fbpx

ย้อนรอยยุค “หลุมดำ” ของวงการการ์ตูนเมืองไทย

หลังจากที่มีข่าวว่าตำรวจกองปราบปรามเปิดปฏิบัติการ “ปิดเกมคนเหนือโลก” จับกุมเครือข่ายหลอกลวงนักลงทุน ซึ่งมีหัวหน้าขบวนการคือนายประสิทธิ์ เจียวก๊ก ประธานโครงการคืนคุณแผ่นดิน ทำให้มีการพูดถึงการที่เขานั้นไปออกรายการหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมากในด้านความน่าเชื่อถือทั้งจากเนื้อหาของรายการ และจากทัศนคติทางการเมืองของตัวผู้ดำเนินรายการในช่วงก่อนหน้านี้

นั่นทำให้มีการกลับมาพูดถึงรายการ “อีกรายการหนึ่ง” จากผู้ผลิตเดียวกัน ในตอน “การ์ตูนสายพันธุ์ใหม่ ใครคือเหยื่อ?” ซึ่งมีมุมมองต่อวงการการ์ตูนญี่ปุ่นในมุมที่ “แคบเกินไป” และ “เน้นมองแต่ด้านมืดมากเกินไป”

“พฤติกรรมการร่วมเพศที่วิปริต, วิตถาร, เน้นความรุนแรง บังคับขืนใจ ,เรื่องราวที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล ไม่มีความเป็นมาเป็นไปของการกระทำของตัวละคร เนื้อหาสาระที่บั่นทอนศีลธรรมจรรยาของสังคม ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวการ์ตูนญี่ปุ่นนำเสนอในวันนี้ การ์ตูนที่ห่อหุ้มด้วยหน้าปกลวดลายน่ารัก สดใส ซึ่งตรงกันข้ามกับเนื้อหาที่นำเสนอด้านในอย่างสิ้นเชิง” คือมุมมองที่ทางรายการนั้นมีต่อวงการในตอนนั้น ในยุคที่คนยังคิดว่าเราสามารถ “เชื่อ” ทุกอย่างที่เกิดการพูดถึงขึ้นในทีวีได้

หารู้ไม่ว่าหลังจากรายการออกอากาศในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มันทำให้มุมมองของคนส่วนหนึ่งในสังคมต่อวงการการ์ตูนเปลี่ยนไป บ้างก็ถูกนำหนังสือการ์ตูนไปเผา บ้างก็ถูกเผาชุด บ้างก็ต้องแฝงตัวเวลาจะซื้อหนังสือการ์ตูนแต่ละที คนที่สนใจต้องไปทำงานด้านอื่น ความเข้าใจด้านลิขสิทธิ์ล่าช้า และอีกมากมาย ในทุกวันนี้ มุมมองของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร สามารถติดตามกันได้เลยครับ

มีอะไรให้อ่านบ้างในบทความนี้?

คำเกริ่น และมุมมองของผู้เขียน : ตราบาปของผู้ผลิต

เอาเข้าจริง ๆ ตัวผู้เขียนเกิดในช่วงที่รายการนี้ออกอากาศก็จริงครับ แต่ตอนนั้นผมอายุ 2 ขวบครับ…และในตอนนั้นที่บ้านที่ชลบุรีก็แทบจะเปิดแต่ช่องเลขท้ายสุดของทีวีอนาล็อกในตอนนั้น มีสำนักงานอยู่ย่านวิภาวดีรังสิต ที่มีกราฟฟิคสีแดงเด่น และมีสโลแกนว่า “ความสุขของทุกคนในครอบครัว” แต่รายการที่ผมเขียนถึงนี้นี้ออกอากาศในช่องหมายเลขตรงกลาง ใกล้กับช่องที่เรตติ้งดีที่สุด มีสำนักงานย่านพระราม 9 โลโก้ดวงตาสีม่วง…สดใส ซึ่งมีสโลแกนว่า “สังคมอุดมปัญญา”

ในสมัยนั้นรายการนั้นเป็นรายการที่ขึ้นชื่อเรื่องของการนำเสนอ “ด้านมืดและพิษภัยต่าง ๆ” ที่เกิดขึ้นในสังคมในขณะนั้น ว่ากันว่ามีทั้งการชื่นชม การวิพากษ์วิจารณ์ การด่าทอ ยาวจนไปถึงการฟ้องร้อง

ในเทปนั้นก็ดูเหมือนว่าทีมงานก็คงหวังดีจริง ๆ แหละครับ เพราะด้วยความที่ตอนนั้นการ์ตูนที่มีฉาก “โป๊” เริ่มแพร่ระบาดในสังคมไทยในขณะนั้น (ซึ่งในตอนนั้นบริบทสังคมส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมพอ ดีไม่ดีตอนนี้ก็อาจจะยังใช่ในบางส่วน) แต่การออกอากาศในตอนนั้น มันดูเหมือนว่ารายการไป “เหมารวม” คนทั้งวงการ ทั้งที่ทำการ์ตูนไปในทางโป๊ และคนที่ทำดีอยู่แล้ว ไม่ได้แตะต้องวงการการ์ตูนโป๊ ว่าควรต้องอยู่ในกรอบศีลธรรมในตอนนั้น

จนกลายเป็นที่ถกเถียงของคนในวงการการ์ตูนอยู่พักหนึ่ง จนใน 4 วันถัดมา รายการ “ถึงลูกถึงคน” รายการแนว Hard Talk ของกรรมกรข่าวที่หลายท่าน “คุ้นเคย” อย่าง “สรยุทธ สุทัศนจินดา” ต้องหยิบเอาทั้ง 2 ฝ่ายมาพูดคุยกัน

เรื่องก็ดูเหมือนว่าจะจบดี แต่มันก็ส่งผลกระทบมาในระดับหนึ่งเช่นกัน

หลังจากที่ได้ฟังรายการ “เพื่อนบอกให้ลองทำ Podcast” นั้น ทางคุณโปจิ (ทักษพล ศรีวชิราวัฒน์) ได้กล่าวไว้ว่า “เหมือนเอาสีดำมาป้ายบนสีเทา” ซึ่งในการตีความของผู้เขียนก็คือตัวรายการนั้น ทำให้วงการที่เป็นสีเทา ๆ อยู่ ก็คือมีมุมสีดำ ที่ไม่ดำเกินไป และมีมุมสีขาว ซึ่งก็ไม่ขาวเกินไป กลายเป็นสีดำไปเลย เหมือนมองโลกว่ามีเพียงแค่ 2 สี คือขาว และดำ

ในไลฟ์นั้น มีการพูดถึงรายการนั้นว่าหนังสือการ์ตูนที่ทางรายการซื้อนั้น มีประมาณ 2 ใน 3 เล่ม หรือ 6 ใน 10 เล่ม “เป็นหนังสือการ์ตูนโป๊” ดีไม่ดีอาจจะนับยันฉากเซอร์วิสด้วย หรือที่ทางทีมงานไปหยิบหนังสือการ์ตูนจากซุ้มการ์ตูนโป๊มา 10 เล่มที่ซื้อมา เป็นหนังสือการ์ตูนโป๊หมด (ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ ไปหยิบจากซุ้มหนังสือการ์ตูนโป๊มาแหละนะ) และที่น่าสนใจอีกอย่าง คือมีข่าวว่ารายการนี้มีการแอบถ่ายในงานคอสเพลย์อีกด้วย ทำให้คนในวงการคอสเพลย์ก็ระแวงสื่อไปพักหนึ่ง

อีกสิ่งที่น่าสนใจคือในรายการพอดแคสต์ของคุณโปจินั้น มีการพูดถึงคำว่า “ตกหลุมดำไปแล้ว” ซึ่งก็คือคำที่ใช้กับการ์ตูนลิขสิทธิ์บางเรื่องที่ทางสำนักพิมพ์หยุดพิมพ์เพื่อป้องกันปัญหาจากกระแสสังคม เทียบกันแล้วเนี่ยก็อาจจะใกล้เคียงกับคำว่า “แจกแพ” ในปัจจุบัน และยังทำให้คนซื้อการ์ตูนวายต้องซื้อแบบแอบ ๆ เหมือนซื้อสิ่งผิดกฎหมาย ต่างกับปัจจุบันซึ่งเป็นเรื่องปกติกันไประดับหนึ่ง นิยายวาย การ์ตูนวาย ซีรีส์วาย จากผู้ผลิตผลงานในไทย แทบจะกลายเป็นสินค้าส่งออกขนาดย่อม ๆ ไปแล้ว

ต้องออกตัวก่อนว่าด้วยความที่ผู้เขียนก้ไม่ได้รู้เรื่องนี้มากเสียเท่าไหร่ด้วยความเกิดไม่ทันของตัวผู้เขียนเอง ทางผู้เขียนจึงขออนุญาตแนะนำบทความที่คุณปรีดิ์ปณต นัยนะแพทย์ ได้เขียนถึงรายการนี้บนเว็บไซต์ The Matter ควบคู่ไปกับการอ่านบทความนี้ >> กดอ่านที่นี่ <<

ผู้เขียนมองว่าเราก็คงจะมองว่าเหตุการณ์นั้นมันคือ “หลุมดำ” ของวงการการ์ตูนไปพักใหญ่ ๆ และกลายเป็นเหตุการณ์ที่จะทำให้คนในวงการพร้อมนำมาย่ำยีอีกครั้ง หากมีวันใดวันหนึ่งที่ผู้ผลิตรายการนั้นล้มลงได้ ซึ่งมันก็มีจริง ๆ แหละครับ

ในด้านหนังสือการ์ตูนโป๊ ผู้เขียนมองว่ามันคือวิจารณญาณเฉพาะบุคคล อยู่ที่การเลือกอ่านของแต่ละบุคคลครับ หากผู้ปกครองพอจะมีความห่วงใยบ้าง เลือกสิ่งที่เหมาะสมให้ลูกอ่าน ก็เป็นเรื่องดีไป แม้ว่าทุกวันนี้มันจะหาง่ายเหมือนกับอะไร ก็ไม่แปลกใจ คิดว่ามันก็ต้องอ่านอย่างมีสติ และวิจารณญาณ (ซึ่งในพอดแคสต์ของคุณโปจิ เขาก็แซวเรื่องนี้นะครับ)

สำหรับเรื่องสารพัดสื่อสายวายนั้น ทุกวันนี้ผู้เขียนก็ยอมรับว่าเป็นคนที่มีรสนิยมทางเพศไปในทางชอบเพศเดียว แม้ว่าอาจจะไม่ได้อินกับซีรีส์วายขนาดนั้น แต่ก็รับรู้ถึงกระแสวายในปัจจุบัน 

เพราะทุกวันนี้ก็มีนิยายวายเรียงรายอยู่ในร้านหนังสือเยอะมาก จากที่เคยแอบ ๆ อ่าน วันนี้อาจจะไม่ต้องด้วยซ้ำไป ซีรีส์วายก็ดังระเบิดระเบ้อ ว่ากันว่าในช่วง 2-3 ปีนี้ก็หลายสิบหลายร้อยเรื่องเข้าไปแล้ว หลายแบรนด์ใช้นักแสดงซีรีส์วายเป็นพรีเซ็นเตอร์ก็เยอะ และตัวผู้เขียน ก็เคยไปเป็นผู้ชมของรายการ ๆ หนึ่ง ซึ่งเป็นเทปที่มีนักแสดงซีรีส์วายไปร่วมด้วย ก็แอบดีใจอยู่เหมือนกัน แม้จะกลายเป็นเหมือนคำว่า “เกลียดอะไรก็ได้อย่างนั้น” กลายเป็นว่าได้ไปดูคอนเสิร์ตพวกเขาด้วย และใครจะไปคิดว่าในงานสัปดาห์หนังสือจะมีปีกหนังสือวายแบบเต็ม ๆ ปีก… ซึ่งมันเกิดขึ้นจริงแล้ว…

(ภาพไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทความ)

เข้าเรื่อง : มุมมองจาก “คนที่รู้จริง” และจำเหตุการณ์นั้นได้

แน่นอนครับว่าการที่จะให้ผมไปพูดถึงวงการนี้แบบห้าว ๆ เลย ก็คงจะดูเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะดูดีเสียเท่าไหร่นัก ผู้เขียนจึงจำเป็นที่จะต้องสัมภาษณ์ 2 บุคคล 2 ท่านที่พอจะจำเหตุการณ์ได้ อย่างคุณปรีดิ์ปณต นัยนะแพทย์ 1 ในนักเขียนบทความของเว็บไซต์ The Matter ซึ่งได้โพสต์วิจารณ์รายการนี้ด้วยอารมณ์ไปแล้วบ้างในเพจ “อ่าน ดู Young” (ที่เพิ่งเขียนบทความเกี่ยวกับรายการหลุมดำไป และนำลงเว็บไซต์ The Matter ในช่วง 2 ทุ่มในวันเดียวกันหลังจากสัมภาษณ์เสร็จ) และคุณคม กุญชร ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ PropsOps Cosplay Site, 1 ในผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมอุตสาหกรรมคอสเพลย์ไทย ซึ่งเขาเคยเป็น 1 ในผู้ร่วมรายการ “ถึงลูกถึงคน” รายการฮาร์ดทอล์กสุดโด่งดังในสมัยนั้นหลังรายการออกอากาศเทปนั้นได้ราว ๆ 4 วัน และโพสต์ถึงการย้อนความจำเมื่อ 16 ปีก่อนเมื่อช่วงเกือบ ๆ 1 ปีที่แล้ว

ตอนนั้นท่านมีมุมมองอย่างไรกับตัวของรายการ?

