fbpx

ต้นเหตุของข่าวลวงทั้งหมด หวังผลอะไรทางการเมือง? [ส่องสื่อ x Cofact Ep.4]

บทความชุดนี้ได้รับความร่วมมือในการร่วมผลิตระหว่างทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ส่องสื่อ , COFACT ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับตรวจสอบข่าวปลอมในประเทศไทย และมูลนิธิฟรีดริช เนามัน (Friedrich Naumann Foundation for Freedom) ประเทศไทย


เขาว่ากันว่าเวลาจะทำงานอะไรสักอย่างทุกคนมักหวังผลเสมอ เช่นเดียวกับการสร้างข่าวปลอมที่คนสร้างต้องหวังผลอะไรสักอย่างอย่างแน่นอนอยู่แล้ว ยิ่งเป็นข่าวในเชิงทางการเมืองด้วยละก็จะยิ่งหวังผลเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ในตอนสุดท้ายของบทความซีรีส์ชุด “ข่าวปลอมกับการเมืองไทย” ที่ร่วมกันจัดทำโดยส่องสื่อ และ COFACT ในตอนนี้เราจะมาแกะหาสาเหตุของข่าวปลอมทั้งหมดว่าเขาหวังผลอะไรกันแน่? ติดตามกันครับ

โจมตีฝั่งตรงข้าม : หวังให้เขาเจ็บตัวหรือถอยทัพ ดีกว่าให้เขาได้สู้ต่อ

สิ่งที่แน่นอนว่าทั้งสองฝ่ายพยายามทำ คือการโจมตีฝั่งตรงข้ามเพื่อทำให้เขาหมดพละกำลัง โดยเฉพาะฝั่งรัฐบาลที่มักพยายามสร้างสถานการณ์ข่าวปลอมออกมาเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันฝั่งผู้ชุมนุมของทุกฝ่ายต่างก็มีการสร้างข่าวปลอมเข้าสู่ระบบด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อทำให้อีกฝ่ายถูก “ทัวร์ลง” หรือโดนด่าแบบรุมกระหน่ำซัมเมอร์เซลล์นั่นเอง

สิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้ชัดเลยก็คือ การนำรูปทิวทัศน์ หรือความเจริญในกรุงเทพมหานครมาโจมตีกัน พยายามบ่งบอกว่าในรัฐบาลฝั่งที่ตนเองเชียร์อยู่นั้นเป็นคนทำ ซึ่งในบางกรณีเราเรียกข่าวปลอมเหล่านี้ว่าเป็นการเสียดสี โดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อให้ใครเสื่อมเสีย แต่ในบางกรณีที่มีการเปรียบเทียบขึ้น แน่นอนว่าต้องมีคนหนึ่งได้ประโยชน์และเสียประโยชน์จากการเปรียบเทียบอย่างแน่นอน ซึ่งนั่นหมายถึงผลเสียที่เกิดอย่างแน่นอน

AFP Fact Check (ประเทศไทย) เคยได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเปรียบเทียบรูปในช่วงยุครัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชิณวัตร และ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นการนำภาพของประเทศสิงคโปร์มาเปรียบเทียบ และสร้างความเข้าใจผิด ส่งผลต่อเนื่องให้เกิด Hate Speech เป็นจำนวนมาก

ทำให้คนเข้าใจผิด : รีบกลับไปซะ คนจะได้น้อยๆ นี่คืองานถนัดของเรา

อีกสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งในตอนที่แล้วเราพอได้เล่าบ้างแล้ว ก็คือการปล่อยข่าวปลอมเพื่อทำให้คนเข้าใจผิด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบัญชีผู้ใช้ปลอมและโพสต์ข้อความในเชิงลักษณะที่ผิดไปจากกลยุทธ์ที่วางไว้ เช่น การไปตึกไทยซัมมิทแทนธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ตลอดจนไปถึงการยุติการชุมนุมก่อนเวลา ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่ติดตจามข่าวสารเกิดความสับสนด้วยเช่นเดียวกัน

กลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์เพื่อสร้างทำให้เกิดการเข้าใจผิดต่อแต่ละกลุ่ม และทำให้สับสนในการนำข้อมูลไปปรับใช้ ซึ่งรวมไปถึงปัญหาที่นอกเหนือจากการเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาตรการของรัฐ , การติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละพื้นที่ ล้วนก็อาจสามารถทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ และทำให้เกิดความหวาดกลัวตามมาได้เช่นเดียวกัน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอและไม่จำเป็นต้องเป็นบัญชีที่ไม่น่าเชื่อถือเท่านั้น

สิ่งที่คนเสพสื่อทุกคนควรมี คือการเช็คจากหลายๆ แหล่งข่าว และสร้างสมดุลในการเสพข่าว รวมไปถึงการสร้างภูมิคุ้มกันสื่อในตัวเอง ไม่หลงเชื่อใครง่ายๆ และเข้าใจบริบทในตอนนั้นให้ได้มากที่สุด เลือกเสพสื่อที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดก่อน และค่อยๆ เช็ค ดีกว่าด่วนสรุปแชร์โดยทันที เพราะนั่นอาจจะเป็นการส่งต่อความเข้าใจผิดได้นั่นเอง

