fbpx

แนะนำวิธีสำรองข้อมูลบนคลาวด์แบบเข้าใจง่าย ตัดสินใจได้เลย และไม่ต้องร้องไห้ทีหลัง

เนื่องจากทุกวันนี้คนหันมาใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีกันมากขึ้นทั้ง คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์อื่น ๆ แต่ยังมีสิ่งหนึ่งที่พบว่าเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่คือ เมื่อใช้งานไปแล้วหลายคนพบเหตุที่ทำให้ข้อมูลสูญหาย และมาโวยวายหาทางกู้ทีหลัง ซึ่งหลายครั้งก็ไม่สามารถกู้กลับมาได้หรือกู้กลับคืนมาได้แค่บางส่วน และค่าใช้จ่ายในการกู้ค่อนข้างสูง ปัญหานี้ทั้งอาจจะเกิดจาก Hardware หรือ Software รวมถึงการเผลอของผู้ใช้เองทำให้ติดมัลแวร์หรือลบข้อมูลออกไป กระทั่งเครื่องถูกขโมย สูญหายทั้งเครื่อง และอุบัติเหตุต่าง ๆ สาเหตที่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้คือ “เก็บข้อมูลไว้แต่ในเครื่อง ไม่มีการทำการสำรองข้อมูลไว้ที่อื่นเลย” มันคือการไม่กระจายความเสี่ยงไปไว้ที่อื่นเลย

Backup คืออะไร?

Backup คือการสำรองข้อมูลนั่นเอง ซึ่งผู้ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีทุกท่านควรจัดการจุดนี้เพื่อให้ลดโอกาสสูญเสียข้อมูลอันมีค่าของท่าน โดยจริงๆ การ Backup ก็มีหลายระดับ แต่ในที่นี่จะพูดถึงแค่ “Home use” ระดับใช้งานพื้นฐานทั่วไป

การ Backup โดยแค่มีสื่อบันทึกข้อมูลภายนอกเพียงพอหรือไม่?

คำตอบคือ ไม่เพียงพอ สื่อบันทึกข้อมูลภายนอกก็มีจุดด้อยต่างกันไปเช่น

  • External Hard Disk โอกาสเสี่ยงจากการกระทบกระเทือนหล่นสูงมาก  อาจส่งผลต่อตัวจานหมุนและหัวอ่านได้ และระยะยาวต่อให้ไม่เคยตกหล่นก็มีการเสื่อมสภาพได้แน่นอน โดยปกติระยะที่ปลอดภัยคือแค่ภายใน 3 ปีด้วยซ้ำ หลังจากนี้คือวัดดวงล้วน ๆ ไม่พังใช้ได้ยาวก็กำไรไป แต่ถ้ามันพังคือจะพังตอนไหนก็ได้
  • External SSD แม้จะไม่มีกลไกลที่เสี่ยงจากการกระทบกระเทือน แต่ชิปควบคุมก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเสียหายจนไม่สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้
  • Flash Drive, Memory Card เหมาะกับเอาไว้เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลชั่วคราวหรือใช้ระหว่างการโอนถ่ายข้อมูล เพราะว่ามีขนาดเล็กมีโอกาสหล่นหายทั้งตัวได้ง่ายมาก

และสิ่งสำคัญคือสื่อบันทึกเหล่านี้ เสี่ยงต่อการติดมัลแวร์ได้ง่ายที่สุดด้วย และความเสียหายที่เกิดจากการถอดเข้าถอดออกก็มีมากเช่นกัน

  • CD/DVD/Bluray แม้สื่อบันทึกเหล่านี้บางคนมองว่ามันตกยุค แต่กลับเป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่ทนทานกว่าพวกที่กล่าวมาอีก และไม่เสี่ยงต่อการติดมัลแวร์ด้วย แม้กระทั่งหน่วยงานใหญ่ที่ Backup ข้อมูลด้วยวิธีนี้ก็ยังคงมี แต่ก็มีข้อเสียคือเปลืองเนื้อที่ (ทางกายภาพ) ในการจัดเก็บแผ่นมาก และต้องมีอุปกรณ์ในการอ่านและเขียนแผ่น ซึ่งยุคปัจจุบันกลายเป็นอุปกรณ์เฉพาะที่ไม่ได้ติดมากับคอมพิวเตอร์เป็นมาตรฐานแล้ว

แล้วทำอย่างไรดี?

