fbpx

[ทักษะชีวิต] การจัดการปัญหา ด้วยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ผมเชื่อว่า นิยามของคำว่า ปัญหา ในแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง เรื่องเล็กสำหรับบางคนอาจจะเป็นเรื่องใหญ่สำหรับบางคน จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ว่า ปัญหาของใครมีดีกรีที่เข้มข้นกว่า

การที่แต่ละคนจะระบุว่าคือ ปัญหา หรือไม่ ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับการตกกระทบมากน้อยของเรื่องนั้นๆ ความสามารถในการรับมือ รวมไปถึงการเลือกใช้วิธีการในการแก้ไขปัญหา

ปัญหา” จึงเป็นความท้าทายที่ต้องเจอในทุกช่วงของชีวิต กระบวนการในการแก้ปัญหาของแต่ละคนจึงมีความต่างกัน อาจอิงการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการเดิม หรืออาจคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาแบบใหม่

นิยามของคำว่าปัญหาและความเป็นไปได้ของปัญหา

โดยทั่วไปนิยามของคำว่า “ปัญหา” คือ ความแตกต่างระหว่าง สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ต้องการ และถ้าหากนำ “ค่ามาตรฐาน (Standard)” ที่เราเคยทำได้ไปเปรียบเทียบกับ “สิ่งที่ต้องการ” ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหา 2 กรณี ได้แก่

กรณีที่ 1 “สิ่งที่ต้องการ” มากกว่า “ค่ามาตรฐาน” จึงเป็นปัญหาประเภท “ปัญหาท้าท้าย” ที่เราไม่สามารถที่จะใช้วิธีการเดิมในอดีตที่เคยทำสำเร็จตาม ค่ามาตรฐานเดิมมาใช้ได้อีกต่อไป เพราะมันไม่เพียงพอที่จะนำเราไปสู่สิ่งที่ต้องการได้เช่นเคย

กรณีที่ 2 “สิ่งที่ต้องการ” น้อยกว่าหรือเท่ากับ “ค่ามาตรฐาน” จึงเป็นปัญหาประเภท “ปัญหาพื้น ๆ (Standard Problem)” ที่เราสามารถที่จะใช้วิธีการเดิมในอดีตที่เคยทำสำเร็จตาม “ค่ามาตรฐาน (Standard)” มาปรับใช้ได้

ปัญหาก็มากมี การตัดสินใจก็มากมาย จะจัดการอย่างไร หรือจะมองปัญหาให้เป็นแบบไหน ?

จากกรณีของปัญหาที่กล่าวไว้ข้างต้น มีความเป็นไปได้ที่ชีวิตประจำวันของเราทุกคนมีเรื่องให้แก้ไขไม่มากก็น้อยในแต่ละวัน คำถามคือ เมื่อเกิดปัญหาขึ้น เราจะตัดสินใจเลือกใช้วิธีจัดการกับมันอย่างไร หรือเป็นไปได้หรือไม่ หากเราเจอปัญหานั้นๆบ่อยครั้ง ก็อาจทำให้เราเคยชินกับมันจนรู้สึกว่านั่นไม่ใช่ปัญหา คงเพราะความอดทนต่อปัญหาที่มีมากขึ้น หรือการที่เคยคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาแล้วแต่ผลลัพธ์ยังออกมาเท่าเดิม ซึ่งอาจทำให้หลายคนเลือกที่จะเพิกเฉย และมองข้ามปัญหานั้นไป การมองข้ามอาจทำให้สบายใจก็จริง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยครับว่า ปัญหาจะยังคงอยู่ ดังนั้น ไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไร ไม่ว่าจะจัดการกับปัญหานั้นๆได้หรือไม่ แต่ก็คงไม่มีอะไรที่สามารถการันตีได้ว่า ปัญหาจะไม่เกิดขึ้นอีก

“เพราะปัญหาจะยังเกิดขึ้นเสมอ…หลายครั้งไม่สามารถเปลี่ยนสถานการณ์นั้นๆได้ เราจึงต้องมองปัญหาให้เป็นเหมือนขนมหวาน หากไม่ลองชิม ก็จะไม่รู้รสชาติของมัน และหากมันไม่อร่อยจะปรุงแต่งรสชาติมันอย่างไร”

