fbpx

24 ปี ITV สื่อเสรี ที่เคยสร้างปรากฎการณ์ใหม่

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ถือว่าเป็นสถานีโทรทัศน์ย่าน UHF แห่งแรกของไทยในระบบฟรีทีวีภาคพื้นดิน ซึ่งหากทุกวันนี้สถานีนี้ยังอยู่ จะมีอายุถึง 24 ปี ในเนื่องโอกาส 1 กรกฎาคมนี้ถือว่าเป็นวันที่เริ่มออกอากาศวันแรกเมื่อ 1 กรกฏาคม 2539 เราจึงนำประวัติของสถานีโทรทัศน์นี้มาให้ได้อ่านกันครับ

YouTube Channel: Tonladprao Retro https://youtu.be/kGnHxxEtsU8

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ITV) เกิดขึ้นจากการหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ.2535 สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีขณะนั้น ไม่ได้นำเสนอข่าวตามความจริงที่เกิดขึ้น จนเกิดความเรียกร้องจากประชาชน ต้องการสื่อที่นำเสนอข่าวได้โดยอิสระ จนกระทั่ง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ได้เปิดการให้สัมปทานช่องใหม่ โดยต้องมีสัดส่วนรายการ ข่าวและสาระ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และ รายการบันเทิง ไม่เกินร้อยละ 30

และมีเงื่อนไขคือ บริษัทที่เข้าประมูลนั้น ต้องมีผู้ถือหุ้นหลายรายและมีสัดส่วนเท่ากัน และอนาคตต้องแปลงสภาพเป็นมหาชน เพื่อลดการผูกขาด 

ซึ่งผู้ที่ได้ประมูลนั้น เป็น บริษัท กลุ่มสยามทีวี ประกอบด้วย ธนาคารไทยพาณิชย์, บริษัท สหศีนิมา จํากัด, หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, บริษัท บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ จํากัด, หนังสือพิมพ์ดอกเบี้ย, หนังสือพิมพ์ตงฮั้ว, สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น,  กันตนา กรุ๊ป, เครือวัฏจักร, บริษัท ล็อกซเล่ย์ฯ, ไจแอนท์ฯ

ต่อมา ไอเอ็นเอ็น ดอกเบี้ย และตงฮั้วถอนตัว ทางไทยพาณิชย์ จึงดึง “เครือเนชั่น” ที่อยู่ในอีกกลุ่มที่เข้าประมูลแต่ไม่ได้ไป  เข้ามาร่วมด้วย

ไอทีวี เริ่มออกอากาศ 1 กรกฎาคม 2539 เริ่มด้วยรายการข่าวภาคค่ำ และหลังจากออกอากาศถึงช่วงปี 2540 ก็ได้เข้าสแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน ซึ่งสร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้กับสื่อโทรทัศน์ไทย ด้านการนำเสนอข่าวที่มีความตรงไปตรงมา รวดเร็วฉับไว วิเคราะห์ลึก ต่อมาไม่นานเกิดประสบปัญหาขาดทุน จากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ขาดทุนอย่างหนัก 

ต่อมารัฐบาลในยุคของชวน หลีกภัย ได้มีการแก้สัญญาสัมปทาน (โดยแก้ให้ผู้ถือหุ้นสามารถถือหุ้นไอทีวีได้เกิน 10% ได้) หลังจากไอทีวีประสบปัญหาด้านการเงินอย่างหนัก จนกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ได้ทาบทามกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่นเข้ามาถือหุ้น

ข่าวไอทีวี วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2543 Cr: OAD AND HIS BAND YouTube Channel

พฤศจิกายน 2544  มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทฯ โดยชินคอร์ปตกลงซื้อหุ้นสามัญของไอทีวีจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำนวน 106,250,000 หุ้น รวมทั้งเสนอซื้อหุ้นสามัญจากผู้ถือหุ้นรายอื่น จนทำให้ทีมงานบางส่วนไม่เห็นด้วย

