fbpx

กสทช. เปิดใจรายการ FACE2FACE ดำเนินการไม่ถูก กม.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ในฐานะผู้กำกับดูแลด้านกิจการโทรทัศน์ จัดแถลงข่าวกรณีการนำเสนอเนื้อหารายการที่เกี่ยวกับการทำศัลยกรรมในสถานพยาบาล โดยเชื่อมโยงกับความเชื่อนอกระบบ นำโดย กสทช. พลโท ดร.พระพงษ์ มานะกิจ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ ร่วมกับแพทยสภา และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมแถลงข่าวขึ้นในวันนี้ (8 มีนาคม 2565) ณ สำนักงาน กสทช.

ตัวแทนของแพทยสภา เปิดเผยว่า ในส่วนของแพทยสภานั้น มีความเป็นห่วงต่อกรณีการนำเสนอการโฆษณาของแพทย์ในวิชาชีพ โดยวิชาชีพแพทย์ต้องดำเนินการตามกรอบจรรยาบรรณวิชาชีพแพทย์ และในการโฆษณานี้ต้องไม่โฆษณาเพื่อผลประโยชน์ต่อตนเองและญาติ เว้นแต่เพื่อสาธารณประโยชน์ในแง่ที่ส่งผลดีต่อสังคม เช่น การดำเนินการวิจัย การประกาศเกียรติคุณ เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้คือเป็นการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ และทำให้หลงเชื่อเกินจริง ซึ่งผิดตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งแพทยสภาให้การยอมรับไม่ได้ต่อกรณีนี้ รวมถึงการดำเนินการนำเรื่องความเชื่อมารวมกับเรื่องวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ก็เป็นเรื่องที่ทางแพทยสภาไม่เห็นควรต่อเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

พลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ กล่าวว่าคนที่ต้องรับผิดชอบ คือสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. ซึ่งเขาต้องตรวจสอบก่อนดำเนินการออกอากาศจริง เพื่อเป็นบรรทัดฐานต่อประชาชน ซึ่งในกรณีนี้รวมไปถึงการโฆษณาในรายการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงการโฆษณาสินค้าและบริการ ซึ่งรายการของทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ไม่ได้ขออนุญาตมาทั้งหมด 3 ตอนใน 1 รายการ และเมื่อภาคเอกชนได้รีบขออนุญาต ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพก็ได้อนุญาตไปแล้ว 1 ตอนจาก 8 ตอน ทางสำนักงาน กสทช. ไม่ได้จงใจเจตนากลั่นแกล้งใคร เพียงแต่อยากให้เกิดความเข้าใจถ้าหากผู้ผลิตดำเนินการจัดทำรายการต่อไป

ในส่วนของตัวแทนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า หากทางสถานพยาบาลต้องการโฆษณาบริการสุขภาพ ต้องแจ้งหรือดำเนินการขอใบอนุญาตกับทางกรมฯ เพื่อที่จะดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียด ซึ่งถ้าไม่ได้รับอนุญาตก็จะมีโทษทั้งจำและปรับตามความผิดต่อไป ซึ่งการโฆษณาต้องมีเลขที่ออกโดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเท่านั้น และถ้าหากโฆษณาเกินจากที่ขออนุญาตก็ต้องขอเพิ่มเติม ห้ามกระทำการโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งการดำเนินการทำตามขั้นตอนจะส่งผลดีต่อสถานพยาบาลและต่อประชาชนทั่วไปในการใช้บริการเช่นกัน สำหรับกรณีรายการที่เกิดขึ้นนั้นกรมสนับสนุนบริการสุขภาพไม่อนุมัติ เนื่องจากมีเรื่องของความเชื่อที่ขัดต่อความเป็นจริง และขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน อาจจะทำให้ประชาชนเข้าใจผิดและเกิดความหลงเชื่อได้

สำหรับโทษของการดำเนินการออกอากาศรายการนี้นั้น ถูกแบ่งเป็น โทษของแพทย์ที่ไปออกรายการ และตัวบริษัทที่ออกอากาศรายการ ซี่งจะมีการว่ากล่าวตักเตือนไปจนถึงการยกเลิกใบประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ของแพทย์ที่ไปออกรายการ ส่วนของสถานพยาบาลนั้น ถ้าเกิดมีการโฆษณาโอ้อวดเกินจริงก็จะมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท และถ้าหากยังมีการโฆษณาต่อไปก็จะปรับวันละ 10,000 บาท และในส่วนของ กสทช. นั้นได้มีสั่งการแก้ไขรายการเพื่อให้กลับมาออกอากาศรายการได้

Photographer

Journalist

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า