fbpx

#คืนค่าเทอมให้นักศึกษา สิทธิเยาวชน(ที่หายไป) ในฐานะประชาชนของรัฐจากวิกฤตโควิด-19

เป็นเวลากว่าหลายเดือน นับตั้งแต่ไวรัสโควิด-19 มีการแพร่ระบาด ประชาชนหลายกลุ่มต่างได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ และนับวันการแพร่ระบาดของโรคก็รุนแรงขึ้นเรื่อยๆทั้งในไทยและเทศ จนทั่วโลกต่างร่วมด้วยช่วยกันและกันกับมาตรการสกัดการแพร่ระบาด ด้วยวิธีการเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social distancing

ในสถานการณ์ที่เราได้เพียงแค่ทำการคาดเดาและยังไม่รู้ว่าไวรัสโควิด-19 จะหายไปเมื่อไหร่ นอกจากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนในหลากหลายอาชีพ ถึงแม้จะมีมาตรการมอบเงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือน รวมเป็นเงิน 15,000 บาท แต่นั่นก็ยังไม่อาจครอบคลุมถึงประชาชนทุกกลุ่มได้เท่าไหร่นัก

เนื่องด้วยโรคระบาดจากไวรัสโควิด-19 นอกจากมีผลทำให้สถานประกอบการหลายแห่ง ที่เปรียบเสมือนแหล่งทำมาหากินของผู้คน ต้องหยุดการดำเนินการชั่วคราว เพื่อการสกัดการแพร่กระจายของโรคแล้ว สถานศึกษาหลายแห่งทั่วประเทศก็ต่างต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้เป็นแบบออนไลน์ ซึ่งผู้ได้รับผลกระทบอีกกลุ่ม ก็คือกลุ่มนักเรียนนักศึกษานั่นเอง

เยาวชนปลดแอก เรียกร้องให้สถานศึกษาทั่วประเทศลดค่าเทอมให้นักศึกษาจำนวน 25%

#คืนค่าเทอมให้นักศึกษา ขึ้นเป็นเทรน์ทวิตเตอร์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม จากการออกมาเรียกร้องให้มีการลดค่าเทอมให้แก่นักศึกษา จากเยาวชนปลดแอก ด้วยเหตุผลที่ว่าเพราะการปรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ส่งผลให้ค่าจ่ายของมหาวิทยาลัยในด้านต่างๆลดลงไปด้วยแต่ส่วนของนักศึกษากลับไม่ได้ลดลงเลย

หากจำกันได้ ทุกครั้งภายหลังจากการลงทะเบียนเรียน นอกจากค่าหน่วยกิจแต่ละวิชา ก็จะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าอาคารสถานที่ ค่าLab ค่าน้ำค่าไฟ ค่าดำเนินกิจกรรมต่างๆ และค่าOT ของเจ้าหน้าที่และเนื่องจากโรคระบาดทำให้มหาลัยต้องสั่งปิดสถานที่ตามมาตรการของรัฐ

หากสังสัยว่า ทำไมต้อง25% เยาวชนปลดแอกชี้แจงว่า ในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐอย่างเช่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมีงบจัดการศึกษา ยกตัวอย่างในปี 2561 ใช้งบประมาณไปราว 2,000 ล้านบาท โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีนักศึกษาอยู่ประมาณ 40,000 คน หากหยุด 3 เดือน ก็เท่ากับ 1/4 ของปี(25%) นี่ยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายด้านสถานที่ซึ่งแน่นอนว่า หากไม่มีนักศึกษาเข้าไปใช้บริการแล้ว ค่าใช้จ่ายอย่างค่าแอร์ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าบำรุงรักษา ค่าจัดกิจกรรมจะต้องลดลงอย่างแน่นอน

‘การคืนค่าเทอมบางส่วนจึงเป็นสิทธิโดยชอบธรรมที่นักศึกษาควรได้รับ’

 “พาร์ทไทม์” ผลกระทบและรายได้ที่หดหายจากไวรัสโควิด-19 ในเยาวชนที่ต้องหาเลี้ยงตัวเอง

วันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา นาย ลวรณ แสงสนิท
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังได้ตอบคำถามแก่นักข่าวระหว่างการแถลงของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 โดยนักข่าวได้ถามว่า “นักศึกษาที่ทำงานพาร์ทไทม์ จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทตามาตรการของรัฐบาลหรือไม่” ซึ่งคำตอบที่ได้ คือ กรณีที่เป็นนักศึกษา เมื่อลงทะเบียนและมีการตรวจสอบก็จะพบว่ามีสถานะเป็นนักศึกษา จึงไม่เข้าเกณฑ์ได้รับเงินเยียวยาจำนวน 5,000 บาท