คม – ก็ ถ้าถามว่ารู้สึกอย่างไรต่อรายการต้องบอกก่อนว่าในช่วงเวลานั้นนะครับทางทีมงานหรือว่าทางรายการเนี่ยค่อนข้างมีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูงนะครับ โดยส่วนตัวเคยดูรายการในตอนอื่น ๆ มาก่อนบ้างอยู่แล้วนะครับ ถ้าผมจำไม่ผิด ผมจะเคยดูตอนที่มันเป็นเหมือนเด็กโดดเรียน หรืออะไรประมาณนี้อะครับ พูดถึงเด็กนักเรียนที่แบบโดดเรียน ก็เราก็ดูเราก็รู้สึกว่าเขาก็เก็บข้อมูล เขาก็หาอะไรมาได้ค่อนข้างดีนะ อะไรอย่างนี้อะนะ ก็ถ้าถามโดยส่วนตัวก้อนที่จะมาถึงตอนที่มีปัญหาเนี่ย ก็ค่อนข้างรู้สึกว่าเป็นรายการที่ดูสนุกใช้ได้ และเก็บข้อมูลมาดี ตีแผ่อะไรต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ก็ จนมาถึงตกงานการ์ตูนสายพันธุ์ใหม่นี่แหละครับ ที่อาจจะเพราะว่าเราเป็นคนการ์ตูนเอง ก็พอมาเห็นก็เลยถึงได้รู้ว่าข้อมูลมันก็มีปัญหา มีบางอย่างบิดเบือนค่อนข้างชัดเจนนะ เอาเป็นว่าก็คือ ตอนแรก ก็คือน่าจะคิดว่าตอนนั้นแหละครับเป็นครั้งแรกเลยกับรายการว่า เอ๊ะ? แล้วตอนที่ผ่าน ๆ มาที่เราดูเนี่ยมัน สรุปแล้วที่มันเชื่อเนี่ยมันเชื่อได้มากน้อยแค่ไหน ประมาณนี้แหละครับ

อัพ – ย้อนไปในปี ค.ศ. 2005 ซึ่งเป็นปีที่รายการออกอากาศครับ ตอนนั้นผมก็ยังอายุ 20 ต้น ๆ อยู่ ดังนั้นตอนนั้นจริง ๆ ผมจะอยู่ในฐานะผู้บริโภคมากกว่าที่จะไปทำงานเกี่ยวข้องกับบริษัทลิขสิทธิ์เหมือนที่เป็นปัจจุบันนี้นะครับผม

ถ้าเรียบเรียงคำพูดโดยเร็วตอนนั้นก็ต้องยอมรับว่า…ดูรายการแล้วค่อนข้างหัวร้อนนะครับ จริง ๆ จะคล้าย ๆ ที่กุ๊กกิ๊กพูดไปเมื่อกี้ว่าเราเป็นคนที่เสพของสื่อบันเทิงอย่างการ์ตูนมาตั้งแต่เด็กนะครับ เราจะเห็นฟอร์ม จะเห็น Pattern ของการ์ตูนมาแบบหนึ่งว่า…ถ้าเป็นงานที่ปกติที่เราอ่านมันไม่ได้เป็นอย่างที่เขานำเสนออย่าง 100% ขนาดนั้น

แต่ว่า…มันก็ อย่างที่คุณกิ๊กว่าไปเช่นกันครับว่าก่อนหน้านั้นผู้ผลิตรายการท่านนั้นที่เป็นผู้ผลิตรายการก็มีเครดิตที่ดี รวมถึงว่าหลาย ๆ อันก็ไปเสาะหาข้อมูลในจุดที่ ณ จุดนั้น ยังไม่มีใครเสาะหาทำให้ตัวรายการอะครับมีน้ำหนักค่อนข้างสูง

ดังนั้นมันก็จะเป็นเรื่องลำบากที่ว่า คือจริง ๆ ตอนนั้น จริง ๆ ไม่ต้องตอนนั้นหรอกครับ การ์ตูนนับตั้งแต่เข้ามาในไทยอะครับ ตั้งแต่สมัยผมเด็กกว่านี้มาก สักประมาณ 30 ปีก่อน ก็โดนมองว่าเป็นของที่เป็นของแปลกสำหรับผู้ใหญ่อยู่แล้วมันก็จะมีข่าวที่ว่าการ์ตูนจะโดนพิพากษาไปตามแนวทางของผู้ใหญ่ในแต่ละยุคอยู่แล้ว

เพียงแค่ว่าในแนวทางของนั้นมันค่อนข้างแนวทางที่ว่าคิดเองเออเองมากกว่าปกติ แล้วเป็นการคิดเองเออเองที่ถูกนำเสนอในสารคดีเชิงข่าว ซึ่งมันดูจับต้องและเข้าถึงได้ และในเมื่อมันเป็นสารคดีเชิงข่าวจากทีมที่น่าเชื่อถืออะครับ ถ้าให้คนมองว่าเป็นนั่นข้อเท็จจริงไป แล้วเราก็จะรู้ว่าการคุยกับผู้ใหญ่ ไม่ว่าคุณจะเป็นเด็กยุคไหนคุยกับผู้ใหญ่อะครับ มันไม่ใช่เรื่องง่าย อันนั้นมันก็เลยกลายเป็นที่มาของความหัวร้อนขึ้นมาอีกสเต็ปนึง

ภาพจากรายการ “หลุมดำ”

ท่านได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในมุมมองของตัวท่านอย่างไร?

คม – จริง ๆ ต้องบอกว่าตอนที่…คือผมอะจำทั้งหมดไม่ได้เป๊ะ ๆ นะครับ คือมันก็นานมาแล้ว แต่ว่าคุ้น ๆ ว่าก็รู้ ก็ว่าจะมีตอนการ์ตูนสายพันธุ์ใหม่เนี่ย น่าจะก่อนออกอากาศสักวันสองวัน ไม่นานมาก แล้วก็สนใจ เพราะว่าเราเป็นคนชอบอ่านการ์ตูนอยู่แล้วใช่ไหมครับ ก็เปิดดู

ถามว่าเปิดดูด้วยความรู้สึกอะไร ก็เปิดดูว่า เออ เขาจะตีแผ่ในมุมไหนยังไง เพราะอย่างที่บอกไปแต่ต้นก็เราก็ค่อนข้างยังรู้สึกว่าเขายังเครดิตดีอยู่ อะไรค่อนข้างความรู้สึกแรกอยู่นะครับ

ก็สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนั้นหนะ ที่ค่อนข้างจะตกใจคือการบิดเบือนข้อมูลค่อนข้างเยอะนะครับ อันนี้ผมต้องบอกก่อนว่าสิ่งที่ค่อนข้างน่ากลัวในตอนของตอนนั้นคือมันมีบางส่วนที่มันเป็นข้อมูลจริง แต่มันก็มีข้อมูลบางอย่างที่มันผิดพลาดค่อนข้างสูง

ปัญหาคือพอมันปนกันมันกลายเป็นว่าถ้าไม่ใช่คนที่อยู่ในสังคมการ์ตูนเนี่ย จะเชื่อว่ามันเป็นจริงทั้งหมดนะครับ อย่างผมจำได้ว่า มันจะมีประโยคนึงที่บอกว่าถ้าเข้าไปในร้านการ์ตูนสักแห่งนึงเนี่ย หยิบการ์ตูนมา 3 เล่มเนี่ย 2 ใน 3 เล่มจะมีฉากเพศสัมพันธ์อยู่อย่างเนี้ย มันเป็นคำที่ค่อนข้างแบบเราก็ตกใจ เพราะว่าเราและกับคนการ์ตูนเราก็รู้ว่าแบบ เฮ้ย มันไม่ได้ขนาดนั้นเราหยิบการ์ตูนมาอยู่ ๆ จะมาเจอถึง 66% ที่จะมีฉากเซ็กส์ในการ์ตูนเนี่ยมันค่อนข้างจะแบบ…เฮ้ย มันใช่ถึงขนาดเชียวเหรออย่างนี้

แล้วก็…จริง ๆ ตอนนั้นผมเริ่มคอสเพลย์มาได้สักปีครึ่งนะครับ เราก็เห็นคอสเพลย์อยู่ในรายการ ก็ ตอนแรกก็ตกใจว่าแบบ เฮ้ย คอสเพลย์มันเกี่ยวอะไรกับเรื่องนี้เนี่ย …เท่าที่ผมเห็นเนี่ย เขาก็พยายามจะถ่ายเหมือนกับว่ายังมีน้องคนนึงเป็นแบบโพสท่าถือดาบแล้วเขาก็แบบถ่ายแต่ดาบ หลาย ๆ ช็อต มุมซ้าย ขวา ดาบ อะไรอย่างนี้ คือผมคิดว่าเขาพยายามจะสื่อว่าแบบการ์ตูนที่รุนแรงเนี่ยก็คือนี่ไง มีเด็กคอสเพลย์ถือดาบ อะไรอย่างนี้ มันจะฟังดูแปลก ๆ แต่ผมคิดว่าเขาคงหาตัวอย่างที่ชัดเจนไม่ได้ เขาก็เลยใช้วิธีนี้แล้วก็ ผมจำได้ว่าพอจบรายการ ผมรู้เลยว่าคนการ์ตูนต้องไม่แฮปปี้แน่ ๆ ผมรู้สึกได้เลยแบบ เอ้ย นี่มันอะไรวะเนี่ย มัน…ทำไมมันบิดเบือนถึงขนาดนี้

แล้วก็จำได้ว่า คือตอนนั้นคือคนการ์ตูนหรือคอสเพลย์เขาจะเขียนเป็น Blog แล้วนะครับ เป็น Exteen Blog แล้วก็เริ่มเห็นเพื่อน ๆ ตัวเองที่เป็นคนการ์ตูนหรือคอสเพลย์เนี่ยเริ่มเขียน Blog ถึงว่าแบบ เฮ้ย…มันไม่ใช่ละ, เฮ้ย มันบิดเบือนละ อะไรอย่างเนี้ย เราก็เห็นในห้องพันทิป ห้องเฉลิมไทย ตอนนั้นก็เป็น หมวดการ์ตูนมันจะอยู่ในห้องนี้ ก็คนตั้งกระทู้มากมายว่าแบบเฮ้ยรายการทำไมทำอย่างนี้อย่างนั้น อะไรอย่างนี้ครับผม ก็ตอนนั้นหนะรู้แล้วว่าคนการ์ตูนแล้วก็คอสเพลย์เนี่ยไม่แฮปปี้อย่างรุนแรงเลย

อัพ – ถ้าจากมุมมองของตัวผมเองเลย จริง ๆผมถือค่อนข้างได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย เพราะว่าตัวผมไม่ได้ตามการ์ตูนที่มี Respect ในการโดนเซ็นเซอร์ในการเซ็นเซอร์ตัวเองของค่ายการ์ตูนยุคนั้น

แต่ว่าสำหรับเพื่อน ๆ ในกลุ่มการ์ตูนอะครับว่า ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่อ่านการ์ตูนผู้หญิง หรือกลุ่มอ่านการ์ตูนที่เป็นเซอร์วิส อันนั้นเขาจะพูดกันได้เต็มปากมากกว่าว่าเขาโดน การ์ตูนโดนเซ็นเซอร์เยอะขึ้นนะ หรือบางเรื่องคือมันไม่ออกไปเลยเป็นเวลาหลายปี ซึ่งถ้ารวม ๆ มันเป็นภาพลักษณ์ที่… โดนสื่อในยุคนั้นบอกว่าสิ่งที่คุณเสพอยู่มันเป็นเรื่องแย่ แล้วก็กลายเป็นว่าโดนมองว่าเป็นคนแย่อะครับ

คือการถือการ์ตูนถ้าไม่ใช่การ์ตูนที่เป็นจุดที่เรียกว่าแมสมากพอ คุณจะเป็นตัวประหลาด คุณจะเป็นคนลามก คุณจะเป็นคนที่ เนี่ย ก็แบบที่รายการว่าไว้แหละว่าคุณ “ไม่เข้าสังคมปกติ”

ตอนนั้นคุณกุ๊กกิ๊กทำอะไรอยู่?

คม – ต้องบอกก่อนว่าในช่วงนั้นผมอายุประมาณ 20 ต้น ๆ 23 นะครับถ้าผมจำไม่ผิด ก็คือโอเคในมุมหนึ่งผมเป็นนักศึกษามหาลัยอยู่นะครับ ในตอนนั้นผมทำเว็บ Props&Ops Cosplay Site ขึ้นมาแล้วนะครับ แต่ว่าถ้านับอายุก็คงประมาณปีนึงนะครับ

ถ้าผมจำไม่ผิดเนี่ย ผมจะคอสเพลย์มาปีครึ่ง แล้วก็เว็บไซต์ทำงานมาปีนึงนะครับ ถามว่าตอนนั้นเนี่ยถ้าเทียบกับปัจจุบันนะครับ ก็ถือว่ายังค่อนข้างใหม่นะครับ ตัวเว็บ PropsOps ที่ถ้ามองว่าทุกวันนี้แบบ โห เป็นข้อมูลคอสเพลย์มากมายเนี่ย ตอนนั้นก็ยังถือเป็นช่วงเริ่มต้นแรก ๆ ไม่ได้มีอะไรมากนะครับ ก็ แต่ว่าอาจจะโชคดีที่มีโอกาสได้รู้จักกับคอสเพลเยอร์ หรือผู้จัดงานในช่วงเวลานั้น ก็เลยเป็นมีโอกาสได้แบบแลกเปลี่ยน คุย อะพูดคุยกัน แล้วก็เห็นมุมมองที่พูดถึงรายการประมาณนี้แหละครับ

ผลกระทบจากตัวรายการในสายตาของตัวท่าน ที่บางอย่างอาจส่งผลกระทบถึงทุกวันนี้เป็นอย่างไรบ้างครับ?

