fbpx

IN THE MOOD FOR LOVE ห้วงเวลาความเหงาบนร่องรอยชุดกี่เพ้ากับความรักทลายพรหมแดนผนังห้องได้

หากคุณเดินเล่นบนถนนอันเปล่าเปลี่ยวและอ้างว้างของเส้นทางที่มีแต่แสงไฟยามราตรีที่ย้อมเรือนร่างของคุณดั่งผ้าคลุมเรืองแสงที่ดูเหมือนจะอบอุ่นแต่กลับก่อร่างสร้างความเหงาของหัวใจดวงน้อยๆนี้ได้อย่างบอกไม่ถูก พอมองไปที่ถนนสี่พระยาบนเส้นถนนที่มีแต่ความ ‘เจริญ’กรุง พร้อมกับ เขตที่มีแต่ ‘บางรัก’ คลุ้งเต็มไปหมด ถึงแม้วันตรุษจีนกับวาเลนไทน์ได้ล่วงเลยไปมันทำให้ความทรงจำของผู้เขียนกลับหวนนึกถึงหนัง “IN THE MOOD FOR LOVE” ของ หว่อง กา ไว เป็นอย่างแรก

ถึงแม้เรื่องเล่าย้อนไปถึงช่วงยุค 1960s ที่ตอนนั้นคนรุ่นใหม่หรือคนรุ่นพ่อแม่หลายคนนั้นอายุน้อยหรือกำลังเข้าวัยรุ่นอยู่ก็ตาม โดยเรื่องราวคร่าวๆก็ประมาณ “คนสองคนได้ย้ายมาอยู่ห้องเช่าติดกันในวันเดียวกันอย่างบังเอิญแต่ทว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีคู่ครองของตนอยู่แล้ว วันเวลาผ่านไปคู่ครองของแต่ละฝ่ายได้เข้าสู่ช่วงความจืดจางจนอาจถึงทางตันได้ด้วยระยะห่างของหน้าที่การงานกับเวลาทำงานที่ไม่ตรงกันจึงอาจเจอกันไม่บ่อยเท่าที่ควร ในทางกลับกันความสัมพันธ์ที่ผลิดอกบานเหมือนดอกโบตั๋นเคลือบยาพิษได้ทลายความรู้สึกเหงาจนก่อความรักที่มิอาจกั้นพรหมแดนของผนังห้องที่ติดกันได้อีกแล้ว 

อีกสิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่านอกจากแสงสีกับบรรยากาศแคบๆ แลแออัดชวนหม่นๆ ของผู้กำกับคนนี้ คงไม่พ้นเรื่องชุดที่ให้นักแสดงแต่งมาเองโดยเฉพาะ ‘จางม่านอวี้’ ผู้ใส่ชุดกี่เพ้าเข้าฉากมากกว่า 40 ชุดเลยทีเดียว ชุดที่เธอใส่นั้นไม่ว่าจะเป็นความร่วมสมัยแบบตะวันตกเข้ามาผสมผสานแบบเซี่ยงไฮ้ทั้งสีสันฉูดฉาด ลวดลายยังได้รับอิทธิพลทางตะวันตกมาด้วย 

แรกเริ่มเดิมทีนั้นชุดกี่เพ้าเป็นของชาวแมนจูและริเริ่มใส่กันในราชวงศ์ชิง แต่หากเป็นเพียงแค่สาวชั้นสูง หรือบรรดาข้าราชบริพารที่สวมใส่ แต่ตัวชุดจะเป็นจะเป็นชิ้นเดียวกันทั้งหมด และ เรียกว่า ฉางเผ่า (Chang pao) ส่วนคำว่ากี่เพ้าหรือฉีผาวนั้นมาจากคำว่า ฉี (旗 =ธง) และ ผาว (袍=เสื้อ) ด้วยชุดลักษณะยาวและเป็นชิ้นเดียวกันและทรงชุดหลวมเห็นแค่ มือ หัวและเท้าเท่านั้น 

พอเข้าช่วงปี 1920s-1940s ได้มีการปฎิวัติครั้งใหญ่สะเทือนวงการกี่เพ้าด้วยความต้องการผสมผสานแฟชั่นแบบตะวันตกเข้าไป ทำคอปกสูงขึ้น รัดรูป แลเพียวระหง ที่สำคัญทำเป็นทรงกระดิ่งเพื่อให้เดินสะดวกและทันสมัยขึ้น สูงพร้อมกับใส่ให้เข้ากับฤดูกาลด้วยเฉกเช่นหน้าร้อนที่ตัดแขนออกโชว์เรียวแขน เนื้อผ้าบางลง ใส่สบายขึ้น ซึ่งกลุ่มที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้นก็คือ บุคคลมีชื่อเสียง ชนชั้นสูง ยุคนี้จะเรียกชุดเหล่านี้ว่า Zhangsae แปลว่าชุดยาว แต่ภาษาอังกฤษได้เรียกว่า Changshan ที่มีความหมายเดียวกัน