จากคำตอบของ นาย ลวรณ ความเสี่ยงของกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มาจากครัวเรือนที่เศรษฐานะทางบ้านไม่สูงนัก นอกเหนือจากเด็กและเยาวชนกว่า 6.7 แสนคน ที่ได้หลุดจากระบบการศึกษาไปและในสภาวะแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นี้ จะมีเด็กที่ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาเพิ่มอีกหรือไม่ รวมถึงเด็กและเยาวชนที่ต้องเรียนไปด้วยและทำงานไปด้วยในเวลาเดียวกัน การปิดสถานของประกอบการตามมาตรฐานของรัฐ จึงทำให้เหล่าเยาวชนที่ทำงานหาเลี้ยงตัวเองสูญเสียรายได้ที่จะนำมาใช้หาเลี้ยงตัวเองหรือครอบครัว

มธบ.-ม.รังสิต"เข้มนักศึกษาจีน ยกระดับป้องกัน"ไวรัสโควิด-19"ขั้นสูง ...
ภาพจาก : ประชาชาติธุรกิจ

ภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของบุตรหลาน เมื่อผู้ปกครองขาดรายได้อย่างต่อเนื่อง 

จากการประมาณการค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเฉลี่ยต่อนักเรียนของครัวเรือนยากจนในสถานศึกษารัฐ ของกองทุนเพื่อความศึกษา และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร ซึ่งหากจำแนกตามระดับ การศึกษาและรายการใช้จ่าย พ.ศ. 2560 (บาท/คน) พบว่า ครัวเรือนที่ยากจนที่สุด 10% แรกของประเทศ ไทย มีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาที่นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมการศึกษาที่รัฐออกให้จำนวนหลายพันบาท และหากเทียบเฉลี่ยต่อรายได้ของครัวเรือนกลุ่มนี้ พบว่าครัวเรือนยากจนมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 2,020 บาท เท่านั้น

กระนั้น หากเยาวชนที่มาจากครอบครัวที่ไม่ได้มีฐานะสูงมากนัก แม้พวกเขาอาจพอมีทุนทรัพย์อย่างถูๆไถๆ กับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาไปได้บ้างในสถานการณ์ปกติทั่วไป แต่สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีแนวโน้มรุนแรง การที่ต้องหยุดงาน ทำให้ครอบครัวของเด็กกลุ่มนี้ขาดรายได้อย่างต่อเนื่อง และอาจทำให้พวกเขาไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของลูกหลานได้ เพราะส่วนใหญ่ พวกเขาเหล่านี้ประกอบอาชีพลูกจ้างรายวัน หาเช้ากินค่ำ และด้วยการสูญเสียรายได้เป็นเวลานาน โดยไม่รู้ว่าเชื้อไวรัสโควิด -19 จะหายไปเมื่อไหร่

ดังนั้น แนวโน้มที่เด็กและเยาวชนต้องออกจากระบบการศึกษาอาจเพิ่มมากขึ้นในช่วงเปิดเทอมที่จะถึงนี้ และในปีการศึกษา 2563 

การเคลื่อนไหวของนักศึกษาถือเป็นการเรียกร้องจากผู้ได้รับผลกระทบในฐานะเด็กและเยาวชนกลุ่มหนึ่งที่มีสถานะเป็นประชาชนของรัฐ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสรรให้เกิดเป็นมาตรการจะต้องร่วมพิจารณาให้เห็นความสำคัญ เพราะค่าใช้จ่ายทางการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาเป็นจำนวนเงินที่สูง ที่นอกเหนือจากค่าหน่วยกิตก็จะประกอบไปด้วยค่าอื่นๆ เช่น หอพัก เป็นต้น และจากการประกาศปิดสถานศึกษาเปลี่ยนเป็นจัดรูปแบบการสอนแบบออนไลน์ ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่กลับบ้าน แต่ภาระค่าใช้จ่ายเหล่านี้ยังคงมีอยู่ และกระทบแก่นักศึกษาและครอบครัวของพวกเขาในสภาวะที่ต้องหยุดงานจากไวรัส จากรายได้ที่มาจากครอบครัวที่ลดลง และรายได้จากการทำงานพาร์มไทม์ของนักศึกษาที่หายไป ย่อมกระทบต่อพวกเขาโดยตรง

อย่างไรก็ตาม จากการเรียกร้องให้มีการ #ลดค่าเทอมให้นักศึกษา ก็ได้มีสถานศึกษาหลายแห่งที่เริ่มมาตรการการลดค่าเทอมคืนให้แก่นักศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยศรีปทุม , มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย , มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และมหาวิทยาลัยราชภัฐบ้านสมเด็จเจ้าพระยา นอกจากนี้ ยังมีนักศึกษาในอีกหลายมหาวิทยาลัยที่ได้มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการคืนค่าเทอมเช่นกันได้แก่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, มหาวิทยาลัย มจธ. , มหาวิทยาลัยรังสิต , มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และในมหาวิทยาลัยอีกหลายที่ทั่วประเทศ ที่อาจยังไม่มีความเคลื่อนไหวในขณะนี้ แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ในฐานะประชาชนของรัฐ ทุกคนย่อมมีสิทธิมีส่วนในการได้รับการเยียวยาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ไม่ว่าพวกเขานั้นจะเรียกร้องหรือไม่ก็ตาม

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า