานศึกษาเรื่อง Mass Shootings and Mental Illness ของ Knoll, J. L. IV, & Annas, G. D (2016) อธิบายว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมาจากปัจจัยที่ซับซ้อนหลายประการ ไม่มีงานวิจัยที่เชื่อถือได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากความเจ็บป่วยทางจิตขั้นรุนแรงเป็นหลัก ตรงกันข้าม ความเจ็บป่วยทางจิตมีสาเหตุจากปัจจัยภายนอกและควรให้ความสนใจกับปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการยิงมวลชนด้วย

สื่อนอกระบุ 'เหตุกราดยิงโคราช' บ่งชี้กองทัพไทย 'หละหลวม'
ภาพโดย VoiceTV Online

ทั้ง Knoll, J. L. IV และ Annas, G. D ยกตัวอย่างเหตุการณ์ยิงมวลชนในสหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้นอย่างบ่อยครั้ง หลายกรณีในยุคก่อนสมัยใหม่ของการยิงมวลชนบ่อยครั้งเกิดจากผู้ชายที่มีความเครียดและความโกรธแค้น จบลงที่ตัดสินใจฆ่าครอบครัวของตนเอง ตรงกันข้ามจำนวนมากในช่วงปี 1990 เกิดขึ้นจากบุคคลที่มีการวางแผนจะยิงมวลชนในที่สาธารณะ และตั้งใจที่จะทำลายล้างมากที่สุดเท่าจะเป็นไปได้ ปรากฏการณ์ใหม่ของผู้ชายโกรธเกรี้ยวที่เปลี่ยนแปลงจาการยิงมวลชนครอบครัวสู่การยิงมวลชนมวลชน กลับกลายเป็นเหตุการณ์รุนแรงที่ดึงดูดความสนใจจากสาธารณชนได้เป็นระยะเวลายาวนาน อีกทั้งเป็นผลมาจากปัจจัยอันซับซ้อนมากมาย ขณะที่สื่อมักเสนอคำอธิบายแบบง่าย ๆ ที่ถือว่าผู้กระทำความผิดเป็น “คนบ้า”หรือ “คนเลว” หรือที่สื่อไทยใช้คำว่า “คลั่ง” ในการเรียกทหารคนดังกล่าว แต่ความเจ็บป่วยทางจิตของผู้ก่อเหตุหรือผู้ก่อเหตุนั้น

ปัจจัยที่พบบ่อยในหมู่ผู้ก่อเหตุ ได้แก่ ความรู้สึกโกรธแค้น ความต้องการแก้แค้น ความรู้สึกแปลกแยกทางสังคม และวางแผนล่วงหน้าได้ดี ทั้งนี้ผู้ก่อเหตุจำนวนมากไม่ได้วางแผนเอาตัวรอดจากการก่อเหตุ กล่าวคือ ตั้งใจจะฆ่าตัวตายหรือถูกตำรวจฆ่าหลังจากการก่อเหตุ จากเหตุการณ์ในอดีตพบว่า พวกเขามัก ถูกกลั่นแกล้ง โดดเดี่ยวในวัยเด็ก และโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่โดดเดี่ยว รู้สึกสิ้นหวัง แปลกแยกทางสังคม สำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FBI) ได้ทำการศึกษาการก่อเหตุของมือปืน 160 ครั้ง จากเหตุการณ์ระหว่างปี 2000 ถึง 2013 พบว่า มีการก่อเหตุเฉลี่ยปีละ 11.4 ครั้งและแนวโน้มมีเหตุการณ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย FBI ค้นพบปัจจัยที่สำคัญต่อไปนี้

มีเหตุการณ์การก่อเหตุเกิดขึ้นเฉลี่ยปีละ 11.4 ครั้ง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การค้นพบที่สำคัญของการศึกษาของ FBI พบว่า

– การก่อเหตุส่วนใหญ่ (70%) เกิดขึ้นในที่ทำงานหรือสภาพแวดล้อมทางการศึกษา
– การก่อเหตุสองครั้งเกิดขึ้นโดยบุคคลเดียว
– ผู้ก่อเหตุฆ่าตัวตายใน 64 (40%) ของคดี
– เหตุการณ์ส่วนใหญ่ (67%) สิ้นสุดลงก่อนที่ตำรวจจะมาถึงและสามารถเข้าร่วมได้
– ผู้ก่อเหตุจากเหตุการณ์ 160 เหตุการณ์พบว่า 64 (40%) มีคุณสมบัติเป็นการยิงมวลชน (สังหารหมู่) มีเพียง 6 (3.8%) จาก 160 รายที่ผู้ก่อเหตุเป็นผู้หญิง

อ้างอิง James L. Knoll IV, M.D. & George D. Annas, M.D., M.P.H. (2016) Mass Shootings and Mental Illness
โดย อาทิตยา อาษา

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า