fbpx

หลังจากเหตุการณ์กราดยิงโคราช กฎหมายอาวุธไทยนั้นแน่นหนาพอหรือไม่ ?

3 Point of Issue.

– หลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดนครราชสีมา การครอบครองอาวุธปืนของประชาชนในประเทศจึงเป็นประเด็นหลัก โดยคำถามอยู่ที่ว่าเรามีความหนักแน่นในการบังคับใช้กฎหมายครอบครองปืนของไทยหรือไม่
– สถิติที่เกี่ยวข้องจากเว็บไซต์ GunPolicy.org ได้ระบุว่าประชาชนไทยครองอาวุธปืนมากกว่าเจ้าหน้าที่รัฐเป็นมากกว่า 10 เท่า ของจำนวนปืนที่เจ้าหน้าที่รัฐครอบครอง และถึงแม้ว่ากฎหมายที่แน่นหนาก็ตาม การบังคับใช้กฎหมายเหล่านั้นยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
– การบังคับใช้กฎหมายอาวุธอย่างเครงครัด รวมถึงมีการตรวจสอบทั้งร้านจำหน่ายอาวุธ และตัวผู้ซื้อว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ จึงเป็นสิ่งที่ควรดำเนินการเพื่อทำให้มั่นใจว่ามาตราการควบคุมปืนนั้นจะมีประสิทธิภาพตามที่มันควรจะเป็น


ในเหตุการณ์กราดยิงในจังหวัดนครราชสีมาที่ผ่านมา เราได้เป็นพยานถึงเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย และเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้ประสบเหตุการณ์เช่นนี้ และเป็นไปได้ว่าจะมีเหตุการณ์กราดยิง หรือเหตุการณ์ความรุนแรงเช่นนี้ จะเกิดขึ้นอีกต่อไปเรื่อย ๆ

แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องเริ่มตื่นตัวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ได้แล้ว เพราะว่าไม่ใช่แค่ตำรวจกับทหารฝ่ายเดียวที่มีอาวุธในครอบครอง เรากำลังพูดถึงคนไทยที่ไม่ได้มีหน้าที่ในงานตำรวจ หรืองานทหารแม้แต่อย่างใด แต่ก็มีอาวุธในครอบครองทั้งถูกและผิดกฎหมาย จากสถิติที่ได้รวบรวมในปี 2017 โดย GunPolicy.org ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ได้ระบุว่าประเทศไทยมีอาวุธปืนครอบครองโดยส่วนบุคคลมากถึง 10.3 ล้านกระบอก ในขณะที่ทหารมี 1,052,815 กระบอกและตำรวจมีเพียงแค่ 230,000 กระบอกเท่านั้น เมื่อรวมของทั้งทหารและตำรวจเข้าด้วยกัน ก็ยังไม่มากเท่าจำนวนที่ประชาชนทั่วไปมีอาวุธในครอบครองเลยแม้แต่น้อย

คำตอบถึงคำถามที่ว่าทำไมประชาชนมีปืนมากกว่าตำรวจและทหารรวมกัน คำตอบก็คงต้องอยู่ที่การบังคับใช้กฎหมายอาวุธของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นอย่างแน่นอน

ข้อมูลจากเว็บไซต์ GunPolicy.org ได้นำเสนออีกว่ากฎหมายการครองปืนในไทยถือว่าเป็นกฎหมายที่ค่อนข้างหนาแน่นพอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายในประเทศที่มีการกราดยิงบ่อยครั้ง (อย่างเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา) แน่นอนว่ากฎหมายที่สหรัฐอเมริกาอ่อนกว่าของประเทศไทยมาก เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกาถือเรื่องการครองปืนว่าเป็นสิทธิพลเรือนของอเมริกา (ตามข้อเพิ่มเติมที่สอง (Second Amendment) ของรัฐธรรมนูญสหรัฐ) 

แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากเหตุการณ์กราดยิงในจังหวัดนครราชสีมาแล้ว ทำให้รู้ว่ากฎหมายนั่นไม่ใช่ประเด็นหลักที่จะต้องแก้ไขอย่างเดียวเท่านั้น เพราะเรื่องการครองปืนที่ถูกต้องนั้นต้องมีการบังคับใช้อย่างถูกต้องด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่งานทะเบียนในประเทศเราไม่เคร่งครัดอย่างที่ควร ไม่มีการตรวจสอบแม้แต่ความพร้อมของแต่ละบุคคลที่จะครอบครองปืน หรือความเหมาะสมของปืนที่จะใช้ตามเหตุผลที่กฎหมายอนุญาต

แน่นอนว่ากฎหมายของประเทศไทยนั้นอยู่ในความเหมาะสมอยู่แล้ว เพราะว่าข้อความในกฎหมายก็ให้กติกาที่หนักแน่นและชัดเจนกว่ากฎหมายการครองปืนในประเทศอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากจะทำให้กฎหมายพวกนั้นมีความหมายมากขึ้นในการหยุดยั้งอาวุธปืนถูกนำไปใช้ไปในทางที่ไม่ดี อย่างแรกที่เราควรทำคือการเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้นในการที่จะได้มาซึ่งอาวุธสู่บุคคลที่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้มันตั้งแต่แรก และให้เจ้าหน้าที่รัฐเพิ่มความเข็มงวดในการจดทะเบียนอาวุธให้มั่นใจว่าผู้ที่ครอบครองอาวุธนั้นจะมีความรับผิดชอบได้แต่อย่างไรก็ตาม

ถ้าหากมีประการใดที่จะสามารถส่งเสริมความหนาแน่นของกฎหมายในการครอบครองปืนได้มากกว่าที่เป็น เพื่อไม่ให้ปืนเหล่านั้นนำมาใช้ในลักษณะการกราดยิงได้อีก ก็คือต้องมีการตรวจสอบร้านขายอาวุธว่ามีความถูกต้องไปตามกฎหมายหรือไม่ และการที่ขายอาวุธปืนต่าง ๆ นั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ ถ้าจะทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้นั้น จะต้องมีการบังคับใช้กฎหมายและให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าให้เข้มงวดกว่าที่เคยเป็น

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า