คุณคม กุญชร ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ PropsOps Cosplay Site – ภาพโดย The Matter

คม – จริง ๆ อันนี้ต้องบอกก่อนว่า คือมันก็นานแล้ว ประมาณ 16 ปีใช่ไหมครับ ก็ต้องยอมรับว่าผลเสียหรือผลอะไรอย่างนี้ที่มันเกิดขึ้นมันอาจจะจางลงไปมากแล้วนะครับ แต่ว่าสิ่งที่ผมว่าหลายคนยังเห็นอยู่แบบใครไปซื้อหนังสือการ์ตูนก็จะเห็นว่าแบบ หนังสือการ์ตูนจะมีพูดถึงแบบ การ์ตูนเรื่องนี้เหมาะสำหรับอายุ 18 ปี ขึ้นไป หรืออะไรอย่างนี้

เพราะว่าผมจำได้ว่าในช่วงเวลาตอนนั้นเนี่ย ตอนที่ผมกับหลายคนที่ไปออกรายการถึงลูกถึงคน คือเราโดนโจทย์จากทางรายการว่าแบบ “อ้าว แล้วคุณจะปกป้องการ์ตูนโป๊หรือเด็ก?” อะไรอย่างนี้ ซึ่งเราก็ค่อนข้างตกใจ เพราะว่าเราไม่ได้บอกเลยทั้งการ์ตูนโป๊นะครับ แต่ตอนนั้นเราก็ได้เสนอว่า ถ้าแบบนี้เราอาจจะต้องมีการจัดเรตติ้งไหม อะไรอย่างนี้ ซึ่งมันก็ เราก็ไม่รู้มันเกี่ยวโยงกับที่เราพูดหรือเปล่า แต่ว่าหลังจากนั้นเนี่ย ทางการ์ตูนของสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ก็จะเริ่มมีการพูดถึงเรตติ้งการ์ตูนว่าแบบ เรื่องนี้เหมาะกับ 15 ปีขึ้นไป, 18 ปีขึ้นไป ประมาณนั้นนะครับ แต่ว่าถ้าถามว่ามันมีผลทางกฎหมายไหม มันยังไม่มีนะครับ มันเหมือนแค่กับแปะเอาไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัยของสำนักพิมพ์เองนะครับ

ผลกระทบถ้าตอนหลังจากออกใหม่ ๆ เนี่ย อันนั้นต้องบอกก่อนคนคอสเพลย์จะระแวงเรื่องสื่อมากในช่วงหนึ่งนะครับ แล้วก็ท้ายสุดในทางมุมกลับกันเนี่ย ก็จะมีคนคอสเพลย์ที่มองว่า อาจจะจำเป็นที่เราต้องออกสื่อมากขึ้นเหมือนกันนะครับ ถามว่าออกสื่อในเชิงไหน ออกสื่อในเชิงพรีเซนต์ว่าคอสเพลย์คืออะไร พรีเซนต์ว่าคอสเพลย์เนี่ยมันไม่ได้แบบเสียคนนะ ตัวอย่างผมจำได้ที่มีคอสเพลเยอร์ที่ไปออกรายการแล้วก็โชว์ใบเกรด เรียนได้ 3.8, 3.9 เพราะว่าในบริบท ณ เวลานั้นเนี่ย คอสเพลย์ยังใหม่มาก ใหม่ชนิดที่ว่า คนเห็นว่าเป็นคนบ้า แปลง่าย ๆ เลยนะครับ ทีนี้ ผมคิดว่านั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่คอสเพลย์เนี่ยเริ่มเข้าออกสื่อมากขึ้นนะครับ เริ่มเปิดตัวให้คนรู้จักมากขึ้นเพราะว่า ก็คือผลกระทบจากการที่ว่าถ้าเราไม่พรีเซนต์ให้ใครเห็นเนี่ย เขาก็จะติดอารมณ์ไปใช้กันมั่ว ๆ นะครับ

ถามว่าผลกระทบมาถึงทุกวันนี้ ผมว่ามันก็เป็นโอกาสดีที่ทำให้คนการ์ตูนหลายคนเนี่ยรู้จักการแสดงตัวออกสื่อมากขึ้นนะครับ แล้วก็คนการ์ตูนในเวลานั้นหลายคน ทุกวันนี้ก็เติบโตขึ้นมาเป็นทำงานสำนักพิมพ์ ทำงานค่ายการ์ตูนต่าง ๆ มากขึ้นนะครับ ก็เราก็ได้เห็นว่าเขานำบทเรียนเหตุการณ์ในตอนนั้นไปประยุกต์ใช้บ้างนะครับ

ผมคิดว่าตอนนี้ถ้ามีเหตุการณ์คล้าย ๆ แบบตอนนั้นโผล่มาเนี่ย ผมเชื่อว่าจะมีทั้งฝั่งคนการ์ตูน ฝั่งสำนักพิมพ์อะไรต่าง ๆ เนี่ย จะมีข้อมูลอะไรต่าง ๆ เนี่ย มาตอบคำถามที่หลายคนสงสัยได้ชัดเจนมากกว่าเดิมมากกว่าตอนนั้นครับ

อัพ – ความเสียหายนับเป็นในเชิงสังคมแหละครับว่า..โดนมองในฐานะคนอ่านการ์ตูนปกติ ทั้ง ๆ ที่ทำตัวเหมือนเดิมนะครับ หมายถึงว่าก่อน หรือหลัง ผม กับเพื่อนก็อ่านเรื่องเดิม ประมาณเดิม แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นถ้าเป็นในเชิงสังคมว่า ทั้ง ๆ ที่เรายังทำตัวเหมือนเดิม แต่เราต้องมาอธิบายให้คนฟังมากขึ้น เราต้องมา Approved ตัวเองหลาย ๆ ขั้นตอนอะครับ คล้าย ๆ ที่คุณกิ๊กบอกเมื่อกี้ ทำไมจะไปคอสเพลย์เราจะต้องไปนั่งแบบสอบให้ได้เกรด 4 ก่อน อะไรอย่างนั้นอะครับผม

ซึ่งที่พูดถึงในลักษณะนี้เพราะในตอนนั้นผมไม่ได้ทำงานในสายงานพวกลิขสิทธิ์นะครับ ดังนั้นผมไม่ได้รับความเสียหายในเชิงที่ว่าเฮ้ย บริษัทเสียหายนะ มันไม่ใช่อย่างนั้น

มุมมองวงการการ์ตูนในไทยในปัจจุบัน ในสายตาของตัวท่านเป็นอย่างไร?

คม – ถ้าถามผม อย่างที่บอกเนี่ย ผมก็อยู่มา ผมต้องบอกว่าผมชอบอ่านการ์ตูนมาตั้งแต่เด็กนะครับ จนถึงปัจจุบันนี้ เราก็เห็น ว่าแน่นอนมันมีการเติบโตมากขึ้นนะครับ วงการการ์ตูนเดี๋ยวนี้มันไม่ได้ มันไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กคนหนึ่งอ่านการ์ตูนแล้วแบบ มันมีวงการของมัน มีกลุ่มคนเขียนโดจินชิ มันมีคนเขียนทาง Illus แฟนอาร์ตต่าง ๆ นะครับ

หรืออย่างการ์ตูนเองก็เป็นส่วนหนึ่งของ Pop Culture ตรงนี้ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับแนว Pop Culture อย่างพวกสไตล์งานการ์ตูน งานคอสเพลย์ งานอะไรอย่างนี้มันก็มีมากขึ้นนะครับ แล้วก็ มันก็ดึงดูดแม้กระทั่งอย่าง ถ้าย้อนกลับไปเมื่อสัก 5-6 ปีก่อนก็จะมีงานสไตล์อย่าง AFA ที่มาจัดที่ประเทศไทย คือตอนนั้นเราเห็นว่า Community การ์ตูนเนี่ยมันกว้างและก็มัน Connected ไปกับต่างประเทศได้ค่อนข้างชัดเจนยิ่งขึ้นนะครับ

แล้วว่าเดี่ยวนี้ การที่คนการ์ตูนเนี่ย ถ้าสมมติไม่ติดโควิดอะนะครับ การที่คนการ์ตูนจะบิน บินไปเที่ยวงานการ์ตูนที่ญี่ปุ่นหรือที่สิงคโปร์ หรืออะไรอย่างนี้ มันเป็นเรื่องที่แบบ มันเกิดขึ้นได้จริงนะครับ เหมือนกับว่าตรงนี้ในแง่ของการบริโภคในประเทศเนี่ยมันเริ่มชัดเจนขึ้น แต่ถามว่า มันก็ยังมีประเด็นหลายอย่างที่เราอาจจะต้องหาทางแก้ไขหรือว่าปรับ Mindset ต่าง ๆ นะครับ อย่างเช่นการที่ยังมีบางกลุ่มที่แบบอ่านการ์ตูนเถื่อน หรือไม่ได้อุดหนุน สนับสนุนลิขสิทธิ์เท่าไหร่เนี่ย ยอมรับว่ามันก็อาจจะทำให้การขับเคลื่อนของอุตสาหกรรมการ์ตูนเนี่ยมันยังไม่สามารถเดินได้อย่างเต็มตัวนะครับ ถ้าถามผมเนี่ย กราฟเนี่ยมันเหมือนจะขึ้นเรื่อย ๆ มันไม่ใช่นะครับ มันจะมีช่วงขึ้น มันจะมีช่วงที่ลง สลับไปสลับมาเสมอนะครับ บางช่วงก็เป็นช่วงที่การ์ตูนลิขสิทธิ์ค่อนข้างบูม บางช่วงก็เป็นช่วงที่แปลเถื่อนนี่ทำให้ลิขสิทธิ์ตกไปบ้างก็มีนะครับ ก็เป็นช่วงที่ว่า ผมว่าโดยรวมเติบโตขึ้น แต่ก็ยังงต้องประคับประคองกันต่อไปครับ

อัพ – ทัศนะผมปัจจุบันเหรอครับผม? จริง ๆ ตอนนี้ต้องบอกว่ามันผ่านมา 16 ปีครับ มันมีหลายอย่างที่เปลี่ยนไปมากจากตอนที่เกิด Invent ของคำว่าหลุมดำ

อย่างที่คุณกิ๊กพูดไปข้างต้นก่อนแล้วว่าตัวสำนักพิมพ์ บริษัทสำนักพิมพ์ หนังสือการ์ตูนในไทยก็ใช้วิธีการเซ็นเซอร์ตัวเองก่อนด้วยการทั้งก็ไม่ว่าจะใส่ภาพเซ็นเซอร์ลงไป แล้วก็จัดเรตติ้ง(แม้ว่ากฎหมายไม่ได้สั่ง!?)เพื่อให้เกิดว่าเขาได้แบ่งกลุ่มแล้ว

แต่ว่าปัจจุบันเนี่ยครับคนเสพหนังสือการ์ตูนมันไม่ได้หยุดอยู่แค่เด็กแล้วเพราะว่าอย่างรุ่นผมเองตอนนี้จริง ๆ มันก็เริ่มเดินไปที่วัย 40 แล้ว มันเริ่มไม่ใช่วัยของสิ่งที่เรียกว่าเด็กละ มันเป็นวัยคนทำงาน บริษัทต่าง ๆ เองก็ผลิตงานให้นักสะสมมากขึ้นอะครับผม ดังนั้นตัววงการมันเปลี่ยนไปมากแล้วว่าจากเดิมที่มันเป็นเหมือนวงการที่บันเทิงเพื่อขายเด็ก หรือที่ผู้ใหญ่อย่างคุณจะบอกว่าหลอกเด็ก ตอนนี้มันเป็นวงการที่เหมือนงานวรรณกรรมอื่น ๆ ที่มีงานสะสม มี Business เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะ

แล้วก็จากเดิมที่เราขายกันในประเทศ หรือ Import ของประเทศอื่นเข้ามาขาย ตอนนี้ก็เริ่มมีภาวะกลับกัน คือเราขายงานส่งไปต่างประเทศเหมือนกัน มันเริ่มกลายเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น มันเริ่มกลายเป็น Business มากขึ้น ถ้าเทียบกับ 15-16 ปีที่แล้ว ณ ตอนที่รายการนั้นออก มันไม่มีมุมมองเลยว่าคนเสพการ์ตูนจะเขียนการ์ตูนแล้วส่งไปประเทศอื่น แต่ว่าปัจจุบันนี้มันกลายเป็นธุรกิจมากขึ้น คนเสพก็เติบโตมากขึ้น มีกำลังจ่ายมากขึ้น ถึงแม้ว่ามันยังติดหล่มตรงปัญหาลิขสิทธิ์ที่จริง ๆ…

