fbpx

อิทธิพลของ IO กับโซเชียลมีเดียและการบลัฟกันทางการเมือง

หากย้อนรอยไปในอดีตช่วงยุคสงครามโลก หรือตั้งแต่ยุคกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช ที่รักษาการควบคุมประเทศราช โดยการให้ปัญญาชนของประเทศที่ถูกยึดครองเหล่านั้น เข้าร่วมรัฐสภาของจักรวรรดิกรีกโบราณ หรือแม้แต่กษัตริย์ เจงกิสข่าน มหาราช

IO (Information Operation) หรือ ปฏิบัติการข่าวสาร , ยุทธการทางข่าวสาร เราคงจะได้เห็นกันมาบ้างแล้วไม่ว่ายุคไหนก็ตาม ปฎิบัติการ IO นั้นถูกใช้มาเนิ่นนานแล้วเพื่อความได้เปรียบด้านข้อมูล ข่าวสาร และสร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อสร้างกระเเสความได้เปรียบให้เกิดขึ้นมาอยู่ในฝ่ายตนเอง เรามักเห็น IO ต่างๆ มากมาย บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การปล่อยข่าวลวง การบิดเบือนข่าวสารลงบนสื่อสังคมออนไลน์ อาทิเช่น Facebook . Twitter ,Website news , line เป็นต้น

ปฏิบัติการข่าวสาร IO ได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ

การปฏิบัติหลัก หรือ ขีดความสามารถหลัก (Core Capabilities)
การปฏิบัติสนับสนุน หรือ ขีดความสามารถในการสนับสนุน (Supporting Capabilities)
การปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง หรือ ขีดความสามารถที่เกี่ยวข้อง (Related Capabilities)

เหตุการณ์ IO ที่เกิดขึ้นในอดีต ?

หากย้อนกลับไปในช่วงก่อนการเลือกตั้งปีพ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นช่วงที่หัวเลี้ยวหัวต่อมากๆ ในทางการเมือง ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์จะเริ่มเห็นการนำ IO มาใช้ค่อนข้างหลากหลายรูปแบบ เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียง มีการโจมตีพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามด้วยปฎิบัติการ IO โดยการกระทำดังกล่าว อาทิเช่น การแสดงความคิดเห็นใต้โพสต์ หรือ การแชร์โพสต์ จนกระทั่งการสร้างเพจ IO ขึ้นมาเพื่อให้ได้เปรียบและสามารถควบคุมการปล่อยข่าวสาร ข้อมูล และให้ได้ผลเป็นไปตามที่ฝ่ายนั้นต้องการ

ตัวอย่างเช่น ฮาฟิซ ยะโก๊ะ ประธานสหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี หรือ (PerMAS) ได้กล่าวว่า “วันที่ 5 กรกฎาคม 2561 ภายใต้เพจที่มีชื่อว่า เปิดโปง BRN ได้โพสต์เนื้อหาข่าวให้ร้ายข้าพเจ้าภายใต้ข้อความว่า #นายฮาฟิสยะโกะประธานกลุ่มนักศึกษา PerMAS ข่มขู่อาจารย์ ถ้าขัดขวางเราจะตอบโต้ # จากการโพสดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อข้าพเจ้า และสถาบันที่เขาร่ำเรียนมา เนื่องจากรูปที่เอามาประกอบข่าวนั้นเป็นรูปสมัยที่เขาเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยซึ่งกระผมขอยืนยัน และถือโอกาสนี้ชี้แจงต่อสาธารณะว่าในฐานะกลุ่มนักศึกษาที่ทำกิจกรรม ที่ยึดถือหลักประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ที่มีหัวใจสำคัญคือ เคารพและให้เกียรติกันและกัน ไม่เคยปฏิบัติอย่างที่ถูกกล่าวหาจากเพจผีดังกล่าว และยินดีที่จะพูดคุยกับทุกคน ที่จะร่วมพูดคุยเพื่อนำมาสู่การคลี่คลายปัญหาที่ปาตานีได้และขอฝากไปยังผู้ที่ดูแลเพจ IO ทุกท่านที่ยังมีแนวความคิดที่จะโพสต์ให้ร้าย สร้างความเข้าใจผิดต่อสาธารณชนว่า ด้วยจิตใต้สำนึกของความเป็นมนุษย์ ที่เรามักเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนนั้นย่อมมีความดีอยู่ภายในตัว เพียงแต่ว่าความดีนั้นถูกบดบัง และถูกครอบงำจากอำนาจชั่วร้ายเพียงชั่วขณะเท่านั้น ” และอีกเหตุการณ์ที่เราคงจะไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ 6 ตุลาซึ่งมีกระบวนการปฎิบัติการข่าวสารหรือIOซึ่งถูกใช้จนเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่น่าสลดอย่างมาก สามารถติดตามเรื่อง 6 ตุลาคมต่อได้ที่นี้

