fbpx

ทางของแบรนด์กับมลพิษพลาสติก : Coca-Cola ไม่ยกเลิกขวดพลาสติก Single-use แต่ทิ้งเหตุผลสำคัญไว้

พลาสติก Single-use ใช้เพียงเสี้ยวนาที แต่ถูกทิ้งไว้หลายร้อยปี

ช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมานี้การเพิ่มขึ้นของพลาสติกมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวเลขที่น่าตกใจคือ มีการผลิตพลาสติกมากกว่า 300 ล้านตันต่อปี และ 50% ของพลาสติกที่ใช้นั้นก็จะเป็นรูปแบบ Single-Use หรือใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เท่ากับว่าเราได้ใช้พลาสติกนี้เพียงไม่กี่นาที แต่พลาสติกเหล่านี้จะถูกทิ้งไว้บนโลกอย่างน้อยหลายร้อยปี อีกทั้งพลาสติกมากกว่า 8 ล้านตันต่อปีก็ถูกทิ้งลงทะเล เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ มีแนวโน้มว่าหากพลาสติกยังผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแบบนี้ เชื่อว่าในปี 2050 มหาสมุทรจะมีปริมาณขยะพลาสติกมากกว่าจำนวนปลา ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก

Coca-Cola ไม่ยกเลิกพลาสติก Single-use มองความยั่งยืนอย่างไร?

ในขณะที่ขยะพลาสติกเป็นประเด็นใหญ่ทางสังคมขนาดนี้ แต่ Coca-Cola แบรนด์เครื่องดื่มรายใหญ่กลับพูดถึงบรรจุภัณฑ์ของตนในงาน World Economic Forum ประจำปี 2020 จัดขึ้นที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ว่า Coca-Cola จะไม่ยกเลิกการใช้ขวดพลาสติก Single-use โดยเชื่อว่าผู้บริโภคยังต้องการขวดรูปแบบนี้ เพราะสามารถเปิดปิดซ้ำได้ และมีน้ำหนักเบา “ธุรกิจจะไม่เป็นธุรกิจ หากเราไม่ตอบสนองผู้บริโภค” Bea Perez หัวหน้าฝ่ายดูแลความยั่งยืนของ Coca-Cola กล่าว

Coca-Cola ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยให้คำมั่นที่จะใช้พลาสติกรีไซเคิลอย่างน้อย 50% ในบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ยังเป็นพันธมิตรกับ NGOs ทั่วโลกเพื่อปรับปรุงการเก็บขยะให้ดีขึ้น และจะนำขวดพลาสติกที่ใช้แล้วเอามารีไซเคิลให้ได้มากที่สุดภายในปี 2030

ถึงแม้ว่านักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมจะเห็นแย้งว่าขวด Coke จำนวนมากไม่ได้ถูกเก็บมารีไซเคิล และมักจบลงด้วยการฝังกลบ จนก่อให้เกิดมลพิษพลาสติก ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจขยะพลาสติกทั่วโลกขององค์กรการกุศล Break Free from Plastic ว่า Coca-Cola เป็นแบรนด์ที่ก่อมลพิษพลาสติกเป็นอันดับ 1 จากการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกถึง 3,000,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับ 200,000 ขวดต่อนาทีก็ตาม

แต่ Perez กล่าวว่า บริษัทไม่สามารถยกเลิกการใช้พลาสติก Single use ได้ทันทีอย่างที่นักรณรงค์ต้องการ การทำเช่นนี้อาจมีผลต่อลูกค้าและยอดขายได้ บริษัทยอมรับว่าตอนนี้บริษัทต้องเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา เราจึงมุ่งไปที่การเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของขวดด้วยการรีไซเคิล และสร้างนวัตกรรมแทน ทำให้ลูกค้าเห็นโอกาสนี้แล้วเปลี่ยนไปกับเรา อย่างไรก็ตาม เธอเห็นด้วยกับการเรียกร้องให้ Coca-Cola บรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมเร็วขึ้นกว่าเดิมก่อนปี 2030 และตั้งใจว่าจะไปถึงเป้าหมายให้ได้

รีไซเคิลอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด หรือไม่?

สิ่งที่นักรณรงค์ทั้งหลายเป็นห่วง คือ มองว่าการรีไซเคิลอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด เพราะขยะพลาสติกที่ผลิตมาตั้งแต่ปี 1950 มีเพียง 9 % เท่านั้นที่ถูกนำมารีไซเคิล บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเป็นปัญหาอย่างมาก เนื่องจากถูกออกแบบมาให้เป็นขยะที่สิ้นเปลืองและก่อมลพิษภายในเวลาไม่กี่นาที แบรนด์เองอาจต้องเปลี่ยนวิธีการผลิต และนำวิธีการจัดการขยะที่ยั่งยืนมาใช้เพื่อหยุดวิกฤตินี้ ไม่อย่างนั้นการรีไซเคิลอาจไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่มีปริมาณมากขนาดนี้ได้อย่างแท้จริง

ถือเป็นมุมมองจากแบรนด์ และผู้รักสิ่งแวดล้อม ที่หยิบยกมาให้ดูเปรียบเทียบ เพื่อผู้บริโภคอย่างเราเองก็จะได้ร่วมคิดและตัดสินใจไปด้วยกัน ถึงแม้บรรจุภัณฑ์ยังเป็นสิ่งที่ส่งเสริมการใช้ชีวิตประจำวันให้สะดวก และรักษาคุณค่าของสินค้าไว้ได้ แต่เพื่อความยั่งยืนสำหรับโลกของเรา อาจจะต้องเปิดรับบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างวัฒนธรรมการทิ้งขยะที่เป็นประโยชน์ต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ให้มากยิ่งขึ้นด้วย


อ้างอิง :
https://www.bbc.com/news/business-51197463
https://theaseanpost.com/article/big-brands-and-plastic-pollution
https://theecologist.org/2017/feb/02/exposed-coca-colas-big-fight-back-against-tackling-plastic-waste

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า