ตรงนี้ผมกลับไปที่ข้อ 3 นิดนึงนะครับ ถ้ามองในมุมบริษัท ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากหลุมดำอันนึงคือทำให้ไปเสพของเถื่อนมากขึ้น เพราะว่าของแท้ไม่สามารถออกได้เนื่องจากรายการนั้น มันก็เลยส่งผลมาปัจจุบันว่าจริง ๆ อุตสาหกรรมมันควรจะโตได้มากกว่านี้ไม่มากก็น้อย แต่มันมาติดหล่มที่ว่า มันเกิด Invent ที่คนไปเสพงานไม่มีลิขสิทธิ์มาเป็นหลัก 10 ปีแล้วอะไรอย่างนั้นอะครับผม

แต่ว่า ก็ เออ ผมคิดว่า ถ้าภาวะที่บ้านเมืองเรากลับมาปกติมากขึ้นจากโควิดนะครับ วงการการ์ตูนของไทยเองไม่ว่าจะเป็นทั้งฝั่งหนังสือที่นำเข้าหรือว่าคนเขียนในเมืองไทยเองจะเติบโตขึ้น ในฟอร์มที่…จริง ๆ ผมเดาไม่ถูกว่าจะเป็นฟอร์มแบบไหน เพาะว่าถ้าว่ากันตรง ๆ เมื่อ 5 ปีที่แล้วนักเขียนไทยจะนึกว่า เฮ้ย ฉันไปรวมเล่มเข้าสำนักพิมพ์น่าจะเป็นช่องทางที่ดีที่สุด แปต่อตนนี้คือทุกอย่างโดน Disrupt ด้วยออนไลน์ ทุกอย่างมันเปลี่ยนไปเยอะมาก แต่ทุกคนพยายามเติบโต ในการ Disrupt นั้นอะครับผม


EXTEND CONTENT : ส่วนต่อขยาย กับเรื่องของ “ลิขสิทธิ์” กับวงการการ์ตูนในประเทศไทย


วงการลิขสิทธิ์กับการ์ตูนในประเทศไทย (ทั้งที่เป็นการ์ตูนนำเข้า และการ์ตูนในประเทศ) ในตอนนี้ท่านมองเรื่องของการอ่านของเถื่อน และการเติบโตขึ้นของอุตสาหกรรมการ์ตูนออนไลน์ในไทยอย่างไร?

อัพ – ในส่วนลิขสิทธิ์การ์ตูนนำเข้า จริง ๆ แล้วตามสถิติของญี่ปุ่นที่ทางกระทรวงวัฒนธรรม(ที่นู่น)เขาจัดทำนะครับ ประเทศไทยเป็นประเทศที่ซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูนเข้ามาจากญี่ปุ่นอยู่ในประมาณอันดับ TOP 5 มาค่อนข้างหลายปีแล้ว

ดังนั้นในเชิงนึงอะครับประเทศเราค่อนข้างจะร่ำรวยในเชิงลิขสิทธิ์ แต่ว่าในคำว่าร่ำรวย คือการที่มีคนซื้อสิทธิ์มาเยอะเนี่ยมันไม่ได้แปลว่ามันขายดีตามจำนวนที่ซื้ออะครับ แต่แปลว่าเราอะสนใจเขา และเราอะซื้อมาเยอะ แต่ของที่สุดท้ายมันจะขายดีไหม อันนี้มันเป็นอีกเรื่องนึง แล้วก็ในเชิงที่ว่าพอซื้อมาเยอะมันก็แปลว่าจริง ๆ แล้วอะครับลูกค้าของประเทศไทยเรา คนอ่าน ผู้บริโภค มีกำลัง มี Potential ถ้าผมพูดติดตลกอันนึงต้องบอกว่ามีความ “หน้ามืด” พร้อมจะจ่ายเงินได้อยู่ ตอนนั้นอะครับ

ด้วยขั้นตอนลิขสิทธิ์บางอย่างมันก็จะย้อนกลับไปที่เหตุการณ์ที่ผมพูดถึงหลุมดำเมื่อกี้ว่าด้วยความที่ว่าพอมันมีของเถื่อน ที่เข้าใจได้ว่าเนี่ย เราอ่านสัปดาห์เดียวได้กับญี่ปุ่น ช่วง 15 ปีที่ของเถื่อนมันบูมขึ้นมา จริง ๆ แล้วอันนี้เขาเป็นคนที่บอกว่าเขามันบูมขึ้นมาคือฝั่งประเทศญี่ปุ่นเขาด้วยนะครับ ไม่ได้พูดกลบประเด็น แค่มันตรงกับหลุมดำพอดี พอจังหวะที่ของเถื่อนมันบูมขึ้นมามันก็มีความเข้าใจผิดที่เข้าใจว่าคุณสามารถ เสกมันได้เหมือนสแกน เสกมันได้เหมือนแฟนซับ แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่ครับในการทำงานลิขสิทธิ์พวกนำเข้ามันจะมีขั้นตอนมากกว่านั้น บางทีเราก็ต้องรอเขา บางทีเขาก็ต้องรอเรา

ถ้าขำ ๆ ที่สุดอันนึงที่น่าจะคาบเกี่ยวกับหลุมดำนิดหน่อย บางเรื่องอะครับหน้าปกมันอล่างฉ่างไป บางทีก็ต้องส่งไปส่งมาเพื่อแบบว่า คุณมีทางไหมที่ทำให้สินค้ามันดูปลอดภัยในการวางขายหน่อย อะไรอย่างนี้อะครับ ดังนั้นมันก็จะมีความ…ในขั้นตอนลิขสิทธิ์จริง ๆ มันจะช้านิดนึง ซึ่งมันจะสวนทางกับหัวใจของผู้บริโภคเขาอยากได้เร็วที่สุด

สำนักพิมพ์ญี่ปุ่นเตรียมเปิดร้านหนังสือการ์ตูนใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ
ภาพจาก ผู้จัดการออนไลน์

กลับมาตอบที่ว่าในด้านงานลิขสิทธิ์ Import อะครับ มันมีการโตอยู่ แต่ว่าตอนนี้ตัวผมคิดว่าตัวอุตสาหกรรมมันจะโตไปในเชิงของการสะสมกว่าที่จะเป็นสมัยที่ผมยังเด็กที่ว่าการ์ตูนยัง 25 บาท 35 บาท แล้วซื้อเป็นเล่ม มันเปลี่ยนไปเยอะ มันเปลี่ยนเป็นของสะสมมากขึ้น ผมคิดว่าถ้าเห็นตัวดาบพิฆาตอสูรประมาณ 4-5 เล่มที่ออกเป็น Collector Edition จะเห็นชัดเจนว่าเนี่ย เขาเริ่มรู้แล้วว่าคนอ่าน ถ้าพูดหยาบคายเลย มึงอ่านสแกนมาแล้วหละ เราจะทำยังไงให้คุณซื้อดี งั้นเราก็ต้องสร้าง Value ให้ Products ตอนนี้ตลาดถ้าฝั่งลิขสิทธิ์ Import มันเป็นอย่างนั้นมากขึ้นครับว่าไปทำ Products ให้มี Value แล้วก็เรารู้อยู่แล้วว่าบางอย่างคุณอ่านมาแล้ว แต่มีสิ่งนี้ที่ทำให้เราทำให้คุณยังซื้ออยู่ กับอีกส่วนที่อาจจะเป็น อันนี้ถ้ามองในมุมมองปัจจุบันอาจจะนึกว่าวงการการ์ตูนลิขสิทธิ์ในบ้านเราดูขายหนังสือน้อยลงถ้าเยีบกับสมัย 15 ปีก่อน เพราะว่ามันมีการละเมิดลิขสิทธิ์มากขึ้นสำนักพิมพ์ก็เลยต้องหยิบ Volume อย่างละเมียดมากขึ้น จะทำขายก็ต้องคิดมากขึ้น มันก็เลยดูว่ามาช้าลง แต่มันจะเป็นการมาช้าที่ มี Detail มากขึ้น มีของแถมมากขึ้น แล้วก็อีกอันนึงที่เลี่ยงไม่ได้คือราคามันเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะในแง่ว่าเพราะมันมีของเพิ่ม หรือว่าในแง่เงินเฝ้อ ที่จริง ๆ มัน…ค่าแรงเราไม่เคยหยุดขึ้นนะครับ อิทธิพลมันก็เลย Follow ไปเหมือนกัน อันนั้นเป็นส่วนของตัวฝั่ง Import นะครับ

อันนี้อีกส่วนเป็นฝั่งของการ์ตูนในประเทศไทยอะครับ อันนี้ค่อนข้างจะ Triggy หน่อยนึงเพราะว่าถ้าพูดแบบตรงไปตรงมาที่สุด สำนักพิมพ์การ์ตูนไทยที่พิมพ์การ์ตูนไทยขาย นอกจากบรรลือสาส์นที่ทำขายหัวเราะแล้ว ส่วนใหญ่น่าจะอยู่ในจุดที่ “ใกล้ตาย” กันหมดแล้ว ซึ่งอันนี้ถามว่า แยกก่อนเหมือนกันว่า มันไม่ใช่ว่านักเขียนไทยไม่มีศักยภาพครับ แต่ว่ามันเป็นเรื่องของการ Disrupt ที่หลาย ๆ อย่างที่มันเปลี่ยนไป ผู้บริโภคเปลี่ยนไป หรืออะไรก็ตามแต่

แต่อย่างที่ผมพูดเมื่อกี้ว่า จริง ๆ ที่ถามว่าบอกทำไมรอโควิดกันอยู่  พอดีเมื่อวาน(22 พฤษภาคม 2564, วันก่อนวันสัมภาษณ์)มีกลุ่ม Clubhouse ของกลุ่มนักเขียนกัน เขาก็บอกว่ารอ Invent กันอยู่ เพราะว่านักเขียนไทยอะครับ อาจจะไม่ได้ทำงานกับสำนักพิมพ์ลิขสิทธิ์โดยตรง แต่เขาทำงานจัดการ Products สินค้าตัวเอง ขายเอง ออกในพื้นที่สื่อเอง บางท่านอาจจะถึงขั้นที่แบบว่า…ก็เป็นสำนักพิมพ์ตัวเองนั่นแหละทำขายกันเองไปเลย แล้วก็ทำขายกันเองในรูปเล่มไม่แพ้กับที่ผมพูดไปเมื่อกี้ว่าของ Import เริ่มมาต้องใช้รูปเล่มรูปลักษณ์ ของไทยก็เริ่มมีอย่างนั้นว่า ก็เริ่มทำรูปเล่มรูปลักษณ์ให้น่าสะสม ยั่วคนอ่าน บางปกขายกัน 500 บาท แต่ขายได้นะครับ แล้วขายหมดด้วย

ตอนนี้คือ มันมีการ…ก็คือฝั่งการ์ตูนไทยมันโดน Disrupt และนักเขียน Creator ในบ้านเรา Disrupt ตัวเองกันเดือดมาก น่าจะเห็นกันอยู่ว่าหลายท่านก็เคยเขียนการ์ตูนเรื่องยาวลงใน…สมัยก่อนอาจจะเคยลง SIAM INTER COMICS อาจจะทำเนชั่นหรือแม้แต่ทำบรรลือสาส์นกันเอง ปัจจุบันนักเขียนหลายท่านขึ้นมาเปิดเพจ

ในช่วงยุคที่ LINE STICKER เฟื่องฟูก็ไปเขียน LINE STICKER กัน ตอนนี้คือทุกคนพยายามสร้างอัตลักษณ์ของตัวเอง พยายามหาอัตลักษณ์ที่เป็นตัวเองที่สุด คือบางคนอาจจะ Said กับการเขียนงานหน้าฉากด้วยนะครับ แต่เอาอาจจะไปแบบเขาไปเขียน Storyboard ให้คนอื่น เขาไปเขียน Main ให้คนอื่น เขาไปทำงาน Effect ที่ว่ามันเป็นงานละเมียดที่นักเขียนการ์ตูนจริง ๆ คือทำกันอยู่ปกติ แต่สายงานอื่นเขาอาจจะไม่คุ้น แล้วนักเขียนการ์ตูนก็เพิ่งรู้กันตอน Disrupt ว่าอ้าว นี่คือสิ่งที่สายงานอื่น Require เหมือนกัน

ถ้าพูดโดยสรุปคือนักเขียนไทยโดน Disrupt ไปตามยุคสมัย และไปทำแพลตฟอร์ม และค่อนข้างโชคดีที่นักเขียนของเราพอไหวตัวเร็ว ขยับตัวเร็ว ถ้าพูดติดตลกอันนึง จะมีคำพูดที่ผมได้ยินจากนักเขียนไทยคนหนึ่งคือ “เอ่อ…เราหิวเงินกันเร็วอะครับ เราเลยเคลื่อนไหวเร็ว” แต่เพราะอย่างนั้นแะครับมันเลยจะเป็นการที่นักเขียนกลุ่มนี้ที่เคลื่อนไหวเร็วก็จะพออยู่ได้ แต่แน่นอนว่าจะมีกลุ่มนกเขียนยุคเก่าที่อาจจะต้องลำบากหน่อยนิดนึงครับผม