สื่อบันทึกเหล่านั้น เราไม่ได้ถึงกับแนะนำให้เลิกใช้เลยนะครับ แม้เราจะแนะนำทางเลือกที่ดีกว่าในการสำรองข้อมูล แต่ท่านจะเลิกใช้หรือใช้ต่อก็ได้ และการใช้สื่อบันทึกเหล่านั้นควบคู่กับการมีทางเลือกอื่นมาเสริม ยิ่งทำให้ข้อมูลของท่านปลอดภัยขึ้นอีก

ส่วนทางเลือกที่เหมาะกับการนำมาใช้สำรองข้อมูล ไม่ว่าจะใช้เป็นช่องทางหลัก หรือใช้ควบคู่กับสื่อบันทึกภายนอกแบบเดิม ๆ ก็ทำได้มีดังนี้

  1. Cloud Storage (บริการเก็บข้อมูลออนไลน์ จำพวก Google Drive, OneDrive (Office 365), Dropbox ฯลฯ)
  2. NAS (อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย เสมือนมี Server Cloud ตั้งอยู่ที่บ้านท่านเอง)

เรามาเปรียบเทียบฟังก์ชั่นของทั้งสองแบบกัน

Cloud StorageNAS
แบบฟรีให้พื้นที่จำกัด หากไม่พอมีค่าใช้จ่ายรายเดือน/รายปี (แต่บางเจ้ามีบริการอื่นและโปรแกรมแถมให้นะ)ซื้อขาดครั้งเดียว (มีค่าบำรุงรักษาบ้างตามอายุ และสามารถเติม Hard Disk และ SSD เพิ่มได้ ซึ่งมีค่าใช้จ่าย แต่จ่ายครั้งเดียว)
ไม่ต้องมีความรู้ในการตั้งค่าอะไรมาก ระบบหลังบ้านเขาจัดการมาให้แล้วการติดตั้งใช้งานครั้งแรกต้องตั้งค่าหลายขั้นตอน (แม้ปัจจุบันจะสะดวกกว่ารุ่นก่อน) แต่ก็ถือว่ายังไม่เหมาะกับคนไม่มีเวลาในการติดตั้งและศึกษา (หากไม่เข้าใจระบบของมันมาก่อน)
หากต้องการสำรองข้อมูลผ่านอุปกรณ์ USB ยังต้องผ่านคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นเพื่ออัปโหลดสู่ Cloudหากมีอุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอกแบบ USB ต่าง ๆ นำมาเสียบกับเครื่อง NAS เพื่อทำการสำรองข้อมูลได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านคอมพิวเตอร์
เข้าถึงได้ทั้งจากคอม มือถือ แท็บเล็ต สมาร์ททีวีเข้าถึงได้ทั้งจากคอม มือถือ แท็บเล็ต สมาร์ททีวี
เข้าถึงได้ทุกที่ทั่วโลกที่มีเน็ตเข้าถึงได้ทุกที่ทั่วโลกที่มีอินเทอร์เน็ต (แม้ตัวเครื่องตั้งอยู่ที่บ้าน)
ความเร็วและความเสถียรของเน็ตที่บ้านไม่มีผลต่อการเข้าถึงจากภายนอกความเร็วและความเสถียรของเน็ตที่บ้านไม่มีผลต่อการเข้าถึงจากภายนอก เช่นเน็ตที่บ้านล่ม ก็จะเข้าถึงจากภายนอกไม่ได้
แต่หากเน็ตที่บ้านล่มแต่คุณอยู่ที่บ้านไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ยกเว้นทำ Offline Sync ไว้แต่หากอินเทอร์เน็ตที่บ้านล่มแต่คุณอยู่ที่บ้านยังเข้าถึงข้อมูลได้
ไม่ต้องใช้สถานที่ติดตั้งเครื่องที่บ้าน เพราะตามชื่อ Cloud ลอยอยู่ในอากาศ ต่อให้บ้านคุณได้รับความเสียหายแค่ไหนก็ไม่กระทบข้อมูลเนื่องจากต้องวางเครื่อง NAS ไว้ที่บ้านแล้วเปิดตลอดเวลา หากมีความเสียหายที่เกิดจากบ้านคุณเองก็อาจส่งผลให้เครื่อง NAS เสียหายได้
 เครื่อง NAS สามารถทำได้หลายอย่างมากกว่าเก็บข้อมูล เช่นทำ Web Server เล็ก ๆ, ทำ VPN สำหรับเชื่อมต่อจากภายนอก, ทำ Mail Server ผูกกับโดเมนตัวเองได้ และอื่น ๆ อีกมากมาย

เมื่อเราเห็นข้อดีข้อเสียของทั้งสองอย่างแล้ว เราขอไม่ฟันธงว่าอันไหนดีกว่า อยู่ที่ความชอบของแต่ละท่านเลยครับ แต่อย่าลืมว่าหากท่านมีงบประมาณพอสมควร การมีทั้งสองอย่างมันมาช่วยเติมเต็มจุดเสียของแต่ละอย่าง ทำให้ข้อมูลของท่านปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และสมัยนี้เครื่อง NAS รุ่นใหม่ๆ ยังรองรับการ Sync ตัวเองขึ้น Cloud โดยอัตโนมัติอีกด้วย เรียกได้ว่าทำมาเพื่ออุดช่องว่างข้องทั้งสองอย่างเลยครับ

สำรองข้อมูลเลย จะได้ไม่ต้องมากรีดร้องทีหลัง

Journalist

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า