fbpx

คอนเทนต์ครีเอเตอร์กับจรรยาบรรณที่หายไป (และควรมี) ?

นูเซอีร์ ยัสซิน คอนเทนต์ครีเอเตอร์ชาวอิสราเอลเชื้อสายอาหรับ หรือที่รู้จักกันในโลกอินเทอร์เน็ตว่า นาสเดลี่ย์ (Nas Daily) ผ่านวิธีการทำคอนเทนต์ที่กระชับ การนำเสนอที่คนทั่วโลกเข้าถึงง่าย และการเล่าเรื่องที่มีเอกลักษณ์ ทำให้เขาเป็นหนึ่งในคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก เขาสร้างผลงานและความน่าเชื่อถือในทุกที่ที่ไปเยือน แต่อย่างไรก็ตาม การที่มีพื้นที่สาธารณะเป็นของตัวเองมักจะมาพร้อมกับความรับผิดชอบซึ่งคอนเทนต์ครีเอเตอร์หลายคนไม่มี และความรับผิดชอบนี้เองที่นาสเดลี่ย์ก็มีปัญหาอยู่หลายครั้งไป

ในครั้งที่นาสเดลี่ย์ได้รับเชิญไปประเทศฟิลิปปินส์เพื่อถ่ายทำคอนเทนต์เกี่ยวกับ The Cacao Project อันเป็นโครงการที่ช่วยเหลือชาวนาในพื้นที่ของเมืองซานเฟอร์นานโด (San Fernando) เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวชาวนาที่ยากจน โดยที่ลูอิซ มาบูโล เจ้าของโครงการในตอนนั้น คาดหวังกับนาสเดลี่ย์เป็นอย่างมากว่าเขาจะช่วยขยายโครงการนี้ให้เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง แต่สิ่งที่เธอเจอกลับเป็นความผิดหวังในคนที่เธอเชื่อว่าเป็นคนช่วยเหลือสังคม

“ฉันเห็นเขาล้อเลียนสำเนียงภาษาพื้นบ้าน” ลูอิซกล่าวไว้ “เขาเลียนเสียงตากาล็อกเพี้ยนไปจนน่าบัดซบเลย แถมยังมีหน้ามาพูดบอกว่าคนในบ้านเกิดฉันมัน ‘จน’ บ้าง” เขายังพูดอีกว่า “ชาวนาจนมาก ๆ” และ “ทำไมคนฟิลิปปินส์จนขนาดนี้” ลูอิซกล่าวต่อไปว่า “เขาบอกว่าไม่มีใครที่ไหนอยากได้ยินเรื่องชาวนาชาวไร่หรอก มันไม่ใช่คอนเทนต์น่าดูน่าคลิกขนาดนั้น” เขาแทบไม่แคร์ที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมหรือเล่าปัญหาสังคมด้วยซ้ำ – เขาแค่ต้องการคอนเทนต์ซึ่งต้องเป็นเรื่องที่น่าเอาไปเล่าต่อได้ง่ายๆ เพื่อที่คนฟิลิปปินส์จะได้ดู” (อ่านเพิ่มเติม)

ถึงแม้ว่านาสเดลี่ย์ได้ออกมาแถลงแล้วว่าสิ่งที่เขาทำไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่หลังจากลูอิซ “แฉ” พฤติกรรมของเขา ประเด็นนี้ได้กลายเป็นเรื่องร้อนระอุในแวดวงออนไลน์ของประเทศฟิลิปปินส์ไปแล้ว และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นาสเดลี่ย์เจอกระแสสังคมตีกลับใส่เขา ที่แน่นอนเลยก็คือนาสเดลี่ย์ไม่ใช่คนแรกที่ทำแบบนี้ ยังคงมีคอนเทนต์ครีเอเตอร์คนอื่นที่ให้คุณค่ากับยอดวิวมากกว่าความถูกต้องในบริบทสังคม

ในประเทศไทยเองก็พึ่งมีประเด็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่มีพฤติกรรมลักษณะนี้เช่นเดียวกัน นั่นคือคุณมิ้นท์จากเพจ “IRoamAlone” ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาเธอเจอกับปัญหาการสื่อสารที่ผิดพลาดอยู่หลายครั้ง และหลายครั้งที่สาธารณชนตั้งข้อสงสัยกับคอนเทนต์ครีเอเตอร์คนนี้ว่าเธอได้คำนึงถึงปัญหาสังคมในการทำคอนเทนต์ของเธอหรือไม่ การสื่อสารกับลูกเพจและสาธารณชนในหลายๆ ครั้งที่ผ่านมาก็ทำให้เห็นว่าเธอสื่อสารได้ไม่ดีเท่าที่ควร และครั้งล่าสุดที่เธอเดินทางกลับจากอัฟกานิสถานได้อย่างปลอดภัย เธอยังคงสร้างปัญหาการสื่อสารให้กับตนเองอยู่อย่างต่อเนื่องจนต้องออกมากล่าวขอโทษและขอพักการทำคอนเทนต์ไปชั่วพักหนึ่ง

ปัญหาพวกนี้เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานานตั้งแต่แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเปิดโอกาสให้คนทั่วไปมีพื้นที่สาธารณะเป็นของตัวเอง ถึงแม้ว่าแพลตฟอร์มพวกนี้จะเปิดกว้างและมีอิสระในการสร้างคอนเทนต์ แต่มันจะดีกว่าไหมที่คอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องเริ่มพูดถึงจรรยาบรรณของการทำคอนเทนต์ในพื้นที่สาธารณะ ? ถึงเวลาแล้วหรือยังที่คอนเทนต์ครีเอเตอร์จะต้องมีหลักการทำคอนเทนต์เหมือนกับที่สื่อมวลชนกลุ่มอื่นมีหลักการของพวกเขาเอง ?

หนึ่งในหน้าที่หลักของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ คือการสร้างเนื้อหาให้คนทั่วไปได้เข้าถึง แต่ก็เหมือนกับอาชีพในพื้นที่สื่อมวลชนทั่วไปที่คนทำงานจะต้องมีจรรยาบรรณของการทำสื่ออยู่เสมอ ทุกคนล้วนต้องคำนึงอยู่เสมอว่าจะทำเนื้อหาอย่างไรให้เคารพสภาพความอ่อนไหวได้มากที่สุด และเนื้อหาแบบไหนที่ทำแล้วจะไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้น ถึงแม้ว่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในแพลตฟอร์มเปิดอย่าง YouTube จะทำงานกันอย่างอิสระก็ตาม แต่พวกเขาเองก็หนีไม่พ้น “จรรยาบรรณ” ของการสื่อสารในพื้นที่สาธารณะเช่นเดียวกัน ถึงเวลาแล้ว

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า