fbpx

ปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่รอบตัวคนไทย ยากจะแก้ แต่ทำได้

คอนเทนต์นี้สรุปจากงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2021


งาน “THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2021 The Great Reform: Thailand’s Tipping Point for a Sustainable Future” ได้มีหัวข้อที่น่าสนใจ “THAILAND’S RACE TO NET ZERO IN ACTION อนาคตยั่งยืนแบบไทย สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ ทำได้จริงหรือเพ้อฝัน” ซึ่งจัดเมื่อวันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งเราทุกคนต่างตั้งคำถามว่าประเทศไทยของเราจะก้าวสู่การเป็นสังคมคาร์บอนเป็นศูนย์หรือ Net Zero Emissions ได้จริงหรือไม่? Modernist ได้สรุปสาระสำคัญมาไว้ที่นี่

คุณวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้พูดถึงประเด็นสำคัญๆ ดังต่อไปนี้

มีอะไรให้อ่านบ้างในบทความนี้?

ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับประมาณคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจะก้าวเข้าสู่ Net Zero Greenhouse Gas Emission (GHG) หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

โดยคาดการณ์ว่าอุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น เฉลี่ย 2.7 องศาเซลเซียสก่อนจบศตวรรษนี้ ดังนั้นสิ่งที่ทั่วโลกพยายามจะทำคือกดให้ตัวเลข 2.7 องศาเซลเซียส ให้เหลือไม่เกิน 1.5 และไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส

ประเทศไทยถ้าเทียบทั่วโลกเราปล่อย GHG เพียง 0.8% แต่เราสามารถเห็นผลกระทบได้อย่างชัดเจน

ยกตัวอย่างเช่น น้ำท่วมในพื้นที่ไม่เคยท่วมมาก่อน คนไทยได้เห็นแล้วว่าผลกระทบจากโลกร้อนมีน้ำหนักมากขนาดไหนในชีวิตของเรา การประชุม COP26 ในเมืองกลาสโกว์ ที่ประเทศไทยยังไม่ได้ลงนามการลดใช้ป่าไม้ ลดถ่านหิน และการลดก๊าซมีเทน เพราะเรื่องป่าไม้ ต้องขอความเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ไม่ใช่จะไม่ลงนาม เพียงแต่มันเร่งด่วงทันที ถ่านหิน ถ้าจะลดการใช้พลังงานถ่านหิน ต้องคิดว่าพลังงานอื่นๆ มีแผนรองรับอย่างไร และมีเทน ภาคการเกษตรปล่อยมากสุด พี่น้องเกษตรกรจะได้รับผลกระทบมาก ก่อนที่จะลงนามดำเนินการเราต้องวางแผนอย่างรัดกุมไม่ให้ได้รับผลกระทบกับประชาชน

ไม่ใช่ไทยไม่ลงนาม แต่ยังไม่ลง และในอนาคตจะลงนามแน่นอน เพราะเนื้อหาสอดคล้องกับแผนพัฒนาชาติ 20 ปีด้วย

ทั้งภาครัฐบาลภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิตจะลดก๊าซเรือนกระจกได้หรือไม่ ต้องได้รับความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย ต้องสนับสนุนคนที่มองเห็นสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก


คุณพงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้มีประเด็นสำคัญๆ ว่า

ประเทศไทยเราเป็นหนึ่งใน 81 ทั่วโลกที่ประกาศ Net Zero

โดยประเทศไทยเราประกาศ 2 ชั้น ชั้นที่ 1. Carbon neutrality ลดก๊าซเรือนกระจกจากคาร์บอนไดออกไซด์ เรื่องพลังงานกับการขนส่ง เราจะลดภายในปี 2050 ชั้นที่ 2. ประเทศไทยเราจะทำให้เกิด Ned Zero ภายในปี 2565 ถ้าเราปฏิบัติและทำกันจริงๆ ทั่วโลก เราจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกถึง 90% ซึ่งหลายๆ ประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ

ประเทศไทยมีนโยบาย BCG (Bio-Circular-Green)  เป็นแนวทางการพัฒนาที่สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของนานาชาติ

สาเหตุสำคัญที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก คือเรื่องของพลังงานมากที่สุด 71% แต่ก็เป็นพลังงานที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า การขนส่ง อุตสาหกรรม บ้านเรือน ดังนั้น ต้องมองว่ามีการใช้สัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนมากน้อยอย่างไร ถ่านหิน น้ำมันก๊าด ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง นโยบายของประเทศต้องศึกษาอย่างรอบคอบและคิดว่าต้องลดลงได้ในที่สุด