คม – ของผมต้องออกตัวก่อนว่าผมอาจจะไม่ได้…ด้วยความที่ไม่ได้ทำงานอยู่กับค่ายสำนักพิมพ์ คืออาจจะตอบได้ไม่ลึกเท่ากับคุณอัพนะครับ แต่ว่าก็อาจจะพูดในมุมของผู้บริโภค หรือว่าผู้ที่อยู่กับตรงนี้มาแล้วก็ทำอะไรหลาย ๆ อย่าง ก็อาจจะได้รู้ข้อมูลมาบ้าง จริง ๆผมคิดว่าสิ่งที่…ถึงแม้ว่าเราจะพูดถึงเรื่องการ์ตูน แต่ว่าในแง่ของปัจจุถบันเนี่ย ผมว่ามันพูดถึงรวมได้ทุกคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ เป็นเพลง หรืออะไรก็ตามเนี่ย สิ่งที่ตอนนี้กลุ่มเจ้าของคอนเทนต์หรือ IP เนี่ย ที่จะต้องเจอกับความท้าทายคือความเร็วนะครับ อาจจะคล้าย ๆ ที่คุณอัพตอบ

ก็คือว่าผมนึกย้อนไปสมัยก่อนเนี่ยการได้อ่านการ์ตูนตามญี่ปุ่นเนี่ยสัปดาห์ต่อสัปดาห์ถือว่าเร็วมากละ แต่ว่าสำหรับผู้บริโภคสมัยนั้นเนี่ยไม่ใช่นะครับ การ์ตูนญี่ปุ่น ฉายที่ญี่ปุ่นเมื่อไหร่ ผู้บริโภคสมัยนั้นอยากจะดูด้วย ณ เวลานั้นเลยนะครับ การ์ตูนออกตอนใหม่ที่ญี่ปุ่นเมื่อไหร่ ผู้บริโภคก็แทบจะอยากอ่าน ณ ตอนนั้นเลยนะครับมันเลยทำให้มันเกิดช่องว่างขึ้นตรงที่ว่า แน่นอน อย่างที่คุณอัพอธิบายว่าการจัดการเรื่องลิขสิทธิ์มันต้องใช้เวลา แต่ผู้บริโภคเขาแค่สนใจคอนเทนต์อย่างเดียวเลย บางทีเขายอมที่จะดู เขายอมที่จะไปหาเถื่อนนะครับ เนี่ยมันคือเป็นช่องว่างที่ทำให้เกิดตัวเว็บเถื่อนนะครับ

หรืออย่างตัวอย่างที่อาจจะยกมาเปรียบเทียบเนี่ย ผมจะนึกถึงก่อนหน้านี้ที่จะมีซีรีส์ของ MARVEL นะครับ ชื่อ Wandavision กับ Falcon And Winter Soldier นะครับ ด้วยความที่ Disney+ ยังไม่มาเปิดในไทย ตอนนี้เว็บเถื่อนในไทยหลายเว็บเลย พวกดูหนังเนี่ยก็จะมี Wandavision ฉายพร้อมแปลซับไทย อาจจะแปลซับแบบ Google Translate ไปนิดนึง แต่นั่นมันแสดงว่ามันมีคนที่พร้อมที่จะยอมดูแบบนี้นะครับ ซึ่งแน่นอนว่าคุณภาพของตัวของเถื่อนนี่มันสู้ของจริงไม่ได้อยู่แล้ว ก็จะคล้าย ๆ ของที่คุณอัพบอกว่าในแง่ของลิขสิทธิ์อาจจะต้องมาสู้กันในแง่ของ Value หรือรูปแบบอื่นเพิ่มเติมด้วย เช่นเป็นแบบของสะสมเป็นตัวเป็นตัวเป็นตนนะครับ

แล้วก็อันนี้อาจจะเป็นความรู้ที่ผมไปมาจาก…ก่อนหน้านี้สักเดือนมีนามีสัมมนาเรื่องลิขสิทธิ์ ไทย-ญี่ปุ่นนะครับ เรื่องคอสเพลย์ แล้วก็ก่อนหน้านี้เคยไปคุยกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาบ้างก็ได้แลกเปลี่ยนความรู้อะไรกัน สิ่งหนึ่งที่ผมพบคือที่ญี่ปุ่น กับที่เกาหลีเนี่ย และผมเชื่อว่าหลาย ๆ ประเทศที่เขามีคอนเทนต์แข็งแรงเนี่ย เขาจะมีองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลกำกับการเผยแพร่วัฒนธรรม Pop Culture ของเขานะครับ ของญี่ปุ่นเขาจะเป็นแนวแบบว่าเขาจะดูคอนเทนต์ Overseas อะไรต่าง ๆ เนี่ย

พูดง่าย ๆ คือ ผมก็ลองถามกลับไปว่า ถามกรมทรัพย์สินว่า “แล้วประเทศไทยมีหน่วยงานรัฐอะไรที่มาทำงานแบบนั้นบ้าง” เขาบอก “ไม่มี” สิ่งที่ใกล้เคียงที่สุดก็คือกระทรวงวัฒนธรรมนะครับ ก็คือรู้สึกว่าถ้าผมจะจำชื่อไม่ผิดจะเป็นกรมหรือ…จำเป๊ะ ๆ ไม่ได้ แต่ว่าจะเกี่ยวข้องกับศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัยนะครับ

ทีนี้เนี่ย ผมเคยไปคุยกับเขาเนี่ย ผมก็พบว่าคำว่าศิลปะร่วมสมัยเนี่ย ในมุมของเขากับในมุมของวัยอย่างเราเนี่ย เรามองไม่ตรงกัน ร่วมสมัยของเขานี่ยังค่อนข้างจะแบบภาพไทย มีความเป็นไทยอยู่ค่อนข้างสูงนะครับ ในขณะที่อย่างเรายกตัวอย่างคำว่าการ์ตูนงี้เราอาจจะนึกถึงการ์ตูนญี่ปุ่นแต่จริง ๆ แล้วการ์ตุนมันคือ License นะครับ การ์ตูนนี่คือมันแบบ…มันเป็นนานาชาติในตัวของมันเองอยู่แล้ว ฉะนั้นเนี่ย การจะสนับสนุนให้คนการ์ตูน คนไทยเขียนแล้วก็เอาคอนเทนต์มาทำอะไรต่าง ๆ มันทำได้แต่เขากลับมองว่ามันยังไม่ไทยอะ นึกออกไหม มันยังไม่ไทยขนาดนั้น

ภาครัฐเขามีความรู้สึกที่ว่า เขากลัวที่จะสนับสนุนอะไรแล้วกัลวผู้ใหญ่ด่า ผมใช้คำนี้เลยละกัน แล้วแบบ เฮ้ย เธอไปสนับสนุนอย่างนี้ได้ยังไง อะไรอย่างนี้ เพราะอย่างนั้น เขาจะ Play Safe เสมอ คือต้องเป็นไทยไว้ก่อนนะครับ ทีนี้ ผมคิดว่าตรงนี้มันจะทำให้นักเขียนในไทยหรือว่าอะไรต่าง ๆ ในไทยเนี่ยมันไม่มีผู้สนับสนุนอย่างชัดเจนนะครับ

แล้วก็อาจจะขออนุญาตยกอีกตัวอย่างหนึ่ง อันนี้ผมไปคุยกับผู้จัดงานอีเวนต์อยู่เจ้านึงนะครับ เป็นเจ้าใหญ่เลย เขาอะจัดงานญี่ปุ่นในไทยนะครับ เขาก็ไปขอสนับสนุนจากภาครัฐ ปรากฎว่าภาครัฐอะตอนแรกไม่แฮปปี้เลย เขาบอกทำไมต้องสนับสนุนคอนเทนต์ญี่ปุ่นในไทย? แต่ว่าอีเวนต์นี้เขาสามารถโชว์ได้ว่าไม่ใช่ คุณต้องดูให้ออกว่าฝั่งคนที่มาร่วมงานเนี่ยก็คือคนไทย และคนต่างประเทศที่จะมาเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งอันเนี่ยคือจุดขายที่จะทำให้คนมาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้นด้วย ซึ่งตอนหลังเนี่ย เพราะว่างานนี้พิสูจน์ตัวเองได้ ก็เลยทำให้รัฐเนี่ยถึงเขายอมเปิดใจมากขึ้น จะเห็นว่ารัฐยังำม่ออกจากกรอบที่ว่าถ้าจะทำอะไรสักอย่างที่เกี่ยวข้องกับคอนเทนต์เนี่ยมันต้องเน้นความเป็นไทยสูงนะครับ ผมใช้คำนี้เลย โดยรวมเนี่ย ผมคิดว่าตอนนี้จะเป็นช่วงเวลาที่ต้องยอมรับว่าเหมือนต่างคนต่างต้องหาโอกาสของแต่ละคน ของแต่ละกลุ่มให้ได้มัยังไม่มีองค์กรหรือหน่วยงานสนับสนุนที่ชัดเจนขนาดนั้นนะครับ แล้วก็ล่าสุดผมเห็นคอนเทนต์ญี่ปุ่นอันนึงอะครับ ผมเรียกว่าเป็นหนุ่มรถไฟละกัน คือเขาเอาสถานีของ Yamanote Line ที่ญี่ปุ่นมาแบบเป็นหนุ่มหล่อประจำทุกสถานีเลย อะไรอย่างนี้หนะครับ ก็ตอนแรกผมก็มอง ผมก็รู้แล้วว่าหนึ่งเขาต้องไปโคกับ JR แน่นอน คือการรถไฟของเขา จะเห็นว่ามันต้องเป็นเรื่องของคอนเทนต์ เรื่องของการคุยโคกับคนนั้นคนนี้ผมเชื่อว่าต่อไปเดี๋ยวมันก็ต้องมีเป็นลายการ์ตูนนี้แปะอยู่ตามสถานีรถไฟต่าง ๆ อีก ผมรู้ว่าข้างหลังอะมันจะต้องมีหน่วยงานอะไรสักอย่างที่ช่วยกันประสานงานด้วย ซึ่งในไทยมันยังไม่ชัดเจนตรงนี้ มันยัง…ก็โตแบบต่างคนต่างพยายามด้วยตัวของตัวเองแต่ว่าการประสานงานทำได้ค่อนข้างยาก ตรงนี้ก็ยังเป็นจุดหนึ่งที่เป็นโจทย์ท้าทายในอนาคตว่าแล้วจะมีหน่วยงานไหนที่ท้ายที่สุดจะเกี่ยวข้องกับคอนเทนต์ Pop Culture จริง ๆ ในประเทศไทยครับ ประมานี้ครับ

คุณกุ๊กกิ๊กครับ ที่คุณหยิบยกประเด็นมาเนี่ยคือภาครัฐ ถามนิดนึงนะครับ คืออย่างกระทรวงวัฒนธรรมหรือหน่วยงานอื่น ๆ อะไรอย่างนี้ เขายังวงกรอบความเป็นไทยอยู่ให้แบบแคบ ๆ อันนี้มันส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการ์ตูนแล้วก็ Pop Culture ต่าง ๆ ยังไงบ้างครับ? ทางออกในอนาคต คิดว่าต้องทำอะไร

คม – จริง ๆ ถ้ามองอย่างแฟร์ ๆ ก่อนเนี่ย ผมบอกเลยว่ามีบุคลากรเก่ง ๆ อยู่ในกระทรวงวัฒนธรรมเยอะนะครับ เคยพบกันอยุ่ แต่เราต้องเข้าใจในลักษณะของหน่วยงานรัฐว่าหน่วยงานรัฐจะเป็นเรื่อง Ranking จะมีขั้นบันไดของแบบ…มีหัวหน้างานแล้วก็จะมีลำดับเป็นหัวหน้ากรม หัวหน้ากระทรวงไปเรื่อย ๆ หนะครับ ฉะนั้นเนี่ย สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับคือ ผมว่าใช้สำนวนนี้เทียบละกันว่า ถ้าหัวไม่มา หางไม่เดิน นึกออกไหมฮะ

เพราะว่าผมอาจจะยกตัวอย่าง อย่างแม่ผมเคยเป็นตำรวจเนี่ย เขาก็เป็นข้าราชการ เพราะนั้นผมเลยเห็น Concept ว่าถ้าบนสูงสุดเนี่ยไม่เคลื่อนหรอก เคลื่อนไหวไปทางนึง ทุกคนในหน่วยงานก็ต้องเคลื่อนไหวตาม เป็นต้น นะครับ ถามว่าปัญหาที่ตอนนี้มันเกิดขึ้นเนี่ย คือผมคิดว่า ภาครัฐเขาทำงานในกรอบ อันนี้เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าเขาทำได้ถูกแล้ว แต่ว่าปัญหาคือว่ามันไม่มีช่องสำหรับการทำงานที่ใหม่ ๆ ออกไปนะครับ

ทีนี้ เวลาผมพูดอย่างนี้ ผมคงจะไม่พูดตำหนิในเชิงบุคคลนะครับ คิดว่าพอการที่ได้คุยกับภาครัฐหลาย ๆ ส่วนเนี่ย บางครั้งผมเห็นใจนะครับ เพราะว่า อย่างงบประมาณของแต่ละหน่วยงานเนี่ย เห็นอย่างนี้ ถ้าอยากจะ…อย่างปีนี้มันปี 2564 ใช่ไหมครับ ถ้าอยากจะทำโปรเจ็กต์อะไร 2566 หรือ 67 เนี่ย คุณต้องเขียนงบตอนนี้แล้วนะครับ ซึ่งเราต้องเขียนงบล่วงหน้า 2 ปี เขียนงบล่วงหน้า 2 ปีเนี่ยไม่ใช่เรื่องง่าย เราต้องมานึกถึงภาพว่าอนาคตว่าในอีก 2 ปีข้างหน้าเราอยากทำอะไร ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคือ เขาต้อง Play Safe นะครับ เขาต้องอยู่ในกรอบที่คิดว่ามันไม่เสี่ยงจนเกินไปนะครับ หน่วยงานรัฐ ยังไงก็ต้องยอมรับ เขาทำงานด้วยภาษีประชาชนนะครับ เพราะงั้น เขาเองก็กลัวกับการโดนตั้งคำถามเหมือนกันว่า เอ่อ แล้วคุณไปทำแบบนั้น แล้วท้ายที่สุดประโยชน์มันจะได้อะไร