ทักษะการจัดการปัญหา…ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ไม่มีใครสามารถห้ามปัญหาไม่ให้เกิดไม่ได้ครับ แต่เราสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดได้ และจากผลสำรวจของ McKinsey สิ่งที่ถูกให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ความสามารถในการแก้ไขปัญหา คิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจ โดยสามารถใช้ทักษะที่ว่านี้ ที่เรียกเป็นชื่อย่อสั้นๆว่า ‘4C‘ เป็นทักษะหลักที่ทำให้มนุษย์อย่างพวกเราเหนือกว่าคอมพิวเตอร์ หรือพูดง่ายๆก็คือ ทักษะนี้เป็นสิ่งที่คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถทำได้ในเร็วๆ นี้นั่นเอง

ทักษะ 4C กับการจัดการความซับซ้อน ปัจจัยเกิดและข้อจำกัดต่างๆ ของปัญหามีอะไรบ้าง

• การวิเคราะห์ปัญหาให้ถูกจุด (Critical Thinking) ด้วยปัญหาแต่ละอย่าง มักมีจุดเกิดของปัญหาที่แตกต่างกัน และมักเห็นบ่อยครั้งที่การแก้ไขปัญหา กลับกลายเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความสามารถในการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อหาต้นตอของปัญหาให้เจอ เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที และลดความล่าช้าในการจัดการกับปัญหา

• สร้างวิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creativity) เป็นการคิดหาวิธีการใหม่ๆหรือนอกกรอบ และเพื่อที่จะไม่ทำให้ปัญหาดังกล่าวเกิดความบานปลาย เพราะมีหลายครั้งที่การแก้ปัญหากลับนำทิศนำทิศทางไปสู่ความขัดแย้ง ที่อาจทำให้เกิดความรุนแรงขึ้น การจัดการด้วยความสร้างสรรค์จะเกิดผลดียิ่งกว่า

• สื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่น (communication & collaboration) หลายครั้งความคลาดเคลื่อนของการสื่อสาร การแปลความ ตีความ และปัญหาส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นโดยมีคนเป็นตัวแปร อาจด้วยความแตกต่างทางความคิดเห็น ทัศนคติ ลักษณะนิสัยที่ต่างกัน ก็สามารถทำให้เกิดเป็นปัญหาขึ้น ซึ่งทักษะนี้ มีขึ้นเพื่อทำให้กลุ่มคนที่มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง สามารถทำงานร่วมกันได้ ผ่านกระบวนการการจัดการกับปัญหาผ่านการพูดคุย วางแผน ทดลอง และการปฏิบัติร่วมกัน 

จะเห็นได้ว่าทักษะที่จำเป็นเหล่านี้ มีความแตกต่างจากหลักสูตรการเรียนการสอนตามแบบแผนเดิมที่มีอยู่ โดยเป็นเพียงความรู้ในห้องเรียน ที่ใช้เพื่อเรียนและสอบเท่านั้น และด้วยชีวิตประจำวันของแต่ละคน ที่มักมีปัญหาเกิดขึ้น ทักษะชีวิตจึงสำคัญ เพราะจะทำอย่างไร ให้ปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างไม่จบสิ้นนั้นๆ จะอยู่ในการควบคุมของเรา โดยที่ปัญหาต่างๆจะไม่ได้ลุกขึ้นมามีบทบาทและอิทธิพลในการควบคุมชีวิตเรา  ซึ่งทักษะการจัดการปัญหาในบทความนี้ คงจะมีประโยชน์และมีส่วนในการที่ทุกๆคน จะสามารถนำไปปรับใช้ได้ เพื่อพยุงหรือลดปัญหา ที่อาจกำลังเกิดขึ้น หรือปัญหาที่ไม่สามารถคาดเดาช่วงเวลาที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต


อ้างอิง (1) https://minimore.com/b/I3JHn/1

Content Creator

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า