พอเข้าปี 1949 แฟชั่นถูกลดบทบาทลงเนื่องจากการเข้ามาของคอมมิวนิสต์ทำให้คนจากทางเซี่ยงไฮ้บางส่วนได้อพยบเข้าฮ่องกงและนำคาราวานแฟชั่นกี่เพ้าเข้าฮ่องกงไปในที่สุด หนึ่งปีต่อมาเหล่าสาวๆแรงงานฮ่องกงได้ประยุกต์ให้สะดวกสบายขึ้นตัดท่อนบนมาแมทช์กับกางเกงยีนส์ หรือทำเป็นชุดทรงขวดสีสันฉูดฉาด หรือทำให้สั้นลง โดยที่ชุดได้ออกทำงานทางการมากขึ้น และนิยมใส่แสดงอย่างมากอย่างไต้หวัน และ ฮ่องกง ดังนั้นเรื่อง In the mood for love จึงได้รับอิทธิพลนี้เต็มเปาเลยทีเดียว

ซึ่งปรากฎการณ์ในปีที่ฉายของเรื่องนี้พูดได้เลยว่าฉลองสหัสวรรษและแฟชั่นกี่เพ้าถูกปลุกจากถ้วยน้ำชาที่เย็นชืดให้ร้อนกรุ่นอีกครั้ง เนื่องด้วยสีชุดฉูดฉาดแต่หม่นหมองตามสไตส์จีนและหนังได้นำสีฉูดฉาดมาตีความกับความเหงาได้อย่างคมคายและแยบยล อย่างสีน้ำเงินอมม่วงที่มีเฉดสีฉูดฉาด สดใสแต่มาถ่ายทอดบนอารมณ์ลาจากเหมือนชาตินี้จะไม่เจออีกแล้ว หรือ โทนสีมืดดูหม่นมองก็สามารถแต่งแต้มให้เกิดบรรยากาศโรแมนติกชวนหลงเพียงแค่เวลาอันสั้นบนรถแท็กซี่ก็ได้

ฉะนั้นแสงสีบรรยากาศนั้นช่างสวยงามราวกับมนต์สะกดของคนดูรวมถึงคนรุ่นใหม่ที่ต้องหาผลงานอื่นๆของผู้กำกับภาพยนตร์คนนี้ หรือหนุ่มสาวผู้ผ่านยุค 90s ก็ยังคงหวนรำลึกเรื่องราวจากหนังเรื่องนี้ก็มิน้อยโดยที่ผู้คนสนใจความรักโรแมนติกกันน้อยลงเลือกที่จะอยู่กับตัวเองมากขึ้นตัดขาดกับคนในสังคมส่วนใหญ่จนเกิดการพูดถึง “การกระทำความหว่อง” อยู่หลายคราเลยทีเดียว หนังเรื่องนี้มีประโยคเด็ดที่ผู้เขียนจดจำขึ้นใจว่า 

“เมื่อยุคสมัยนั้นได้ผ่านพ้นไป ไม่มีสิ่งใดที่ในยุคนั้นที่จะรักษาได้”

พอมองเวลาที่เขียนเรื่องราวนี้อยู่เวลาก็ได้ล่วงเลยไปนานมากแล้ว ร้านคาเฟ่ย่านเจริญกรุงที่ฉันได้บรรจงขีดเขียนเรื่องราวไปเปรียบเสมือนความลับบนชุดกี่เพ้าที่วันตรุษจีนได้สวมใส่ไปไหว้พระที่ศาลเจ้าก็คงได้ แต่ท้ายสุดก็คงได้มองย้อนกลับไปยันเส้นสี่พระยาและเห็นเหล่าสาวๆใส่ชุดกี่เพ้ากันมากมาย สาวๆบางคนอาจเก็บความลับบนความรักที่ไม่สามารถออกมาจากใจได้ หรือ แอบนั่งเหงาบนชุดสีแดงสดที่มีลายทองปักไว้อยู่ บางคนก็อาจการย้อนกลับมาหวนรำลึกถึงวันเก่าๆกับครอบครัวที่ดูแล้วอบอุ่นเหลือเกิน จนทำให้ฉันรู้สึกว่ากี่เพ้าก็เป็นไอเท็มติดตัวที่สามารถประยุกต์เข้ากับทุกที่ได้โดยไม่สนกาลเวลาที่ล่วงเลยไปและกลายเป็นความเก่าแต่เก๋แก่วงสังคมอีกครั้ง


แหล่งอ้างอิง :
http://www.kongqipaoshop.com/article/ประวัติกี่เพ้า
https://thestandard.co/in-the-mood-for-love/
https://pantip.com/topic/35938809
https://hommesthailand.com/2020/10/20-years-in-the-mood-for-love/

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า