อย่างตัวผมเอง ผมเกี่ยวกับเรื่องคอสเพลย์ใช่ไหมครับ เชื่อไหมครับว่าอย่างผมเคยพูดถึงโปรเจกต์ที่แบบ…เออ ถ้างานคอสเพลย์สามารถโคกับภาครัฐได้ มันจะช่วยเปิดโอกาสอะไรต่าง ๆ ได้มากขึ้น แค่เราเริ่มพูดถึงตรงนี้ แม้แต่ตัวเด็กคอสเพลย์เอง หรือคนคอสเพลย์เองก็ตั้งคำถามว่า “แล้วคอสเพลย์มันจะไปสร้างประโยชน์ได้ขนาดนั้นจริงหรือ?” ใช่ไหมครับ ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วมันมีตัวอย่างที่ชัดเจนของสิงคโปร์อยู่นะครับ

สิงคโปร์เนี่ย ผมจำได้ว่าเขา เขามองว่าญี่ปุ่นคือจุดเริ่มต้นของคอสเพลย์ แต่ไม่ได้แปลว่าจำเป็นจะต้องเป็นศูนย์กลางของคอสเพลย์ขนาดนั้นด้วย ดังนั้นสิงคโปร์เนี่ยจะพยายามมองว่าตัวเองเป็น…สามารถสร้างงานคอสเพลย์ที่ดึงคนจากภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็นมาเลย์, อินโด, ไทย มาร่วมงานกับเขาได้ นี่คือหัวใจหลักของสิงคโปร์นะครับ

ไทย…อย่างคอนเซ็ปต์นึงที่เราเคยคุยกันในทีมก็คือ อยากจะให้เหมือนกับว่า อะสมมติงานคอสเพลย์ที่ไทยเราจัดที่อุดรอย่างนี้ เราก็สามารถเชิญคนประเทศลาวเข้ามาร่วมได้ด้วย เป็นต้น คือเรามองในคอนเซ็ปต์ว่ามันกระตุ้นเรื่องการโรงแรมได้ เรื่องการท่องเที่ยวได้ แต่ว่า แน่นอนว่ามันก็จะเกิดคำถามตามมาว่าทำได้จริงหรือ? มันจะคุ้มจริงหรืออะไรอย่างนี้ เพราะนั้นเนี่ยเราต้องยอมรับความจริงว่า “เรามี Mindset ของกรอบที่พยายามจะไม่ผิดพลาดสูง” ซึ่งมันก็รับประกันว่าหากเราอยากจะทำอะไรใหม่ ๆ เนี่ยมันมีความเสี่ยงจริง ๆ นะครับ

ตรงนี้ก็อาจจะต้องมองว่าต้องรอ รอให้แบบ…คนที่เกี่ยวข้องกับ Pop Culture มากกว่านี้ค่อย ๆ เข้าไปอยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ มากขึ้นนะครับ เพราะว่าผมคิดว่า ผมเข้าใจนะ ถ้าเราลองเป็นผู้ใหญ่ บ้านเมืองในขณะนี้กำลังมองว่า เฮ้ย การ์ตูนพวกนี้มันจะไปทำรายได้ให้ประเทศไทยได้เท่ากับส่งออกอันนู้นอันนี้หรอ ผมก็เข้าใจได้ว่าเขายังมองไม่เห็นตรงนั้น แต่ว่าสำหรับคนที่เกี่ยวข้องกับ Pop Culture เนี่ยก็อาจจะเข้าใจได้มากกว่าว่าคงต้องรอเวลาแหละครับ ประมาณนี้ครับ

งานแถลงข่าว JAPAN EXPO THAILAND 2020 ครั้งที่ 6 เผยไฮไลท์งานภายใต้คอนเซ็ปท์  “TOGETHER, WE ARE ONE รวมกันคือหนึ่งเดียว” - ANNGLE TH
ภาพการเปิดตัวงาน Japan Expo 2020

อัพ – คิดว่าเสริมให้ได้นิดหน่อยเกี่ยวกับตัวภาครัฐอะครับ เพราะจริง ๆ ทางญี่ปุ่นเอง กว่าที่จะเดินเครื่องกลุ่มงานที่เรียกว่า Cool Japan นะครับ มันก็กินเวลาไปหลายปีนะครับ หรือแม้แต่หลังเดินเครื่องคำว่า Cool Japan แล้ว มันก็มีคำค่อนขอดทางในข่าวของญี่ปุ่นเลยที่ว่าจริง ๆ แล้วสุดท้ายยูก็ไม่ได้รันวัฒนธรรมอะไรเหมือนกัน แต่ว่า ณ ช่วงนี้อะครับคือมันมีการสลับเปลี่ยนยุคจริง ๆ อย่างที่คุณกิ๊กว่าเมื่อกี้ เพราะว่าตอนนี้รู้สึกว่าจะเป็นทาง Bandai Namco ละมั้งที่รู้สึกขึ้นมาเป็นเฮด Cool Japan แล้วก็บริษัทเป็น…ถือว่าเป็บริษัทที่ดูแล Pop Culture และขายออก Pop Culture มาตลอด

ดังนั้นหลัง ๆ  Cool Japan มันเลยค่อนข้างมีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้นมันเป็นเรื่องที่ก็ต้องใช้ทั้งเวลา และรอทั้งคนที่ถูกต้องเหมือนกัน ซึ่งอันนี้ค่อนข้างลำบากหน่อยครับ เพราะว่าอย่างตัวระบบราชการในไทยก็ต้องรอจนกว่าจนจุดที่…ถ้าผมพูดแบบเร็ว ๆ ก็คือคนวัยประมาณ 40-45 ขึ้นไปสเต็ปนึงเข้าใจว่าอ๋อ เขาผ่านดราก้อนบอลมาแล้ว เขาผ่านดาบพิฆาตอสูรมาแล้ว เขาถึงจะเข้าใจแบบ เฮ้ย มันมี Soft Power แบบที่เกาหลีหรือญี่ปุ่นเคยทำมาแล้วอะครับ

แล้วถึงจุดนั้น เราอาจจะได้เห็นการสนับสนุนจากภาครัฐที่เต็มประสิทธิภาพกว่านี้ ตอนนี้มันเป็นฝั่งของเอกชนที่วิ่งไปนำเสนอภาครัฐว่าเฮ้ย คุณ ประเทศอื่นเขาเคยทำแบบนี้นะ เรา Follow UP ได้นะ แต่ว่า อย่างที่ว่าครับ ผมคิดว่า คนที่อยู่ข้างบนมาก ๆ เขายังไม่เข้าใจว่าประเทศอื่นทำแล้วนำพาสู่อะไร คือมันยากมากเหมือนกันที่จะบอกว่าแบบ เอ้ย คุณจะคิดได้เหรอว่า K-POP ใช้เวลา 10 ปี แล้วบอกว่า เนี่ย ปัจจุบัน K-POP ทำรายได้ให้เป็น GDP 1% ของเกาหลีใต้ มันฟังดูยากมากเลยนะ ผมเอาเรื่องนี้ไปพูดเมื่อ 10 ปีที่แล้วอะ บอกว่าเฮ้ย คุณ วันหนึ่ง วง BTS เนี่ย ทำ GDP 1% ของประเทศคุณเลยนะเว้ย แค่วงเดียวนะ ซึ่งแบบเฮ้ย มันบ้า มันเป็นไปไม่ได้หรอก แต่มันก็เกิดจากการที่เขาวางอิฐหลายก้อน แล้วก็ไม่ใช่ว่าคนยุคนู้นก้ไม่ได้เข้าใจทันทีว่าจะทำทำไม ไปอิงวงเกาหลีที่ประเทศอื่น ขายบ้านตัวเองก็พอเปล่า? แต่ปัจจุบันมันก็เห็นผลแล้วว่ามันมีอย่างอื่นที่ได้มากกว่านั้น มันได้ขาย Culture ตัวเอง มันได้ขายการท่องเที่ยวมันเหมือนที่อเมริกาเคยทำฮอลลีวูด ตอนนี้ทุกคนพยายามทำฮอลลีวูดเบอร์ 2 เบอร์ 3 เบอร์ 4 อะไรอย่างนี้อะครับผม

มองสื่อมวลชนกับวงการการ์ตูนยังไงในยุค 2021 มันมีความเปลี่ยนแปลงจากยุคของรายการนั้นที่ทำมาเพื่อโจมตีวงการการ์ตูน แต่ยุคนึงท่านมองสื่อที่นำเสนอกับวงการการ์ตูนอย่างไร ดีขึ้น? หรือ แย่ลง?

อัพ – งั้นขออนุญาตตอบก่อนละกันนะครับ พอดีก็ถือว่าขาข้างนึงเข้าไปอยู่ฝั่งสื่อ ด้วยความที่ว่าขาข้างหนึ่งอยู่ฝั่งสื่อครับ สามารถพูดได้เต็มปากว่าการ์ตูนโดนมองดีขึ้นอย่างมาก ไม่ใช่เพราะว่าคนรุ่นผมที่มาทำงานอย่างเดียวด้วย

แต่เพราะว่าต้องยกเครดิตให้คนรุ่นก่อนหน้านี้ที่ทำความเข้าใจมากขึ้นว่าการ์ตูนมันมีมากกว่าโดราเอมอน มีอะไรมากกว่าอิคคิวซัง มันไม่ต่างอะไรกับที่สมัยก่อนพวกผมในตอนวัยยังเป็นวัยรุ่นกว่านี้เคยบอกผู้ใหญ่วัยโตกว่านี้อะครับว่า มันไม่ต่างเลยนะที่เหมือนเราแบบว่าเราดูแบบซีรีส์ฝรั่ง เราดูซีรีส์เกาหลี เราแค่ Pick UP ที่จะเป็นแอนิเมชั่นจากญี่ปุ่น พอมันมีการภาพจำอย่างนี้ที่ดีขึ้นอะครับ รวมถึงว่าข่าวระดับโลกต่าง ๆ ที่มันมีการเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น

อย่างจริง ๆ เนี่ยผมเทียบไปไกล ๆ อย่างเช่นภาพยนตร์ของจิบลิ หรือภาพยนตร์ของชิงไก มาโกโตะที่เริ่มโดนมองว่าเฮ้ย มันสามารถสร้างรายได้ได้หนิ มันสามารถมี Value ได้หนิ แล้วกว่าที่มันจะขึ้นมาเป็นงานสักงานนึง มันมากกว่าการที่บอกว่าตะโกนปล่อยพลังแล้ว…(ส่วนนี้ทางผู้เขียนได้ยินไม่ชัดครับ)ล้มตายไป แต่มันเริ่มเห็นแล้วว่ามันมีการ Craft บางอย่างขึ้นมา ดังนั้นมันเลยโดนมองตั้งแต่สเกลที่ว่า สมมติผมเทียบคนที่อายุมากกว่าผมเขาเริ่มมองหนังญี่ปุ่น การ์ตูนญี่ปุ่นว่ามันมีการคิดมากกว่านั้น อย่างหนังของจิบลิจะโดนมองเสมอว่ามีนัยยะมากกว่าที่จะเป็นเรื่องเล่าสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ไปดูด้วยกันได้ พอมันโดนมองแบบนี้อะครับ มันก็โดน

แล้วก็คนรุ่นผมลงไป ก็จะคุ้นเคยกับการ์ตูน สื่อก็เลยสามารถพูด Pick UP เกี่ยวกับการ์ตุนได้มากขึ้น เริ่มมีการใช้ Wording ที่คนเข้าใจในระดับมหาชนได้มากขึ้น แต่จริง ๆ อย่างเช่นคำพาดหัวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐสัก 3-4 ปีก่อนที่มีรถขนส่งน้ำส้มสายชูคว่ำบนถนน แล้วเขาพาดหัวด้วยคำว่า “ถนนสายนี้ เปรี้ยว”(ที่จริง ๆ แล้วเป็นชื่อการ์ตูนภาษาไทยของ Kimagure Orange Road)หรือว่าเมื่อล่าสุดปีที่แล้วที่เป็นของพรรคฝ่ายค้านไปพูดคุยการเมืองแล้วก็อยู่ ๆ ก็พูดกลางสภาว่า “ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น” แล้วทุกคนก็เข้าใจว่าอ้าว เฮ้ย นี่มึงอ่านโคนันหนิ