ITV ident 2543-2547 Cr: BEDIAS YouTube Channel

30 ม.ค. 2547 อนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยหลังการยื่นแก้ไขสัญญาสัมปทาน ส่งผลให้ ลดค่าสัมปทานเป็นปี 230 ล้านบาท, แก้ไขสัดส่วนรายการเป็น สาระ 50% บันเทิง 50%, ให้รัฐจ่ายค่าชดเชย 20 ล้านบาท เนื่องจาก สปน. ไม่ได้ใช้การคุ้มครองตามสัญญาสัมปทาน, ช่วง Prime Time 19:00-21:30 น. ไม่จำเป็นต้องเป็นรายการข่าว สารคดี สาระประโยชน์ แต่ชนิดรายการดังกล่าวต้องต้องไม่น้อยกว่า 50% ของเวลาการออกอากาศทั้งหมด

ทำให้ไอทีวีเริ่มมีรายการบันเทิงมาแข่งขันกันช่องอื่นจนเรตติ้งและรายได้จากโฆษณาถือว่าเป็นอันดับ 3 ของฟรีทีวีในไทยยุคนั้นเลย แต่เมื่อมีข่าวด่วน ยังคงตัดเข้าข่าว และถ้าเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน ยอมล้มพังเพื่อข่าวอยู่ เช่นเหตุการณ์สึนามิปี 2547

คุณ TheFootball สมาชิกเว็บไซต์ Pantip.com: http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/E3201716/E3201716.html
ข่าวภาคค่ำไอทีวี วันจันทร์ 26 ธันวาคม 2548 สึนามิ Cr: OAD AND HIS BAND YouTube Channel

ถึงคราวอวสาน ITV

เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2549  ศาลปกครองกลางเพิกถอนคำสั่งอนุญาโตตุลาการกรณีพิพาทกับสำนักปลัดสำนักนายก ฯ เนื่องจากเห็นว่าคำสั่งอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

ไอทีวีจึงต้องจ่ายค่าสัมปทานเท่าเดิม 1,000 ล้านบาทต่อปีและทางสปน.เตรียมคำนวณค่าสัมปทานและปรับย้อนหลังกรณีการปรับผังรายการของไอทีวี

ซึ่งบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)  ยื่นคำอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ในช่วงต่อมา 

เปลี่ยนผ่านสู่ TITV และ ThaiPBS

เมื่อไอทีวีไม่สามารถชำระค่าปรับจำนวนมากขนาดนั้นได้ ส่งผลให้กิจการถูกโอนไปเป็นของ ”กรมประชาสัมพันธ์”

ภายใต้ ‘หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ’ (Service Delivery Unit: SDU) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ

จนกระทั่งช่วงเดือนตุลาคม 2550 มีการโหวตมติทีวีสาธารณะที่ไม่มีการหารายได้จากโฆษณา โดยให้เลือกระหว่าง ทีไอทีวี และ ช่อง 11 ซึ่งมติส่วนใหญ่โหวตให้ ทีไอทีวี มากกว่าช่อง 11 ทีไอทีวีจึงเปลี่ยนผ่านเป็น ทีวีสาธารณะ (TPBS หรือ ThaiPBS)

คุณปาปาย่า สมาชิกเว็บไซต์ Pantip.com: http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2008/01/A6233087/A6233087.html

บรรยกาศหลังยุติการออกอากาศของ TITV

อ้างอิง

[1] mgronline. 2551 “itv – TITV – TPBS : น่าจะสาธารณะ – เสรีหรือยัง!.” . สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 จาก mgronline.com/daily/detail/9510000008869

[2] Sanook. 2553 “ปิดฉาก TITV ย้อนดูประวัติและที่มา.” . สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 จาก guru.sanook.com/4727/

[3] ประชาไท. 2549 “เรื่องราวโดยย่อของ ITV.” . สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 จาก prachatai.com/journal/2006/07/9166

[4] ยามเฝ้าจอ Facebook Fanpage. 2562 “#ไอทีวี.” สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 จาก facebook.com/YarmFaoJor/photos/a.1877775065780929/2955218604703231/?type=3

Journalist

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า