สร้างความหวาดกลัว : กลัวไว้ก่อน ก็เหมือนได้ตัดกำลัง

อีกสิ่งหนึ่งที่ข่าวปลอมมักจะสร้างขึ้นมา ก็เพราะด้วยเจตนาที่ต้องการจะสร้างความหวาดกลัว อันเป็นการตัดกำลัง รวมไปถึงทำให้คู่กรณีได้รับความเสียหาย อาจจะต้องมาแถลงไขเพื่อความชัดเจนมากขึ้น จนไปถึงการดำเนินคดีผู้ที่ปล่อยข่าวปลอมเลยก็ได้

ซึ่งยกตัวอย่างกรณีคำกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิดถูกแชร์ในประเทศไทยว่าโรงเรียนแห่งหนึ่งสั่งห้ามนักเรียนร่วมกิจกรรมชู 3 นิ้ว ซึ่งโรงเรียนดังกล่าวต้องออกมาปฏิเสธ เพราะหวั่นเกรงว่าจะมีผลกระทบกับโรงเรียนเองได้ และป้องกันปัญหาที่คนภายในจะเข้าใจผิดด้วย ซึ่งยิ่งกระแสการแชร์ข่าวพวกนี้มากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลกระทบต่อคู่กรณีมากเท่านั้น

รีภาพเก่า เพื่อเชื่อมโยง : กลบข่าวเก่า เล่าข่าวใหม่ เพื่อให้คนเข้าใจผิด

ข่าวปลอมอีกประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเลยก็คือ การนำภาพในอดีตของผู้นำ จนกระทั่งถึงแกนนำในการชุมนุมออกมาเผยแพร่ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีคนที่สนับสนุนหนุนหลังอยู่ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ฝั่งรัฐบาลก็เป็นอีกกลุ่มที่โดนเช่นกัน จากการโดนครหาและสร้างข่าวปลอมจากภาพเก่าว่ามีผู้สนับสนุนหนุนหลัง ซึ่งในความเป็นจริงเราคงต้องตรวจสอบกันต่อไปว่าทั้งสองฝั่งเกิดอะไรขึ้น

แต่ในบางกรณีได้ถูกตรวจสอบแล้วว่าเป็นข่าวปลอม โดยมีเจตนาเพื่อสร้างความเข้าใจผิด และทำให้คนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้สนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นกรณีของภาพเก่าของออง ซาน ซูจี ถูกนำมาแชร์ในโพสต์ที่อ้างว่าเธอชูสามนิ้วเพื่อสนับสนุนผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทยที่ถูกปั่นกระแสจนทำให้เกิดกระแสต่อต้านเธอขึ้น หรืออย่างกรณีที่คำกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิดถูกแชร์ว่าบุคคลที่อายุมากกว่า 7 ปี จะได้รับโทษเท่าผู้ใหญ่ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจงใจให้เกิดการปลุกปั่นและสนับสนุนขึ้น ซึ่งทำให้คนเข้าใจผิดกันไปพอสมควร นี่ก็เป็นเจตนาของผู้ส่งสารที่ส่วนใหญ่เน้นไปในแนวทางนั้นมากขึ้น

แต่ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ ทางที่ดีเราในฐานะผู้รับข้อมูลข่าวสาร ควรตรวจสอบที่มาของสื่อ และใช้วิจารณญาณของตนเองอย่างมาก มีจุดยืนได้ แต่ต้องอยู่บนความถูกต้องในการรับข้อมูลข่าวสารด้วยเช่นกัน

เรียบเรียงโดย กองบรรณาธิการเว็บไซต์ส่องสื่อ


คนใกล้ชิดของคุณ อาจตกเป็นเหยื่อของข่าวลวง หรือส่งต่อข่าวลวงบนอินเทอร์เน็ตโดยไม่รู้ตัว ร่วมด้วยชัวร์ก่อนแชร์ใช้ COFACT ตรววจสอบง่ายๆ ที่ https://cofact.org/ หรือ LINE Official Account : @Cofact


ที่มา :
https://factcheckthailand.afp.com/these-photos-do-not-show-skylines-under-different-prime-ministers-thailand-they-were-taken-singapore-th
https://factcheckthailand.afp.com/misleading-claim-circulates-online-thai-school-banned-students-raising-three-finger-salute-th
https://factcheckthailand.afp.com/misleading-claims-circulate-online-thailand-singapore-treats-anyone-older-seven-adult-court-law-th
https://factcheckthailand.afp.com/old-photos-aung-san-suu-kyi-shared-false-posts-about-her-showing-support-thai-pro-democracy-th

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า