อิทธิพลของ IO ที่มีผลต่อสื่อสังคมออนไลน์ หรือ โซเชียลมีดีย

สื่อสังคมออนไลน์เปรียบดั่งที่ๆ เราทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และเเสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีและสามารถเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลกระทบที่เกิดจากปฎิบัติการ IO ที่ส่งผลกระทบต่อโซเชียลมีเดียนั้นไม่เพียงเเต่เป็นการ สร้างความบิดเบือน หรือ การสร้างข่าวปลอม Fake news จำนวนมากนั้นซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มคนทั้งสองฝ่ายก่อให้เกิดความแตกแยกทางการเมืองส่งผลให้เกิดความสับสนในการสื่อสารภายในสังคมออนไลน์อย่างมาก

พฤติกรรมของ IO นั้นเป็นอย่างไร? จะมีวิธีสังเกตได้อย่างไรว่าเป็น IO หรือไม่?

คงจะเป็นเรื่องที่ลำบากมาก หากเราไม่สามารถแยกออกได้ว่า account ใด หรือข่าวสารใด เป็น IO หรือไม่? เพราะพฤติกรรมของเหล่า IO นั้นก่อให้เกิดความขัดแย้ง ความสับสน และความเข้าใจผิดต่างๆ บนโซเชียล จึงจำเป็นต้องอาศัยการคิดและวิเคราะห์ เพื่อแยกเเยะ IO ออกจาก “ สื่อ ” เพื่อที่เราจะสามารถรับข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้อง สามารถสังเกตคร่าวๆ ได้ดังนี้

  • การตั้งค่าโปรไฟล์ อาทิเช่น การใช้ชื่อปลอม , จำนวนเพื่อนใน Facebook ที่น้อย , จำนวนโพสต์ข้อความ/จำนวนโพสต์รูป , พฤติกรรมการติดตามบุคคล หรือ เพจใดๆ ที่มีน้อยหรือแถบไม่มีเลย
  • พฤติกรรมการโพสต์ อาทิเช่น การไม่แสดงความเห็นใดๆ ต่อโพสต์ฺที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายตนในทางที่เสียๆ หายๆ หรือที่ละเลยขอบเขตของการปฎิบัติการ IO แทบไม่เคยโพสความเห็นที่ตรงประเด็นหรือการตอบโต้ที่มีการเบี่ยงประเด็นตลอด รวมถึงการใช้ Hate Speech กลบเกลื่อน

และสุดท้ายเราคงไม่อาจจะสู้รบกับ ปฎิบัติการ IO ตรงๆ ได้ แต่เราสามารถที่จะไม่ตกเป็นเหยื่อของ IO ได้โดยเราจำเป็นต้องอาศัย การคิดวิเคราะห์ การอ้างอิงข้อมูล ข้อเท็จจริง เหตุผลและเเหล่งความข่าวสารที่น่าเชื่อถือ เพื่อที่เราจะไม่ตกเป็นเหยื่อ IO ในการโจมตีฝ่ายตรงข้าม


อ้างอิง :

https://www.unmeeonline.org/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-social-media-%E0%B8%A1%E0%B8%B5/

https://www.amarintv.com/news-update/news-6455/147314/

https://www.rainmaker.in.th/what-is-io-fakenews/

https://thaipublica.org/2019/02/io-telltale-signs/?fbclid=IwAR3kTjj85UwG8gU1833oKPKeLb–xNp2Sx66dNvyri3MsQz3btXqteQREf4

https://www.zcooby.com/io-information-operation/

https://www.matichonweekly.com/column/article_160319

https://www.acisonline.net/?p=1354

http://www.investerest.co/society/what-is-io/

http://thongkum.blogspot.com/2019/06/io.html

Journalist

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า