คือตอนนี้สื่อเอง คนเสพสื่อเองก็โตขึ้นอะครับ คนเขียนสื่อปัจจุบันก็คุ้นเคยขึ้น ผมเลยมองว่ามัน 2 Ways นะเพราะมันกว้างขึ้น คนเข้าใจมากขึ้น แต่ในฐานะคนที่เป็นสื่อเอง และเขียนเรื่องการ์ตูนเยอะผมสามารถพูดได้อีกมุมซึ่งมันจะปวดใจ ๆ หน่อย ในทางกลับกันหนะครับ มันก็มีสื่อที่เข้าถึงจุดที่แบบว่าอยากจะคุยเรื่องการ์ตูนลึก ๆ ไม่ได้เยอะขนาดนั้น เพราะว่าทุกคนอยากคุยแค่ส่วนที่ตัวเองเข้าใจอะครับ บ้านเราก็ถ้าพูดแบบใจร้ายหน่อยคือ มันมีตลาดเพิ่มขึ้นแล้วแหละ แต่คุณก็ยังไม่ได้ต้องการตลาดที่มัน Deep แบบที่ญี่ปุ่นไปถึงขนาดนั้น ซึ่งพอดีผมเป็นนักเขียนที่คงอยู่ Deep มากไปแหละ ก็เลยได้เห็นมุมนี้ว่าแบบว่าเออคุณก็ยังไม่ได้อยากสนใจ เหมือนที่เมื่อกี้คำถามที่ทางทีมงานถามกันมาครับว่าคุยเรื่องลิขสิทธิ์เนี่ยคนเขาอยากสนใจแค่ว่าทำยัไงให้มาเร็ว คุณไม่สนใจหรอกว่าขั้นตอน Process ที่มันช้าคืออะไร คุณไม่ได้อยากรับรู้ขนาดนั้นว่ามันมี Struggle แบบไหน การพูดคุยกันมีอะไรทุกคนแฮปปี้ที่ว่า “เฮ้ย Berserk เล่มใหม่มาละ” พอละ คุณไม่อยากรับรู้มากกว่านั้น หรือว่าอย่างประเทศญี่ปุ่น Process ทุกคนอยากรู้แค่ว่าเอ่อ…อาจารย์มิอุระเสียชีวิตแล้วจะเขียนต่อไหม? สนใจตรงนั้นแหละ แต่ว่าไม่ได้สนใจว่า เฮ้ย ใน Deep Down ลงไป เรื่องของอาจารย์มิอุระเสียชีวิตเนี่ย จริง ๆ ได้ดูคนเขียนการ์ตูนคนอื่น ๆ ที่เขาป่วยไข้เหมือนกันไหม เรายังไปไม่ถึงจุดนั้น แต่จริง ๆ ก็ ถ้าเทียบกับ 15 ปีก่อนที่ว่า เรา Start จากการ์ตูนต้องจบที่แค่ช่อง 9 การ์ตูน มากกว่านั้นถือว่าเป็นของแปลกปลอม มาถึงจุดที่แบบว่าเราคุยเรื่องดาบพิฆาตอสูรที่ฉายญี่ปุ่นเดือนตุลาและฉายเมืองไทยธันวา แล้วคุยภาษาใกล้กันมาก ผมสามารถไปคุยกับสื่อเจ้าอื่นว่านี่คุณ ดาบพิฆาตอสูรมันคือหนังที่ทำเม็ดเงินมากที่สุดของโลกในปี 2020 นะเว้ย แล้วเขาก็แบบอ๋อ ใช่ เห็นด้วย ซึ่งถ้าเมื่อก่อนไปคุยอย่างนี้ คือแบบ…ผมอาจจะเจอด่าว่า แกเป็นเบียวมาจากไหน แกโอตะมาจากไหน แต่ตอนี้คือเราสามารถพูดได้อย่างนี้มากขึ้นแล้ว ก็ประมาณนี้ครับ

คม – ก็สำหรับผมเนี่ย ผมว่ามันมีปัจจัยหลัก ๆ อยู๋ 2 อย่างที่แบบใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นมาพร้อมกัน สิ่งแรกคือ

หนึ่ง Generation คนการ์ตูนที่สมัยก่อนอาจจะเป็นแค่วัยรุ่น เป็นเด็ก เติบโตขึ้นจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของคนการ์ตูนปัจจุบัน ผมคิดว่าคนการ์ตูนหลายคนเนี่ยเป็นทั้งคนที่เป็นสื่อ เป็นทั้งพนักงานบริษัท เป็นทั้งดาราก็มี ผมเชื่อว่า ตอนนี้คนในยุคปัจจุบันเนี่ย มีหลายคนที่เคยอ่านการ์ตูนมาก่อน เพราะนั้นเนี่ยโดยพื้นฐานผมคิดว่าเขาอะรู้ดีว่าการ์ตูนคืออะไรนะครับ เพราะฉะนั้นเขาจะมีความรู้สึกบวกกับมันระดับหนึ่ง

อย่างที่สองที่มีผลสำหรับผมมาก ๆ คืออินเตอร์เน็ตนะครับ คือผมคิดว่าถ้าเรามองในมุมของข้อมูลของคนยุคก่อนเนี่ย เรานึกภาพยุค 90 ที่อินเตอร์เน็ตยังไม่ได้แบบบูมอะไรมาก สิ่งที่เกิดขึ้นเวลาเขามองคนการ์ตูน หรือมองการ์ตูนในประเทศไทยเนี่ย ผมคิดว่าเขามองว่าเป็นกลุ่มที่แบบ…ทำไมไม่หาอะไรอ่านที่มันมีสาระมากกว่านี้ มันจะไปมีประโยชน์ได้ยังไง อะไรประมาณนี้นะครับ ผมเองตอนเด็ก ๆ ยังเคยเจอเลยผมจำได้ผมเช่าหนังก๊อตซิลล่าญี่ปุ่นมาดูงี้ ผมก็เจอผู้ใหญ่เดินผ่าน เฮ้ย ดูอะไรหนังญี่ปุ่นปัญญาอ่อน อะไรอย่างนี้ก็มีเหมือนกัน

แต่ว่า สิ่งที่อินเตอร์เน็ตมันเกิดขึ้นมาเนี่ย มันทำให้เกิดภาพให้เห็นขึ้นว่า เฮ้ย มันไม่ได้มีแค่ในประเทศไทยนะ ที่เสพการ์ตูนแบบการ์ตุนญี่ปุ่นอะไรอย่างนี้นะครับ อย่างฝรั่งเศสเนี่ยเป็นโอตาคุตัวพ่อในฝั่งยุโรปเลย บ้าเซเลอร์มูนมาก บ้าดราก้อนบอล มีงานการ์ตูนญี่ปุ่นอยู่ ชื่อว่า Japan Expo อยู่ที่ฝรั่งเศส

แล้วก็อย่างอเมริกาเองที่เราก็รู้ว่าแบบเมกาเขาต้องบ้าสไตล์แบบคอมมิก MARVEL, DC หรือหนัง STAR TREK เนี่ย เฮ้ย เขามีคนอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นนะ คือตรงนี้ อินเตอร์เน็ตทำให้รู้ว่ามันมี Community คนอ่านการ์ตูนแบบสไตล์มังงะการ์ตูนญี่ปุ่นเนี่ยอยู่ทั่วโลกจริง ๆ นะ แล้วผมคิดว่าบางอย่างมันค่อย ๆ โผล่ขึ้นมาให้เห็นว่ามันไปต่อได้นะครับ

อย่างผมยกตัวอย่างที่ปัจจุบันสุดเลยก็คือหนังญี่ปุ่นปัญญาอ่อนอย่างก๊อตซิลล่าเนี่ย คือฮอลลีวูดซื้อลิขสิทธิ์ไปรีเมค ไปสร้างหลายภาค โกยเงินไปเท่าไหร่ ๆ ผมคิดว่าตอนนี้คนไม่กล้าพูดละว่าก๊อตซิลล่าเป็นหนังปัญญาอ่อน เพราะว่ามันโดนมากนะครับ

JAPAN EXPO THAILAND 2020" ที่สุดของงานอีเว้นท์ญี่ปุ่นแห่งปี  สร้างความประทับใจตลอด 3 วันเต็มอิ่ม!!
ภาพจากงาน Japan Expo

จริง ๆ ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมาผมได้เรียนรู้อย่างนึงว่าจริง ๆ แล้วผู้ใหญ่ หรือคนที่ยังไม่เปิดใจ ที่ยังมีคำถามกับมัน คำถามเขานิดเดียวเลย แค่นิดเดียวเลย แต่ว่าก็เป็นแค่นิดเดียวที่เป็นโจทย์ที่ใหญ่มากก็คือเขามักจะตั้งคำถามกับสิ่งนั้นว่ามันจะมีอนาคตจริง ๆ หรือ นะครับ เขาจะไม่ได้สนใจขั้นตอน เขาแค่อยากรู้มันมีอนาคตไหม นะครับ

อะไรก็ตามที่ท้ายสุดคุณพิสูจน์ได้ว่า เฮ้ย นี่ไง ฉันทำได้เงินได้แล้ว จบ มันจะจบทันที มันจะไม่มีคำถามอะไรอื่นอีกต่อไปแล้ว แต่ว่ามันก็เลยเป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีคือหนึ่ง ทุกวันนี้การ์ตูนในไทยมีร้านลิขสิทธิ์จากญี่ปุ่นมาเปิดในไทย มีงานการ์ตูนญี่ปุ่นในไทยมากขึ้น ผมว่าคนเริ่มมองเห็นแล้วว่าโอเค มันก็มีอนาคตในรูปแบบของมัน มันก็มีการบริโภค มีผู้อุดหนุนมากมายนะครับ โห มีไอดอลจากญี่ปุ่นมา มีนักเขียนจากญี่ปุ่นมาว่าคนในไทยเริ่มมองเห็นแล้วว่า มันมาได้จริง ๆ แต่ข้อเสียคือเขาไม่ได้สนใจขั้นตอนขนาดนั้น นั่นหมายความว่า เขาก็จะไม่ได้มองในมุมที่ต่อยอดไปอีกว่า “แล้วจะต่อยอดยังไงให้ปังกว่านี้”

อย่างกรณีสื่อปัจจุบัน ผมคิดว่า สื่อปัจจุบันนี้ค่อนข้างที่จะเปลี่ยนบ่อย พวกหนังสื่อ ใช้คำว่าคอสเพลย์ อะไรนิดอะไรหน่อยคอสเพลย์ละ คอสเพลย์พระ คอสเพลย์นู่น คอสเพลย์นี่ ถามว่าบางอย่างในสื่อมวลชนกับคอสเพลย์จริง ๆ มันก็ไม่ได้ตรงขนาดนั้น แต่เราโอเค ผมอะโอเคตรงที่ว่า “อย่างน้อยเขารู้ละ ว่ามันมีสิ่งที่เรียกว่าคอสเพลย์ในไทย”

ตัวนี้ผมคิดว่าสื่อแสดงออกชัดเจนแล้วว่า เอ้อ มันมีสิ่งนี้เรายอมรับนะ แต่ถามว่าเขามาลงลึกมากน้อยแค่ไหนอะไรประมาณนี้ ผมคิดว่าระยะหลังไม่ได้มีขนาดนั้นนะครับ  ก็มีไป แต่ก็ไม่ได้ว่าอะไรมากมาย แบบนี้ เป็นต้นนะครับ

ผมคิดว่าโดยรวม ความรู้สึกคนเข้าสังคม ผมว่าโอเคขึ้นกับการ์ตูนมากขึ้นนะ แล้วก็รู้ด้วยว่าการ์ตูนมันไม่ได้เฉพาะสำหรับเด็กอีกต่อไปแล้ว แต่ว่าแน่นอนว่า มันก็ยังต้องใช้เวลาอีกสัก ผมคิดว่าอีกสักพักหนึ่งที่มันจะเริ่มอยู่ในระดับที่ว่าคนยอมรับอย่างทั่วไปได้

ผมเคยได้ยินผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนย้อนไปแบบระดับ 30-40 ปีก่อนเนี่ย ตอนที่จุฬาเขามีคณะนิเทศศาสตร์ครั้งแรกเลยเนี่ย คนไม่อยากให้เด็กไปเรียนเลยนะครับ พวกพ่อแม่เนี่ย เขาบอกแล้วว่าแบบพวกเต้นกินรำกินจะไปมีอนาคตได้ยังไง? แต่พอเราเห็นทุกวันนี้จบนิเทศศาสตร์มีงานทำมากมาย เขาไม่ตั้งคำถามละ ทุกวันนี้คือคนยอมรับ

ผมคิดว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วคนตั้งคำถามกับเรามา เราจำเป็นที่ต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ว่าท้ายสุดผลลัพธ์มันออกมาเป็นยังไงครับ ประมาณนี้ครับ

ทั้งที่เป็นผู้บริโภคเอง และเป็นสื่อเอง คิดว่าหลังโควิด-19 อีเวนต์ที่จะเกิดขึ้นในรอบ 10 ปีนี้จะเป็นอย่างไร?