ในส่วนของ ดร.กฤษฎา เสกตระกูล รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้พูดในมุมของตลาดหลักทรัพย์ ภาคธุรกิจ มีประเด็นสำคัญดังนี้

ในภาคธุรกิจ ทุกกระบวนการผลิตมีส่วนในการทำลายโลก

ดังนั้นบริษัทต่างๆ ควรสนใจเรื่องความยั่งยืน การทำธุรกิจต้องประณีตมากขึ้น

  1. Standard Setting ชัดเจน
  2. ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติ
  3. เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  4. ทำการประเมิน
  5. ส่งเสริมภาคนักลงทุนที่ใส่ใจ โดยธุรกิจอื่นๆ ให้ลงทุนกับนักลงทุนที่ใส่ใจ

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ได้กล่าวประเด็นสำคัญคือ

GC ได้ใช้ Concept เรื่องความยั่งยืนกับบริษัท มาตลอด และมีแผนการลดก๊าซเรือนกระจกในทุกมิติขององค์กร

“สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ต้องสมดุลกัน Net zero ทำได้ แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นเรื่องง่าย”

มุมมองการปฏิรูป ZERO IN ACTION

คุณวราวุธ มองว่าอุปสรรคสำคัญสุด คนไทยต้องตระหนัก ตื่นตัวขึ้นมา ทุกอย่างมันเริ่มต้นที่ตัวเรา แต่อย่างไรก็ตาม คนไทยจะเริ่มตื่นตัวเรื่อยๆ จากสิ่งที่มองเห็น เช่น การลอยกระทงที่ผ่านมา มีขยะน้อยลง มิติเรื่องของสิ่งแวดล้อมมันต้องซึมแทรกอยู่ในทุกกระทรวงประเทศไทย แม้แต่กระทรวงการศึกษา แต่อย่างไรก็ตามต้องค่อยๆ แก้ปัญหากันไป

“ถ้าเอาแต่ถามคนอื่น แล้วตัวเราเองก็นั่งเฉยๆ “Not in my Backyard.”
อะไรก็ได้แต่อย่าทำให้ฉันเดือดร้อนก็แล้วกัน…ไม่เกิดประโยชน์แน่นอน ซึ่งที่ยากและท้าทาย
ที่ต้องปฏิรูปวันนี้เลยคือกระบวนการทางความคิด เป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุด”

วราวุธ ศิลปอาชา

ดร. พงษ์วิภา มองว่าต้องปฏิรูป Vision คนไทยต้องมองไปในจุดประสงค์ร่วมกัน โดยย้ำว่าต้องมีนโยบาย Road Map ที่ชัดเจน เราต้องไปให้ถึง รวมทั้งจะมีแรงกดดันจากต่างประเทศ เช่น คาร์บอนแฝงในสิ่งต่างๆ ต่างประเทศก็จะไม่รับสินค้าเรา และเราต้องมองเป็นโอกาส

“เราอยากเจริญเติบโตแบบยั่งยืน หรือเราอยากเจริญเติบโตโดยที่มีเงินเยอะๆ
แต่สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม คุณภาพชีวิตเสื่อมโทรม”

พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์

คุณกฤษฎา มองว่า การดูแลสิ่งแวดล้อมควรจะเป็นทักษะหนึ่งของพลเมืองไทย และในมิติพลเมืองโลกด้วย ต้องเห็นภาพ Ecosystems ใหม่ ภาพรวมร่วมกัน เราคงหนีไม่พ้น momentum ที่แรงมาก ถ้าทุกคนยอมรับในเรื่องนี้ ในการปฏิบัติ กระบวนการการวัดก็ยังทำได้ยากอยู่ ดังนั้น กลไกในการวัด การเก็บข้อมูล เป็นสิ่งที่สำคัญ

ทิ้งท้ายจากคุณคงกระพันว่า

“ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาของคนใดคนหนึ่ง… เปลี่ยน Mind set ว่า
ช่วยกันทำ…ไม่ต้องไปมองคนอื่น ทำตัวเองให้ดีที่สุด องค์กรเรา ประเทศเราให้ดีที่สุด”

คงกระพัน อินทรแจ้ง

โดยยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า คนทุกคนไม่จำเป็นต้องทำเท่ากัน การปฏิบัติเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมต้องมองที่กำลังของตนเอง ทำเท่าที่ทำได้ คนที่ไม่พร้อมการทำน้อยก็เป็นเรื่องปกติ คนที่ทำได้มาก ภาคเอกชนรายใหญ่ที่มีต้นทุนมาก ต้องช่วยกันลงมือทำ

โดยสรุปภาพรวมอนาคตยั่งยืนแบบไทย สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ สามารถทำได้จริง ถ้าทุกคนร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติในทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง


Journalist

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า