อัพ – งั้นขออนุญาตพูดก่อนครับว่า เอนอันนึงก่อนเลยที่…ภาพรวมของอีเวนต์ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นตัวงานหนังสือ งานโดจินชิ งานคอสเพลย์ จำนวนงานอาจจะน้อยลงครับถ้าพูดกันเร็ว ๆ คือข้างต้นก็ To Be Fair อะครับ ว่าภาวะที่ว่าจริง ๆ แล้วอุตสาหกรรมฝั่งการ์ตูนมันได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากรัฐหรือจากบริษัทอื่นมันน้อย

จริง ๆ ส่วนใหญ่ต้องพูดกันแฟร์ ๆ เหมือนกันว่าทั้งหมดคือทำกันเพื่อเลี้ยงตัวเองให้รอดเป็น Main ดังนั้น มันมาจากที่ผมได้ฟังของกลุ่มคนเขียนโดจินชิและคนจัดอีเวนต์หลาย ๆ คนพูดคุยกับใน Clubhouse นะครับว่ามันจะล้มหายตายจากไปพอสมควรนะครับสำหรับกลุ่มที่จัดงาน แต่ว่าคนที่เขาพยายามเอาตัวรอด หรือถ้าโชคดีคือเขารวย เขาจะยังอยู่ครับ ดังนั้นจำนวนคนที่จัดมันจะน้อยลงอย่างแน่นอนในช่วงระยะสั้น ผมคิดว่าสักประมาณ 3 ปี 5 ปี แต่ว่าในจำนวนที่น้อยลง คนจะไปมากขึ้น  แล้วก็ผมคิดว่าคนจะแสวงหามันมากขึ้น

จริง ๆ มันแอบมีข้อพิสูจน์ตัวเองไปเบา ๆ แล้วสำหรับช่วงประมาณเดือนมีนาคมที่ผ่านมามันมีงานชื่อว่า Comic Square เป็นงานโดจินชิครั้งแรกในรอบปีเพราะว่าปีที่แล้วไม่มีจัดแล้วก็ข้ามมาอีกทีคือมีนาที่ผ่านมา ปริมาตรคนไปงานอะครับ ถ้าผมพูดแบบขำ ๆ แย่ ๆ ถ้าตำรวจมาตรวจว่าเนี่ย คุณมี Social Distance มากพอไหม โดนจับเละครับ คนเยอะมาก เพราะว่ามันเป็นความอึดอัดของคนที่อยากไปอะครับ ทั้ง Creator คนทำก็อยากขายของ ผู้บริโภคก็อยากซื้อของครับ

รวมถึงงานหนังสือที่โดนแคนเซิลกัน 2 ครั้งต่อเนื่องล่าสุดเร็ว ๆ นี้ ถ้านับภาวะกันก่อนที่เราจะแคนเซิลกันอะครับ มันเป็นงานหนังสือที่สัมผัสได้ว่ามีความมุ่งมั่นของคนไป ทั้งคนทำงาน และคนไปเดินงาน แน่นอนครับว่าคนทำงานมันจะได้เงินสดเข้าตัวตรง ๆ สักที คือออนไลน์มาปีนึงละ แต่สำหรับคนไปงาน เซอร์ไพรส์ดีที่เข้ารู้สึกว่า คือการซื้อหนังสือออนไลน์ หรือว่าอะไรก็ตามที่โดน Disrupt มาแล้วคิดว่ามันทดแทนได้ มันยังแทนประสบการณ์หน้างานบางอย่างไม่ได้ ถ้าขำ ๆ อันนึงก็จะเป็นประสบการณ์โดนป้ายยาจากหน้างานหนังสือ ส่วนนี้ยังมีคนบอกว่ามันยังหาทดแทนอย่างอื่นไม่ได้ แล้วก็จริง ๆ มันจะมีอีกอันคือการไปแล้วรู้จริง ๆ ว่า ณ ตอนนี้ สังคมจริง ๆ อ่านอะไรอยู่ ณ วันที่จัดงานอะนะ เพราะว่าถ้าย้อนไป 2 ปีก่อนมีงานหนังสือที่จัดได้ตอนตุลาตอนนู้น มันเป็นปีที่หนังสือของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันขายดีอย่างไม่เคยมีมาก่อน มันก็เห็นเทรนด์อยู่ว่า นั่นคือเทรนด์สังคมมันเปลี่ยนไปทางไหน หรือว่าถ้าเอาในสายบันเทิงก็คือ ก่อนหน้านั้นงานหนังสือไม่เคยจัดเป็นปีกหนังสือวายล้วน ๆ 1 ปีกอะ ดังนั้นการที่ยังจัดงานอะครับ มันจะยังได้เห็นเรื่องเล่านี้ว่าเทรนด์มันเปลี่ยนไปไหม คนอ่านเปลี่ยนไปไหม คนเขียนเปลี่ยนไปไหม หรือสังคมภาพรวมเปลี่ยนไปขนาดไหนเห็นได้ในตัวงานเลย ก็จะกลับมาที่อีเวนต์อาจจะลดลง แต่มันจะมีการจัด และถ้าจัด คนยังกระหายอยู่ ในประมาณนี้ครับผม

คม – ผมคิดว่าตั้งแต่เราเข้ามาสู่ยุคโควิดเนี่ย เราจะได้ยินคำนึงที่ทาง โฆษณาอย่างนึงละกัน ที่เราได้ยินบ่อย ๆ ว่าเราต้องเปลี่ยนรูปแบบให้มาอยู่ในออนไลน์มากขึ้นนะครับ ไม่ว่าจะเป็นการจัดอีเวนต์ออนไลน์ เป็นการประชุมออนไลน์ ทำงานออนไลน์ อะไรต่าง ๆ นะครับ

ผมคิดว่าหลังจากผ่านระยะเวลาหนึ่งมาพอสมควร สิ่งหนึ่งที่เราได้เรียนรู้คือ…2 อย่างเลย

หนึ่ง เรื่องออนไลน์เป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ๆ ในสถานการณ์โควิด และก็อาจจะในอนาคต

อย่างที่สองคือ “เราได้รู้จุดอ่อนของออนไลน์แล้ว” นะครับว่ามันไม่สามารถแทนที่ทุกอย่างบนโลกความจริงได้ขนาดนั้นครับ

ผมอาจจะมีแนวความคิดที่ทั้งเหมือนของคุณอัพ แต่อาจจะแตกต่างกันในรายละเอียดนะครับ

สิ่งหนึ่งที่ผมพบเลยคือในช่วงปีที่ผ่านมาเนี่ยมีหลายคน มีอยู่หลายงานที่พยายามจัดงานอีเวนต์ออนไลน์ “ไม่บูมเลย” แทบไม่รอดเลยครับ เพราะว่าเรากำลังพูดถึงการที่จะต้องหวังให้คนอยู่ที่หน้าจอ 100% ไปกับงานอีเวนต์ออนไลน์อย่างเดียวเลย มันเป็นไปได้ยากนะครับ ลองนึกภาพผมเข้าไปสักแป๊บนึงแล้วผมเปลี่ยนไปดูยูทูบแล้ว อะไรอย่างนี้เป็นต้น มันจะต่างกับกรณีอีเวนต์ที่พอเราเข้าไปในงานอีเวนต์เราจะเบื่อบูธนี้ก็ไปดูอีกบูธนึงได้ครับ

แล้วก็ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือผมแบบมองไปที่ Basic มาก ๆ เลยคือสัมผัสของมนุษย์เนี่ยมันไม่ได้มีแค่การมองเห็น การได้ยินนะครับ ในเรื่องของการสัมผัส การได้กลิ่น การได้รับรู้บรรยากาศอะไรต่าง ๆ เนี่ย ตรงนี้เป็นสิ่งที่ออนไลน์ไม่อาจเสริมให้กับมนุษย์ได้นะครับ

เพราะนั้นเนี่ย ไม่ว่าจะ ต่อให้ในอนาคตทำเป็นถึง VR เนี่ยไอ้สูตรตรงนี้มันยังไม่สามารถจะเติมเต็มมนุษย์ได้ 100% นะครับ แน่นอนว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ผุ้จัดงานอีเวนต์ในปัจจุบันเนี่ยก็จะเหนื่อยมากนะครับ แล้วก็ต้องอดทนอะไรต่าง ๆ ได้ ผมคิดว่าถ้าเมื่อไหร่จบโควิด หรือย่างน้อยสถานการณ์ดีขึ้น ผมคิดว่า “ไม่ใช่ทุกเจ้า” ที่จะรอดออกมาได้นะครับ เรามาพูดถึงว่า ใครคือ Survivor ใครคือผู้รอดชีวิต และผู้รอดชีวิตเหล่านี้ ถ้ากลับมาจัดงานอีเวนตืได้ คนจะไปบูมมาก ผมใช้คำนี้เลย เพราะว่าอย่างที่บอกไปว่าคนอัดอั้นกับความรู้สึกที่มันต้องมาอยู่ตแ่ในหน้าจอ มันไม่สามารถแตะต้องสินค้าได้ไรได้นะครับ ตรงนี้ในมุมของคนขายสินค้าเองเนี่ยผมเคยเห็นเพื่อน ๆ คอสเพลย์ที่ปกติขายสินค้า

ต้องบอกเลยว่าขายของออนไลน์ไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ ผมคิดว่าวิธีเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายที่สุดคือร้านอาหารนะครับ เวลาเราสั่งร้าน เราสั่งใน GrabFood หรืออะไรอย่างนี้เนี่ย เราสั่ง 4-5 อย่าง รอคนส่ง ส่งเสร็จ กิน จบ แต่ถ้าเวลาเราไปร้านเนี่ย เราสั่ง 4-5 อย่าง ไม่แน่อาจจะสั่งน้ำเพิ่ม เอ๊ะ เอาอีกจานหนึ่งไหม มันมีอรรถรสอะไรบางอย่างที่ทำให้เราบริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ นะครับ แต่ถ้าเรานึกภาพเราสั่ง GrabFood ซื้อมาเสร็จ รอไปสักครึ่งชั่วโมง ถึงเวลาเราอยากกินอีก บางทีมันก็มีความรู้สึกว่าไว้คราวหน้าละกัน อะไรอย่างนี้เป็นต้นครับ ตรงนี้มันมีผลมากที่ทำให้การบริโภคมันทำไม่เท่ากับในโลกความเป็นจริงนะครับ

World Cosplay Summit : งานคอสเพลย์ที่ไปไกลกว่าการแต่งตัวเลียนแบบตัวละคร
ภาพจาก The Matter

อย่างเมื่อกี้อย่างคุณอัพยกตัวอย่างเรื่องงาน Comic Square ใช่ไหมครับ ของผมจะมีอยู่งาน คืองานคอสเพลย์ปีที่แล้วที่ชัดเจนคือช่วงที่โควิดเข้ามาในไทยใหม่ ๆ แน่นอนตอนนั้นงานอีเวนต์หายไปหมดนะครับ พอตอนนั้นโควิดมันเริ่มโอเคขึ้นเนี่ย งานอีเวนต์คอสเพลย์กลับมา โอโห กลับมาตรึม คือกลับมา แล้วมันมีงานชนกันหลายงานมากนะครับ คือมันเหมือนทุกคนอยากจัดงาน แล้วคนก็แห่ทะลักไปหลายงานมากนะครับเพราะว่าคนมันอัดอั้น ก็ผมก็อาจจะมองในมุมว่าแบบ…สมมติผมมองในงานแบบ งานอีเวนต์ เราสามารถมี…เขาเรียกว่ามีอะไรดี มีป้ายสปอนเซอร์มีกิจกรรมสปอนเซอร์อะไร ๆ ต่างโชว์ให้คนร่วมงานได้เห็นตลอด แต่อย่างในงานในออนไลน์เนี่ย ตอนที่เมื่อไหร่เราสมมติเราตัดภาพเป็นแบบ โอเค ขอเชิญชมโฆษณาจากสปอนเซอร์ของเราปุ๊บเนี่ย คนที่รับชมอาจจะเปลี่ยนไปดูยูทูบเลยก็ได้นะครับ คือต้องยอมรับว่าการหารายได้ หรือการทำให้สปอนเซอร์รู้สึกว่าเขามาอุดหนุนเราแล้วคุ้มในทางออนไลน์เนี่ยเป็นโจทย์ที่ท้าทายได้ยาก เพราะฉะนั้นเนี่ย พอหลังจากโควสิดผมเชื่ออย่างนึง หนึ่ง ออนไลน์ยังเป็นส่วนสำคัญอยู่ แต่ตอนนี้ทุกคนรู้แล้วว่า ถ้าคิดจะให้มันเป็นจัวหลัก คงจะต้องคิดละเอียดมากกว่านี้อีกเยอะ เพราะว่าแค่อยู่ ๆ ทุกอย่างมาอยู่ออนไลน์เนี่ย มันยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการมนุษย์ได้ขนาดนั้น หลัก ๆ ก็คงประมาณนี้ครับ


สำหรับคนที่อ่านมาถึงตอนท้ายที่พูดถึงงานอีเวนต์ (ซึ่งอาจจะไม่เข้ากับตัวหัวบทความก็ตาม)
ขอบคุณมาก ๆ ท่าอ่านมาจนใกล้จบครับ…

“คนที่ไม่ใช่แฟน…ทำแทนทุกเรื่องไม่ได้”

อาจจะตกใจว่านี่เป็นบทความวงการการ์ตูนแท้ ๆ แต่ในหัวผู้เขียนกลับเผลอฮัมเพลง “ไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้” เพลงฮิตตลอดกาลของนักร้องลูกทุ่งสาวอย่าง “ตั๊กแตน ชลดา” ซึ่งดูเผิน ๆ อาจจะไม่เข้าพวกนะครับ แต่ที่เรานึกถึงเพลงนี้ ก็เพราะเรื่องอีเวนต์เนี่ย ถึงแม้ว่าในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นเป็นเหมือนไฟลต์บังคับว่าเราสามารถจัดอีเวนต์ได้บนออนไลน์เท่านั้น (ถึงออนไลน์ยังอาจจะพอได้ก็จริง แต่ตอนนี้ก็อาจจะยังไม่ได้สะดวกมาก) แต่บรรยากาศของอีเวนต์ออนไลน์นั้นไม่สามารถ “ทำแทน” อีเวนต์ออนกราวด์ ที่เป็นเหมือนแฟนของสายอีเวนต์ไปแล้ว

เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง หากมีคนทะลักเข้างานนั้น ๆ จำนวนมาก…ไม่แปลกเพราะในใจลึก ๆ คนก็ยังคง “คิดถึง” งานอีเวนต์อยู่ห่าง ๆ

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า